คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1519/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสองแล้วผู้ร้องในฐานะผู้ค้ำประกันลูกหนี้ที่2เมื่อได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แล้วย่อมได้รับช่วงสิทธิการขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ที่มีต่อกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่2แต่ปรากฏว่าผู้ร้องมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา27และมาตรา91ผู้ร้องจะอ้างว่าได้รับช่วงสิทธิและขอรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้หาได้ไม่

ย่อยาว

คดี สืบเนื่อง จาก ศาลชั้นต้น มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ของ ลูกหนี้(จำเลย ) ทั้ง สอง เด็ดขาด และ พิพากษา ให้ เป็น บุคคล ล้มละลาย
ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ว่า เจ้าหนี้ ได้ ยื่น คำขอ รับชำระหนี้ จากกอง ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ ทั้ง สอง เป็น เงิน 2,092,788.80 บาท ต่อมาผู้ร้อง ใน ฐานะ ผู้ค้ำประกัน ลูกหนี้ ที่ 2 ได้ ชำระหนี้ ให้ แก่ เจ้าหนี้ตาม ที่ ตกลง ลด ยอดหนี้ เหลือ จำนวน 1,800,000 บาท เรียบร้อย แล้วผู้ร้อง ใน ฐานะ ผู้ค้ำประกัน ลูกหนี้ ที่ 2 จึง มีสิทธิ ไล่เบี้ย จากลูกหนี้ ที่ 2 แต่ ผู้ร้อง ไม่อาจ ยื่น คำขอ รับชำระหนี้ ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 101 ได้ เนื่องจาก เจ้าหนี้ ได้ ใช้ สิทธิขอรับ ชำระหนี้ ไว้ เต็ม จำนวน แล้ว แต่ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์มี คำสั่ง ยกคำร้อง ของ ผู้ร้อง อ้างว่า เจ้าหนี้ ถอน คำขอ รับชำระหนี้แล้ว จึง ไม่มี คำขอ รับชำระหนี้ ของ เจ้าหนี้ ที่ ผู้ร้อง จะ เข้า รับ ช่วงสิทธิ ได้ คำสั่ง ของ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ดังกล่าว ไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย ขอให้ เพิกถอน คำสั่ง ของ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ และ ให้ผู้ร้อง เข้า รับช่วงสิทธิ การ ขอรับ ชำระหนี้ จาก กอง ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ที่ 2 ของ เจ้าหนี้ ต่อไป
ใน วันนัด พร้อม เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ แถลงว่า ผู้ร้อง มิได้ยื่น คำขอ รับชำระหนี้ ตาม กำหนด ของ กฎหมาย และ เจ้าหนี้ ถอน คำขอ รับชำระหนี้ แล้ว ผู้ร้อง ไม่อาจ รับช่วงสิทธิ ขอรับ ชำระหนี้ ได้
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ยกคำร้อง
ผู้ร้อง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
ผู้ร้อง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง เบื้องต้น ฟังได้ ว่า ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด เจ้าหนี้ ได้ ฟ้อง ลูกหนี้ ทั้ง สอง ขอให้ ศาลชั้นต้น มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด และ พิพากษา ให้ เป็น บุคคล ล้มละลายศาลชั้นต้น มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ของ ลูกหนี้ ทั้ง สอง เด็ดขาด เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2530 และ พิพากษา ให้ เป็น บุคคล ล้มละลาย เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2532 เจ้าหนี้ ได้ ยื่น คำขอ รับชำระหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ สอบสวน แล้ว เสนอ ความเห็น ต่อ ศาลชั้นต้น ว่า ควร ให้เจ้าหนี้ ได้รับ ชำระหนี้ จาก กอง ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ ทั้ง สอง เป็น เงิน2,092,788.80 บาท ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง เมื่อ วันที่ 9 กรกฎาคม 2533อนุญาต ให้ เจ้าหนี้ ได้รับ ชำระหนี้ ตาม ความเห็น ของ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ต่อมา วันที่ 16 สิงหาคม 2534 เจ้าหนี้ ยื่น คำร้องขอ ถอน คำขอ รับชำระหนี้ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ มี คำสั่ง อนุญาตต่อมา วันที่ 30 ตุลาคม 2534 ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ต่อ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ขอ เข้า รับช่วงสิทธิ การ ขอรับ ชำระหนี้ ของ เจ้าหนี้จำนวน 1,800,000 บาท จาก กอง ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ ที่ 2 โดย อ้าง เหตุว่า ผู้ร้อง ใน ฐานะ ผู้ค้ำประกัน ลูกหนี้ ที่ 2 ต่อ เจ้าหนี้ ได้ ชำระหนี้ ให้ แก่ เจ้าหนี้ ตาม ที่ ตกลง ลด ยอดหนี้ กัน แล้ว เป็น เงิน 1,800,000บาท ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ ผู้ร้อง มี ว่า ผู้ร้อง จะ ขอเข้า รับช่วงสิทธิ การ ขอรับ ชำระหนี้ ของ เจ้าหนี้ ต่อ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ได้ ตาม กฎหมาย หรือไม่ เห็นว่า การ ที่ เจ้าหนี้ จะ ขอรับชำระหนี้ ใน คดีล้มละลาย จะ ต้อง ปฏิบัติ ตาม วิธีการ ที่ กล่าว ไว้ ในพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 โดย ต้อง ยื่น คำขอ รับชำระหนี้ต่อ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ภายใน กำหนด เวลา สอง เดือน นับแต่ วัน โฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด ทั้งนี้ ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ในพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 27 และ มาตรา 91 ผู้ร้องซึ่ง เป็น ผู้ค้ำประกัน ลูกหนี้ ที่ 2 และ ได้ ชำระหนี้ ให้ แก่ เจ้าหนี้ไป แล้ว หาก จะ ขอรับ ชำระหนี้ ก็ ต้อง ปฏิบัติ ตาม บทบัญญัติ ดังกล่าวข้างต้น การ ที่ ผู้ร้อง ชำระหนี้ ให้ แก่ เจ้าหนี้ เมื่อ พ้น กำหนด เวลาขอรับ ชำระหนี้ ดังกล่าว แล้ว ผู้ร้อง จะ ขอ เข้า รับช่วงสิทธิ การ ขอรับชำระหนี้ ของ เจ้าหนี้ ที่ ยื่น ไว้ แล้ว หาได้ไม่ เพราะ ไม่มี บทบัญญัติใน พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ให้ กระทำ ได้ เมื่อ วินิจฉัยดังนี้ แล้ว ข้อ ที่ ผู้ร้อง ฎีกา ว่าการ ถอน คำขอ รับชำระหนี้ ของ เจ้าหนี้ยัง ไม่มี ผล สมบูรณ์ ตาม กฎหมาย เพราะ ศาล ยัง มิได้ มี คำสั่ง อนุญาต นั้นจึง ไม่จำต้อง วินิจฉัย เนื่องจาก ไม่ เปลี่ยนแปลง ผล แห่ง คดี ศาลอุทธรณ์พิพากษา ชอบแล้ว ฎีกา ของ ผู้ร้อง ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share