แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
โจทก์รับมอบรถยนต์คันที่สองไว้จากจำเลยโดยไม่ได้สงวนสิทธิจะเรียกเบี้ยปรับจากจำเลยอีกตามสัญญาแม้จำเลยจะส่งมอบรถยนต์ล่าช้าโจทก์ก็เรียกเบี้ยปรับเพราะเหตุนี้อีกไม่ได้เมื่อยังไม่มีการจดทะเบียนเปลี่ยนสภาพรถยนต์ให้เป็นรถยนต์โดยสารส่วนบุคคลและการจดทะเบียนต้องรอกำหนดที่กรมการขนส่งทางบกนัดให้นำรถยนต์ไปตรวจสภาพความเสียหายจากการที่โจทก์ไม่ได้ใช้รถยนต์จึงไม่ได้อยู่ที่การส่งมอบรถยนต์ล่าช้า โจทก์ซื้อรถยนต์ทั้งสองคันเพื่อนำไปใช้ในกิจการของวิทยาลัย ก.จึงได้มีข้อตกลงในสัญญาให้จำเลยมีหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนสภาพรถยนต์ให้เป็นรถยนต์โดยสารส่วนบุคคลและจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์จำเลยจึงมีหน้าที่กระทำการที่จำเป็นทุกอย่างเพื่อให้ได้มีการจดทะเบียนตามสัญญาโจทก์ย่อมขอบังคับให้จำเลยดำเนินการดังกล่าวได้แต่เมื่อโจทก์ต้องจัดส่งเอกสารที่จำเป็นในการจดทะเบียนให้จำเลยครบถ้วนด้วยศาลย่อมพิพากษาโดยมีเงื่อนไขให้โจทก์ส่งเอกสารให้จำเลยครบถ้วนสมบูรณ์ได้ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยส่งมอบรถยนต์คันที่สองโดยรถยนต์ชำรุดบกพร่องช้ากว่ากำหนดในสัญญาไม่จดทะเบียนเปลี่ยนสภาพรถยนต์ให้เป็นรถยนต์โดยสารส่วนบุคคลและไม่จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นของโจทก์โจทก์ไม่ได้ฟ้องว่าจำเลยไม่ส่งมอบรถยนต์คันที่สองณภูมิลำเนาของโจทก์เรื่องสถานที่ส่งมอบรถยนต์คันที่สองจึงไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยไม่มีชื่อเป็นเจ้าของรถยนต์คันที่สองหากเจ้าของแท้จริงของรถยนต์คันที่สองไม่ยินยอมจดทะเบียนเปลี่ยนสภาพรถยนต์ให้เป็นรถยนต์โดยสารส่วนบุคคลและจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์แล้วการจะบังคับให้จำเลยโอนรถยนต์คันที่สองย่อมทำไม่ได้สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้จำเลยโอนรถยนต์คันที่สองให้โจทก์การบังคับคดีทำได้เพียงให้โจทก์คืนรถยนต์คันที่สองให้จำเลยและให้จำเลยคืนราคารถยนต์ให้โจทก์
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ทำ สัญญา ขาย รถยนต์โดยสาร ให้ แก่ โจทก์2 คัน ใช้ ใน กิจการ ของ วิทยาลัย เกษมบัณฑิต ราคา คัน ละ 315,000 บาท โดย มี ข้อ สัญญา ว่า จำเลย ต้อง จดทะเบียน เปลี่ยน สภาพ รถยนต์ ทั้ง สอง คันให้ เป็น รถยนต์โดยสาร ส่วนบุคคล และ จดทะเบียน เปลี่ยน ชื่อ เจ้าของกรรมสิทธิ์ ให้ เป็น ของ โจทก์ กับ ส่งมอบ ให้ โจทก์ ใน สภาพ สมบูรณ์ พร้อม จะ ใช้งาน ได้ กำหนด ส่งมอบ รถยนต์ คัน แรก ภายใน วันที่ 25 มีนาคม 2531 และคัน ที่ สอง ภายใน วันที่ 8 เมษายน 2531 หาก