คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

พยานโจทก์ทั้งหมดไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยที่1มาก่อนไม่มีเหตุน่าระแวงสงสัยว่าจะเบิกความปรักปรำจำเลยที่1เชื่อว่าเบิกความไปตามความเป็นจริง จำเลยที่1มีหน้าที่ปิดกั้นถนนซึ่งมีทางรถไฟผ่านได้เปิดสวิตช์สัญญาณไฟ5ดวงและให้สัญญาณโคมไฟสีเขียวแก่จำเลยที่2ผู้ขับขบวนรถไฟเพื่อผ่านแต่ไม่ได้นำแผงกั้นถนนไปปิดกั้นถนนเป็นสาเหตุทำให้รถยนต์โดยสารแล่นข้ามชนตู้โดยสารรถไฟเป็นเหตุให้คนตายการกระทำของจำเลยที่1จึงเป็นการ กระทำโดยประมาท

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า จำเลย ทั้ง สอง เป็น ลูกจ้างของ การรถไฟแห่งประเทศไทย โดย จำเลย ที่ 1 มี หน้าที่ ปิด กั้นถนน สาย ชัยภูมิ-สีคิ้ว ซึ่ง อยู่ ที่ ตำบล บ้านกอก อำเภอจัตุรัส จังหวัด ชัยภูมิ เมื่อ มี ขบวนรถไฟ ผ่าน และ ให้ สัญญาณไฟ เขียว แก่ รถไฟให้ ผ่าน ไป ได้ เมื่อ ได้ ทำการ ปิด กั้น ถนน เสร็จ แล้ว เพื่อ ป้องกัน มิให้เกิด อุบัติเหตุ ขบวนรถไฟ ชน กับ รถยนต์ ที่ แล่น ผ่าน จุด ตัด ดังกล่าวส่วน จำเลย ที่ 2 เป็น คนขับ รถไฟ เมื่อ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2533 เวลากลางคืน ก่อน เที่ยง จำเลย ทั้ง สอง และ นาย ยุทธศักดิ์ พลมณี ได้ กระทำ โดยประมาท ปราศจาก ความระมัดระวัง ซึ่ง บุคคล ใน ภาวะ เช่น บุคคลทั้ง สาม จัก ต้อง มี ตาม วิสัย และ พฤติการณ์ และ บุคคล ทั้ง สาม อาจ ใช้ความระมัดระวัง เช่นว่า นั้น ได้ แต่ หา ได้ ใช้ ให้ เพียงพอ ไม่ กล่าว คือจำเลย ที่ 1 ได้ ละเลย ไม่อยู่ ปฏิบัติ หน้าที่ ปิด กั้น ถนน ใน ขณะที่ จำเลยที่ 2 ขับ รถไฟ ขบวน ที่ 3 สาย กรุงเทพ-หนองคาย จาก กรุงเทพมหานคร ไป ถึง จุด ตัด ดังกล่าว ซึ่ง จำเลย ที่ 2 เห็น แล้ว ว่า จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ปิด กั้น ถนน และ ให้ สัญญาณไฟ เขียว ให้ ขบวนรถไฟ ที่ จำเลย ที่ 2 ขับ ผ่านไป ได้ แต่ จำเลย ที่ 2 ก็ ไม่ได้ ชะลอ ความ เร็ว ของ รถไฟ ที่ จำเลย ที่ 2ขับ ผ่าน ไป ได้ แต่ จำเลย ที่ 2 ก็ ไม่ได้ ชะลอ ความ เร็ว ของ รถไฟลง เพื่อ สามารถ หยุด รถ ได้ ทัน หาก เห็นว่า จะ เกิด อุบัติเหตุ และ ไม่ให้สัญญาณ หวูดรถไฟ เพื่อ เตือน ให้ รถ ที่ จะ ผ่าน จุด ตัด ดังกล่าว ทราบ ว่า มีรถไฟ ผ่าน และ ระมัดระวัง ส่วน นาย ยุทธศักดิ์ ได้ ขับ รถยนต์โดยสาร คัน หมายเลข ทะเบียน 10-1319 ชัยภูมิ บรรทุก ผู้โดยสาร จาก กรุงเทพมหานครไป ตาม ถนน สาย ชัยภูมิ-สีคิ้ว มุ่งหน้า ไป ทาง จังหวัด ชัยภูมิ ก่อน จะ ถึง จุด ตัด ดังกล่าว นาย ยุทธศักดิ์ เห็น ป้าย จราจร เตือน ว่า ข้างหน้า เป็น ทาง รถไฟ และ ป้าย