แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
คำขอสินเชื่อบัตรเครดิตมีข้อสัญญาว่าโจทก์ยอมผ่อนผันจ่ายเงินไปก่อนทั้งที่เงินฝากในบัญชีมีไม่พอจ่ายโดยไม่มีกำหนดเวลาชำระคืนเป็นแต่เพียงจำเลยตกลงชำระคืนพร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดเป็นการกำหนดดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าถือได้ว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวแต่ต้นจึงไม่อยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา654ซึ่งห้ามคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปีเพราะมิใช่การกู้ยืมและโจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ข้อตกลงดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ได้ ขอ สินเชื่อ บัตรเครดิต โพธิ์เงิน จาก โจทก์ เพื่อ ใช้ ชำระ ค่าสินค้า และ บริการ แทน การ ชำระ ด้วย เงินสดหรือ เบิกเงิน สด จาก เครื่อง บริการ เงิน ด่วน เมื่อ มี การ เรียกเก็บเงินจาก การ ใช้ บัตรเครดิต มา ยัง โจทก์ ให้ โจทก์ ชดใช้ เงิน ไป ก่อน จำเลย ยินยอมชำระ เงิน คืน ให้ โจทก์ โดย วิธี หัก ทอน จาก บัญชีเดินสะพัด ของ จำเลยและ ให้ ถือว่า เป็น การ เบิกเงินเกินบัญชี ยอม ให้ โจทก์ คิด ดอกเบี้ยใน อัตรา สูงสุด ที่ ธนาคารพาณิชย์ เรียกเก็บ ได้ ตาม ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และ ให้ คิด ทบต้น ได้ ตาม ประเพณี ของ ธนาคารพาณิชย์จำเลย ได้ นำ บัตรเครดิต ไป ใช้ หลาย ครั้ง และ นำ เงิน เข้า หัก ทอน บัญชีเรื่อย มา จำเลย เป็น หนี้ โจทก์ คิด ถึง วันฟ้อง เป็น เงิน 79,081.02 บาทขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน ดังกล่าว พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ18.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 65,945.30 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน 65,945.30 บาท พร้อมดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 2 มกราคม 2535 จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี มี ปัญหา วินิจฉัย มา สู่ ศาลฎีกา เฉพาะใน ข้อกฎหมาย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่า ข้อตกลง เรื่อง ดอกเบี้ย ตาม สัญญาการ ใช้ บัตรเครดิต ใน กรณี จำเลย ผิดนัด ไม่ชำระ หนี้ หรือ ชำระหนี้ไม่ถูกต้อง ตาม สมควร ถือว่า เป็น เบี้ยปรับ ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 379 หาก ศาล เห็นว่า สูง เกิน ส่วน ก็ มีอำนาจ ลดลงเป็น จำนวน พอสมควร ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383ได้ หรือไม่ ใน การ วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ดังกล่าว ศาลฎีกา จำต้อง ถือ ตามข้อเท็จจริง ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย จาก พยานหลักฐาน ใน สำนวน ว่า จำเลยขอ สินเชื่อ บัตรเครดิต จาก โจทก์ เพื่อ นำ ไป ใช้ ชำระ ค่าสินค้า และ บริการตลอดจน เบิกเงิน สด จาก เครื่อง บริการ เงิน ด่วน ของ โจทก์ และ ของธนาคาร สมาชิก เมื่อ มี การ เรียกเก็บเงิน จาก การ ใช้ บัตรเครดิตโจทก์ จะ ชดใช้ เงิน ไป ก่อน จำเลย ยินยอม ชำระ คืน โดย ให้ โจทก์ หัก ทอนจาก บัญชีเดินสะพัด ของ จำเลย ถ้า ยอดเงิน ใน บัญชีเดินสะพัด ปรากฏว่าจำเลย เป็น ลูกหนี้ โจทก์ จำเลย ยินยอม ให้ โจทก์ คิด ดอกเบี้ย ทบต้นใน อัตรา สูงสุด ที่ ธนาคารพาณิชย์ เรียกเก็บ ได้ ตาม ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย จำเลย ได้ นำ บัตรเครดิต ไป ใช้ ชำระ ค่าสินค้าบริการ และ เบิกเงิน สด หลาย ครั้ง นับ ถึง บัญชีเดินสะพัด สิ้นสุด ลงเมื่อ วันที่ 1 มกราคม 2535 จำเลย เป็น หนี้ โจทก์ 65,945.30 บาทโจทก์ คิด ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 18.5 ต่อ ปี ตาม ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เอกสาร หมาย จ. 13 ประกอบ จ. 12 เห็นว่าตาม สัญญา บัญชีเดินสะพัด เอกสาร หมาย จ. 5 ข้อ 8 และ คำขอ สินเชื่อบัตรเครดิต เอกสาร หมาย จ. 6 ข้อ 2 ได้ กำหนด ข้อ สาระสำคัญ ไว้ ตรง กัน ว่าใน กรณี ที่ ธนาคาร ผ่อนผัน การ จ่ายเงิน ไป ก่อน ด้วย เหตุใด ก็ ตาม ทั้งที่เงินฝาก คงเหลือ ใน บัญชี ของ ผู้ฝาก มี ไม่พอ จ่าย ซึ่ง ตาม ปกติ ธนาคารจะ ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน เสีย ก็ ได้ ผู้ฝาก ยอม ผูกพัน ตน ที่ จะ จ่ายเงิน ส่วน ที่ธนาคาร ผ่อนผัน จ่าย ไป ให้ นั้น คืน ให้ แก่ ธนาคาร และ ยินยอม เสีย ดอกเบี้ยใน เงิน จำนวน นั้น ให้ แก่ ธนาคาร ใน อัตรา สูงสุด ของ ดอกเบี้ย เงินกู้ที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนด ให้ ธนาคารพาณิชย์ คิด จาก ผู้กู้ยืม(ซึ่ง ใน ขณะ นี้ กำหนด ไว้ ใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี และ ต่อไป อาจเปลี่ยนแปลง ได้ ตาม ที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย จะ กำหนด ใน ภายหลัง )นับแต่ วันที่ เป็น หนี้ ธนาคาร อยู่ ตาม บัญชีเดินสะพัด ตาม วิธี และ ประเพณีของ ธนาคาร เห็น ได้ว่า เงิน ที่ ธนาคาร โจทก์ ได้ ผ่อนผัน จ่าย ไป ก่อน นั้นไม่ได้ กำหนด เวลา ที่ แน่นอน ว่า ให้ จำเลย จะ ต้อง จ่าย คืน ให้ แก่ โจทก์เมื่อใด เป็น แต่เพียง ว่า จำเลย ยอม ผูกพัน ตน ที่ จะ จ่าย คืน ให้ พร้อม ด้วยดอกเบี้ย ใน อัตรา สูงสุด ที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนด ซึ่ง อาจเปลี่ยนแปลง ได้ ตาม ภาวะ เศรษฐกิจ สังคม และ นโยบาย การเงิน ของ ประเทศเป็น การ กำหนด ดอกเบี้ย กัน ไว้ ล่วงหน้า ถือว่า จำเลย ตกลง ให้ โจทก์คิด ดอกเบี้ย ใน อัตรา ดังกล่าว มา ตั้งแต่ ต้น แล้ว และ ไม่อยู่ ใน บังคับของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 ซึ่ง ห้าม มิให้ คิด ดอกเบี้ยเกิน ร้อยละ สิบ ห้า ต่อ ปี เพราะ มิใช่ เป็น เรื่อง กู้ยืม และ โจทก์ เป็นธนาคารพาณิชย์ เป็น สถาบันการเงิน ข้อตกลง ดังกล่าว จึง ชอบ ด้วย กฎหมายจำเลย ก็ ต้อง เสีย ดอกเบี้ย ไป ตาม ข้อตกลง นั้น จึง ไม่มี ลักษณะ เป็นเบี้ยปรับ ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง เห็นว่า เป็น เบี้ยปรับ และ สูง เกิน ส่วนจึง ลดลง เป็น ร้อยละ 15 ต่อ ปี นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา โจทก์ฟังขึ้น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ18.5 ต่อ ปี นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์