ผิดสัญญา ข้อ หนึ่ง ข้อ ใดจำเลย ยอม ให้ ปรับ คัน ละ 100,000 บาท โจทก์ ชำระ ราคา รถยนต์พร้อม ทั้ง ค่า จดทะเบียน เปลี่ยน สภาพ รถยนต์ และ ค่าธรรมเนียม ใน การ เปลี่ยนชื่อ เจ้าของ กรรมสิทธิ์ รถยนต์ ทั้ง สอง คัน ให้ แก่ จำเลย ครบถ้วน แล้วสำหรับ รถยนต์ คัน แรก จำเลย ส่งมอบ ให้ แก่ โจทก์ ตาม กำหนด แต่ส่งมอบ รถยนต์ ใน สภาพ บกพร่อง ไม่ เรียบร้อย ส่วน รถยนต์ คัน ที่ สองจำเลย ส่งมอบ ล่าช้า เกิน กำหนด ไป ประมาณ 20 วัน อีก ทั้ง รถยนต์ ยัง ชำรุดบกพร่อง ไม่อาจ ขับ เคลื่อน ได้ นอกจาก นี้ จำเลย ไม่ได้ จดทะเบียนเปลี่ยน สภาพ รถยนต์ ทั้ง สอง คัน ให้ เป็น รถยนต์โดยสาร ส่วนบุคคล กับ ไม่ได้จดทะเบียน เปลี่ยน ชื่อ เจ้าของ กรรมสิทธิ์ รถยนต์ ทั้ง สอง คัน ให้ แก่ โจทก์จำเลย จึง ผิดสัญญา เป็นเหตุ ให้ โจทก์ ต้อง เช่า รถยนต์ บุคคลอื่น ไป ใช้ งานขอให้ บังคับ จำเลย ซ่อมแซม แก้ไข ความ ชำรุด บกพร่อง ของ รถยนต์ทั้ง สอง คัน ให้ อยู่ ใน สภาพ เรียบร้อย ใช้ งาน ได้ ดี และ จดทะเบียนเปลี่ยน สภาพ รถยนต์ ทั้ง สอง คัน ให้ เป็น รถยนต์โดยสาร ส่วนบุคคล กับจดทะเบียน เปลี่ยน ชื่อ เจ้าของ กรรมสิทธิ์ รถยนต์ ทั้ง สอง คัน ให้ แก่ โจทก์ถ้า จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลยหาก สภาพ แห่ง หนี้ ไม่ เปิด ช่อง ให้ จดทะเบียน ได้ ให้ จำเลย คืน ราคา รถยนต์ทั้ง สอง คัน กับ ค่าใช้จ่าย รวม 662,500 บาท แก่ โจทก์ แล้ว ให้ จำเลยรับ รถยนต์ ทั้ง สอง คัน กลับคืน ไป ให้ จำเลย ชำระ เบี้ยปรับ 200,000 บาทและ ค่าเสียหาย วัน ละ 1,000 บาท นับแต่ วันที่ 8 เมษายน 2531จนกว่า ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา ซื้อ ขาย รถยนต์ ตาม ฟ้องทั้ง สอง ฉบับ โดย รถยนต์ คัน แรก โจทก์ ชำระ ราคา ไม่ครบ รถยนต์ที่ จำเลย ส่งมอบ โจทก์ ไม่ ชำรุด บกพร่อง รถยนต์ คัน ที่ สอง จำเลย ไม่ได้ส่งมอบ ล่าช้า ทั้ง จำเลย ได้ ส่งมอบ รถยนต์ ให้ โจทก์ ใน สภาพ เรียบร้อยไม่ ชำรุด บกพร่อง จำเลย ได้ ติดต่อ โจทก์ ให้ ส่ง หลักฐาน ที่ จำเป็น ต้อง ใช้ใน การ จดทะเบียน เปลี่ยน สภาพ รถยนต์ ให้ เป็น รถยนต์โดยสาร ส่วนบุคคลและ จดทะเบียน เปลี่ยน ชื่อ เจ้าของ กรรมสิทธิ์ หลาย ครั้ง แล้ว แต่ โจทก์ส่ง เอกสาร ผิด จาก ที่ จำเลย แจ้ง ไป เป็น การ สุดวิสัย ที่ จำเลย จะ ดำเนินการจดทะเบียน ดังกล่าว ให้ แก่ โจทก์ ได้ จำเลย จึง มิได้ เป็น ผู้ผิดสัญญานอกจาก นี้ โจทก์ ยัง ไม่ชำระ ค่าธรรมเนียม การ จดทะเบียน เปลี่ยน ชื่อเจ้าของ กรรมสิทธิ์ รถยนต์ ตาม ที่ ระบุ ไว้ ใน สัญญา ค่าเสียหาย ตาม ที่โจทก์ ฟ้อง ไม่เป็น ความจริง ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ซ่อมแซม รถยนต์ คัน แรก หมายเลขทะเบียน 80-7350 ราชบุรี เฉพาะ ที่ เกี่ยวกับ หม้อ ลม เบรกแหนบ เสริมหน้ากระทะ ล้อ และ ยาง อะไหล่ ให้ จำเลย ชำระ เบี้ยปรับ 30,000 บาท แก่ โจทก์คำขอ อื่น ให้ยก
