คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 160/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ข้อเท็จจริงตามรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติเป็นเพียงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับประวัติความเป็นไปและสิ่งแวดล้อมของจำเลยและพฤติการณ์แห่งคดีเพื่อศาลใช้ประกอบในการใช้ดุลยพินิจในการลงโทษจำเลยที่เหมาะสมยิ่งขึ้นเท่านั้นมิใช่นำมาใช้ในการวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำผิดหรือไม่แต่อย่างใดเมื่อจำเลยที่1ให้การรับสารภาพต่อศาลชั้นต้นว่าได้กระทำผิดตามฟ้องแล้วจำเลยที่1จะยกเอาข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่1มิได้กระทำผิดขึ้นมาอ้างในชั้นอุทธรณ์และฎีกาให้ผิดแผกแตกต่างไปจากที่ได้ให้การรับสารภาพไว้ดังกล่าวว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นหาได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม พระราชบัญญัติ อุทยานแห่งชาติพ.ศ. 2504 มาตรา 6, 16(1)(2)(13), 24, 27, 29 พระราชบัญญัติ ป่าไม้พ.ศ. 2484 มาตรา 11, 54, 72 ตรี , 73, 74 พระราชบัญญัติ คนเข้าเมืองพ.ศ. 2522 มาตรา 11, 12, 62 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,33, 90, 91 และ ริบของกลาง ทั้งหมด
จำเลย ทั้ง แปด ให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า จำเลย ทั้ง แปด มี ความผิดตาม พระราชบัญญัติ อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 มาตรา 6, 16(1)(2)(13),24, 27, 29 พระราชบัญญัติ ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11, 54, 72 ตรี , 73(ที่ ถูก คือ มาตรา 73 วรรคสอง ), 74 และ จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 8 มี ความผิดตาม พระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 11, 12, 62ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 33 เรียง กระทง ลงโทษ จำเลย ที่ 2ถึง ที่ 8 ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐาน ก่นสร้าง แผ้วถาง ป่าเป็น กรรมเดียว ผิด กฎหมาย หลายบท ให้ ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติ ป่าไม้ซึ่ง เป็น บทหนัก ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก จำเลย ทั้ง แปด คน ละ2 ปี ฐาน เป็น บุคคล ต่างด้าว เข้า มา ใน ราชอาณาจักร โดย ไม่ได้ รับอนุญาต จำคุก จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 8 คน ละ 6 เดือน รวม จำคุก จำเลย ที่ 2ถึง ที่ 8 คน ละ 2 ปี 6 เดือน จำเลย ทั้ง แปด ให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์ แก่ การ พิจารณา มีเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ กึ่งหนึ่งตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คง จำคุก จำเลย ที่ 1 มี กำหนด1 ปี จำคุก จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 8 คน ละ 1 ปี 3 เดือน
จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
จำเลย ที่ 1 ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ซึ่ง พิจารณา และ ลงชื่อ ในคำพิพากษา ศาลชั้นต้น อนุญาต ให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ที่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา คัดค้าน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ว่า ข้อเท็จจริง ที่ จำเลย ที่ 1 ยกขึ้น อ้าง ใน ชั้นอุทธรณ์ ว่า จำเลย ที่ 1 มิได้ กระทำผิด นั้น เป็น ข้อเท็จจริง ที่ จำเลยที่ 1 ได้ ให้ ไว้ ต่อ พนักงานคุมประพฤติ และ ศาลชั้นต้น ก็ ได้ นำ รายงานของ พนักงานคุมประพฤติ นั้น มา วินิจฉัย ความผิด ของ จำเลย ที่ 1 ด้วย แล้วซึ่ง ถือได้ว่า ข้อเท็จจริง ดังกล่าว เป็น ข้อ ที่ ได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว ในศาลชั้นต้น เห็นว่า ข้อเท็จจริง ตาม รายงาน การ สืบเสาะ และ พินิจของ พนักงานคุมประพฤติ เป็น เพียง ข้อเท็จจริง ที่ เกี่ยวกับประวัติ ความ เป็น ไป และ สิ่งแวดล้อม ของ จำเลย และ พฤติการณ์แห่ง คดี เพียง เพื่อ ศาล ใช้ ประกอบ ใน การ ใช้ ดุลพินิจ ใน การ ลงโทษจำเลย ที่ เหมาะสม ยิ่งขึ้น เท่านั้น มิใช่ นำ มา ใช้ ใน การ วินิจฉัย ว่าจำเลย กระทำผิด หรือไม่ แต่อย่างใด เมื่อ จำเลย ที่ 1 ให้การรับสารภาพต่อ ศาลชั้นต้น ว่า ได้ กระทำผิด ตาม ฟ้อง และ ศาลชั้นต้น พิพากษา ลงโทษจำเลย ที่ 1 ไป ตาม ความผิด นั้น แล้ว จำเลย ที่ 1 จะ ยก เอา ข้อเท็จจริงที่ ว่า จำเลย ที่ 1 มิได้ กระทำผิด ขึ้น มา อ้าง ใน ชั้นอุทธรณ์ และ ฎีกา ว่าจำเลย ที่ 1 มิได้ กระทำผิด ให้ ผิดแผก แตกต่าง ไป จาก ที่ ได้ ให้การ รับสารภาพ ไว้ ดังกล่าว ว่า เป็น ข้อ ที่ ได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว ใน ศาลชั้นต้นได้ไม่ ต้องห้าม ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225ประกอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ดัง ที่ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 วินิจฉัย ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ใน ข้อ นี้ฟังไม่ขึ้น
สำหรับ ฎีกา ที่ ขอให้ รอการลงโทษ ให้ นั้น เห็นว่า ศาลล่าง ทั้ง สองใช้ ดุลพินิจ ใน การ ลงโทษ จำเลย ที่ 1 เหมาะสม แก่ พฤติการณ์ แห่ง รูปคดีแล้ว ไม่มี เหตุ ที่ ศาลฎีกา จะ เปลี่ยนแปลง แก้ไข ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1ใน ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น เช่นเดียวกัน
อนึ่ง ที่ ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ ลงโทษ จำเลย ทั้ง แปด ฐาน ก่นสร้างแผ้วถาง ป่า ซึ่ง เป็น กรรมเดียว ผิด ต่อ พระราชบัญญัติ อุทยานแห่งชาติพ.ศ. 2504 มาตรา 24 และ 27 พระราชบัญญัติ ป่าไม้ พ.ศ. 2484มาตรา 11, 54, 72 ตรี , 73 ให้ ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติ ป่าไม้ซึ่ง เป็น บทหนัก โดย มิได้ ระบุ บท มาตรา ที่ ให้ ลงโทษ และ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3พิพากษายืน นั้น เป็น การ ไม่ชอบ ศาลฎีกา เห็นสมควร แก้ไข ให้ ถูกต้อง ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ความผิด ฐาน ก่นสร้าง แผ้วถาง ป่า เป็น กรรมเดียวผิด กฎหมาย หลายบท ให้ ลงโทษ จำเลย ทั้ง แปด ตาม พระราชบัญญัติ ป่าไม้พ.ศ. 2484 มาตรา 73 วรรคสอง ซึ่ง เป็น บทหนัก ที่สุด นอกจากที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 3

Share