โจทก์ จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา โจทก์ ข้อ แรก ว่าจำเลย ส่งมอบ รถยนต์ คัน ที่ สอง ล่าช้า หรือไม่ เห็นว่า โจทก์ ได้รับ รถยนต์คัน ที่ สอง มา แล้ว แม้ โจทก์ จะ ฟ้อง เรียก เบี้ยปรับ และ ค่าเสียหาย จาก การไม่ได้ ใช้ รถยนต์ จาก จำเลย เพราะ อ้าง เหตุ การ ส่งมอบ รถยนต์ ล่าช้า มา ด้วยแต่ จาก การ นำสืบ ของ โจทก์ ไม่ปรากฏ ว่า ใน ขณะที่ โจทก์ ได้รับ รถยนต์คัน ที่ สอง ไว้ จาก จำเลย นั้น โจทก์ ได้ สงวนสิทธิ ที่ จะ เรียก เบี้ยปรับ จากจำเลย อีก ตาม สัญญา แม้ หาก จำเลย จะ ส่งมอบ ล่าช้า ไม่ ตรง ตาม กำหนด เวลาโจทก์ ก็ จะ เรียก เอา เบี้ยปรับ จาก จำเลย เพราะ เหตุ นี้ อีก ไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 วรรคท้าย ส่วน ใน เรื่องค่าเสียหาย จาก การ ที่ โจทก์ ไม่ได้ ใช้ รถยนต์ นั้น ก็ ปรากฏว่า ถึง แม้ จำเลยจะ ส่งมอบ รถยนต์ ให้ โจทก์ ล่าช้า หรือ ภายใน กำหนด ก็ ตาม โจทก์ ก็ ยังไม่สามารถ นำ รถยนต์ ออก แล่น ใช้ ประโยชน์ ได้ อยู่ ดี เพราะ ยัง ไม่มี การจดทะเบียน เปลี่ยน สภาพ รถยนต์ ให้ เป็น รถยนต์โดยสาร ส่วนบุคคล โดยชอบด้วย กฎหมาย ตาม สัญญา ส่วน การ จดทะเบียน เปลี่ยน สภาพ แล้ว เสร็จ จน โจทก์สามารถ นำ ออก แล่น ใช้ ประโยชน์ ได้ เมื่อใด ก็ ยัง จะ ต้อง รอ กำหนด ที่กรมการขนส่งทางบก นัด ให้ นำ รถยนต์ ไป ตรวจ สภาพ อีก ดัง ที่ โจทก์ จำเลยตกลง กัน ไว้ ใน สัญญา เอกสาร หมาย จ. 10 ข้อ 5 ดังนั้น ความเสียหายของ โจทก์ จึง มิได้ อยู่ ที่ การ ส่งมอบ รถยนต์ ล่าช้า หรือไม่ หาก แต่ อยู่ ที่จำเลย ผิดนัด เพราะ ไม่ได้ ดำเนินการ ขอ จดทะเบียน เปลี่ยน สภาพ รถยนต์ดังกล่าว หรือไม่ ซึ่ง เป็น ปัญหา จะ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ต่อไป ฉะนั้น จำเลย จะ ส่งมอบ รถยนต์ คัน ที่ สอง ล่าช้า หรือไม่ จึง ไม่เป็นประโยชน์ ต่อ การ พิจารณา ศาลฎีกา ไม่ วินิจฉัย ให้
ส่วน ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า จำเลย ไม่ส่ง มอบ รถยนต์ คัน ที่ สอง ให้ โจทก์ณ ภูมิลำเนา ของ โจทก์ ใน กรุงเทพมหานคร นั้น เห็นว่า โจทก์ ฟ้อง ว่าจำเลย ส่งมอบ รถยนต์ คัน ที่ สอง โดย รถยนต์ ชำรุด บกพร่อง ช้า กว่า กำหนดใน สัญญา ไม่ จดทะเบียน เปลี่ยน สภาพ รถ และ ไม่ จดทะเบียน เปลี่ยน ชื่อเจ้าของ กรรมสิทธิ์ เป็น ของ โจทก์ ทำให้ โจทก์ ใช้ รถยนต์ ไม่ได้ โจทก์ไม่ได้ ฟ้อง ว่า จำเลย ไม่ส่ง มอบ รถยนต์ คัน ที่ สอง ณ ภูมิลำเนา ของ โจทก์ใน กรุงเทพมหานคร ดังนั้น เรื่อง สถานที่ ส่งมอบ รถยนต์ คัน ที่ สองจึง ไม่ใช่ ข้อ ที่ ได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว ใน ศาลชั้นต้น ต้องห้าม ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งแม้ ศาลอุทธรณ์ จะ วินิจฉัย ให้ ก็ เป็น การ ไม่ชอบ ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย
ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ต่อไป ว่า จำเลย ผิดสัญญา เพราะ ไม่ ดำเนินการจดทะเบียน เปลี่ยน สภาพ รถยนต์ ทั้ง สอง คัน เป็น รถยนต์โดยสาร ส่วนบุคคลและ จดทะเบียน เปลี่ยน ชื่อ เจ้าของ กรรมสิทธิ์ รถยนต์ ให้ โจทก์ หรือไม่ฟังได้ ว่า จำเลย ได้ โทรเลข ให้ โจทก์ ส่ง เอกสาร ไป เพื่อ ดำเนินการ จดทะเบียนแต่ คง ได้รับ เอกสาร ไม่ครบ และ ไม่สมบูรณ์ จึง ได้ มี หนังสือ ขอให้ โจทก์ส่ง ไป ให้ ครบ สมบูรณ์ อีก ซึ่ง จำเลย ยืนยัน ว่า ไม่ได้ รับ เอกสาร จาก โจทก์ครบถ้วน และ สมบูรณ์ โจทก์ ไม่ได้ นำสืบ ให้ เห็นว่า โจทก์ ได้ จัด ส่ง เอกสารที่ ใช้ ใน การ จดทะเบียน ไป ให้ จำเลย ครบถ้วน สมบูรณ์ แล้วแต่ อย่างใดดังนั้น การ ที่ จำเลย ยัง ไม่ได้ ดำเนินการ จดทะเบียน ดังกล่าว จึง มิใช่ความผิด ของ จำเลย จำเลย จึง ไม่ได้ เป็น ผู้ผิดสัญญา เพราะ เหตุ นี้ฎีกา ของ โจทก์ ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน ศาลฎีกา เห็นสมควร วินิจฉัย ตามฎีกา ของ โจทก์ ต่อไป เลย ว่า แม้ จำเลย จะ มิได้ เป็น ผู้ผิดสัญญา เพราะ เหตุดังกล่าว โจทก์ จะ ขอ บังคับ ให้ จำเลย ดำเนินการ จดทะเบียนเปลี่ยน สภาพ รถยนต์ ทั้ง สอง คัน เป็น รถยนต์โดยสาร ส่วนบุคคล และจดทะเบียน เปลี่ยน ชื่อ เจ้าของ กรรมสิทธิ์ รถยนต์ ทั้ง สอง คัน ให้ โจทก์ ได้หรือไม่ เห็นว่า โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ซื้อ รถยนต์ ทั้ง สอง คัน ไป เพื่อ ใช้ใน กิจการ ของ วิทยาลัย เกษมบัณฑิต และ นำสืบ ว่า เพื่อ นำ ไป ใช้ รับ ส่ง นักศึกษา ของ วิทยาลัย ดังกล่าว จำเลย มิได้ ปฏิเสธ ความ ข้อ นี้ จึง ฟังได้ว่า โจทก์ ซื้อ รถยนต์ ทั้ง สอง คัน จาก จำเลย ก็ เพื่อ นำ ไป ใช้ งานซึ่ง รวม ถึง การ จดทะเบียน เปลี่ยน สภาพ และ จดทะเบียน เปลี่ยน ชื่อเจ้าของ กรรมสิทธิ์ รถยนต์ ทั้ง สอง คัน ให้ โจทก์ โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ด้วยมิฉะนั้น โจทก์ ก็ ไม่อาจ นำ ออก ใช้ งาน ได้ จึง ได้ มี ข้อตกลง กัน ใน สัญญา ให้เป็น หน้าที่ ของ จำเลย ที่ จะ ดำเนินการ ดังกล่าว จำเลย จึง มี หน้าที่ กระทำการ ที่ จำเป็น ทุกอย่าง เพื่อ ให้ ได้ มี การ จดทะเบียน ตาม สัญญา แม้ จำเลยจะ ได้ ติดตาม ทวงถาม เอกสาร ที่ อ้างว่า จำเป็น ใน การ จดทะเบียน จาก โจทก์แล้ว โจทก์ ยัง ไม่ส่ง ให้ ครบถ้วน สมบูรณ์ ก็ เป็น แต่เพียง ทำให้ จำเลยไม่ต้อง รับผิด ใน ความเสียหาย เนื่องจาก ความ ล่าช้า ของ โจทก์ แต่ มิได้ทำให้ จำเลย พ้น จาก หน้าที่ ตาม สัญญา ไป ได้ เมื่อ จำเลย ยัง มิได้ ดำเนินการตาม หน้าที่ ใน สัญญา ให้ แล้ว เสร็จ ไป และ โจทก์ ได้ บอกกล่าว ให้ จำเลยปฏิบัติ ตาม สัญญา แล้ว ตาม เอกสาร หมาย จ. 17 จ. 18 โจทก์ ก็ ย่อม ขอ บังคับให้ จำเลย ดำเนินการ ดังกล่าว ได้ แต่ โจทก์ ต้อง จัด ส่ง เอกสารที่ จำเป็น ต่าง ๆ ให้ จำเลย ครบถ้วน สมบูรณ์ อนึ่ง ใน เรื่อง การ ที่ โจทก์ต้อง ส่ง เอกสาร ให้ จำเลย ด้วย เช่นนี้ มิได้ ปรากฏ รายละเอียด ไว้ ใน สัญญาแต่เมื่อ โจทก์ มิได้ โต้เถียง คัดค้าน ศาล ก็ ย่อม จะ พิพากษา โดย มี เงื่อนไขให้ โจทก์ ส่ง เอกสาร ให้ จำเลย ครบถ้วน สมบูรณ์ ได้ แต่ ปรากฏ จาก คำเบิกความนาย วัลลภ ผู้รับมอบอำนาจ โจทก์ ว่า จำเลย ไม่มี ชื่อ เป็น เจ้าของ รถยนต์ คัน ที่ สอง ดังนั้น หาก เจ้าของ แท้จริง ของ รถยนต์ คัน ที่ สอง ไม่ยินยอมจดทะเบียน เปลี่ยน สภาพ และ จดทะเบียน เปลี่ยน ชื่อ เจ้าของ กรรมสิทธิ์ แล้วการ จะ บังคับ ให้ จำเลย โอน รถยนต์ คัน ที่ สอง ย่อม ทำ ไม่ได้ ถือว่า สภาพแห่ง หนี้ ไม่ เปิด ช่อง ให้ จำเลย โอน รถยนต์ คัน ที่ สอง ให้ โจทก์ ได้การ บังคับคดี ทำได้ เพียง ให้ โจทก์ คืน รถยนต์ คัน ที่ สอง ให้ จำเลย และจำเลย คืน ราคา รถยนต์ จำนวน 315,000 บาท ให้ โจทก์ สำหรับ รถยนต์คัน แรก ไม่ปรากฏ ข้อเท็จจริง ว่า ไม่มี ชื่อ จำเลย เป็น เจ้าของ จำเลยย่อม ต้อง จดทะเบียน เปลี่ยน สภาพ และ จดทะเบียน เปลี่ยน ชื่อ เจ้าของกรรมสิทธิ์ รถยนต์ คัน แรก เป็น ของ โจทก์ ได้ สภาพ แห่ง หนี้ เปิด ช่อง ให้ ใช้คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย จึง ไม่จำต้อง พิพากษา เผื่อ ไว้ ว่าหาก จำเลย ไม่ยอม ดำเนินการ จดทะเบียน แล้ว ให้ จำเลย คืน ราคา รถและ ให้ โจทก์ คืน รถยนต์ คัน แรก ต่อไป ฎีกา ของ โจทก์ ข้อ นี้ ฟังขึ้น บางส่วน
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ดำเนินการ จดทะเบียน เปลี่ยนสภาพ รถยนต์ พิพาท ทั้ง สอง คัน ให้ เป็น รถยนต์โดยสาร ส่วนบุคคล และจดทะเบียน เปลี่ยน ชื่อ เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ใน รถยนต์ ทั้ง สอง คัน ให้ เป็นของ โจทก์ เมื่อ โจทก์ ได้ ส่ง เอกสาร ที่ จำเป็น ที่ ต้อง ใช้ ใน การ จดทะเบียนดังกล่าว ให้ จำเลย ครบถ้วน สมบูรณ์ แล้ว สำหรับ รถยนต์ คัน แรก ถ้า จำเลยไม่ปฏิบัติ ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลยสำหรับ รถยนต์ คัน ที่ สอง ถ้า จำเลย ไม่ปฏิบัติ ให้ โจทก์ คืน รถยนต์ ให้จำเลย และ ให้ จำเลย คืน ราคา รถยนต์ จำนวน 315,000 บาท แก่ โจทก์นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์