จราจร ให้ หยุด ก่อน จะ ถึง ทาง รถไฟ แต่ นาย ยุทธศักดิ์ ไม่ปฏิบัติ ตาม ป้าย จราจร ดังกล่าว โดย ไม่ ลด ความ เร็ว และ หยุด รถ กลับขับ ไป ตาม ปกติ ด้วย ความประมาท ของ บุคคล ทั้ง สาม เป็นเหตุ ให้ รถยนต์ที่นาย ยุทธศักดิ์ ขับ พุ่ง เข้า ชน ตู้ ที่ 2 ของ ขบวนรถไฟ ที่ จำเลย ที่ 2ขับ ตก จาก ราง แล้ว ขบวนรถไฟ ได้ ครูด รถยนต์ ไป ตาม ทาง รถไฟ ทำให้นาย ยุทธศักดิ์ และ ผู้โดยสาร มา กับ รถ ที่นาย ยุทธศักดิ์ ขับ ถึง แก่ ความตาย รวม 18 คน มี ผู้ได้รับ อันตรายแก่กาย และ ได้รับ อันตรายสาหัสต้อง ป่วย เจ็บ ด้วย อาการ ทุกขเวทนา เกินกว่า ยี่สิบ วัน และ จน ประกอบกรณียกิจ ตาม ปกติ ไม่ได้ เกินกว่า ยี่สิบ วัน หลาย คน เหตุ เกิด ที่ตำบล บ้านกอก อำเภอจตุรัส จังหวัด ชัยภูมิ ขอให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 300, 390
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า จำเลย ที่ 1 มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 และ 300 กรณี เป็น การกระทำ อันเป็นกรรมเดียว เป็น ความผิด ต่อ กฎหมาย หลายบท ให้ ลงโทษ ตาม มาตรา 291อันเป็น บทที่ มี โทษหนัก ที่สุด ตาม มาตรา 90 จำคุก 5 ปี ยกฟ้อง ใน ส่วน ที่เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 2
จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
จำเลย ที่ 1 ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ซึ่ง พิจารณา และ ลงชื่อ ใน คำพิพากษาศาลชั้นต้น อนุญาต ให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟังได้ เป็น ยุติใน เบื้องต้น ว่า ตาม วัน เวลา และ สถานที่ ที่ โจทก์ ฟ้อง ได้ มีนาย ยุทธศักดิ์ พลมณี ขับ รถยนต์โดยสาร หมายเลข ทะเบียน 10-1319ชัยภูมิ หมายเลข ข้าง รถ 28-19 สาย กรุงเทพ -ชัยภูมิ พุ่ง เข้า ชน ตู้ ที่ 2ของ ขบวน รถ ด่วน กรุงเทพ -หนองคาย ขบวน ที่ 3 ซึ่ง มี จำเลย ที่ 2 เป็นคนขับ เป็นเหตุ ให้ ผู้โดยสาร ที่ โดยสาร มา ใน รถยนต์โดยสาร ถึงแก่ความตาย18 คน ได้รับ บาดเจ็บ 11 คน และ จำเลย ที่ 1 เป็น พนักงาน การรถไฟแห่งประเทศ ไทย ตำแหน่ง พนักงาน ปิด กั้น ถนน ให้ รถไฟ ผ่าน มี หน้าที่ปิด กั้น ถนน สาย ชัยภูมิ -สี คิ้ว ทาง ด้าน เหนือ สถานี จตุรัส ซึ่ง มี ทาง รถไฟผ่าน มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ว่า จำเลย ที่ 1 กระทำผิด ตาม ฟ้องโจทก์ จริง หรือไม่ โจทก์ มี นาย ภูผา จิวะนนท์ นาย กองพล ทวีทรัพย์ นาย สนั่น วงศ์ศรีแก้ว นางสาว ดารุณี อยู่สูงเนิน สิบตำรวจตรี พีรวงษ์ หิรัญเกิด และ ร้อยเอก บรรจงฤกษ์ มาประเสริฐ เป็น ประจักษ์พยาน เบิกความ ตรง กัน ว่า ก่อน จะ เกิดเหตุ ไม่มี แผง กั้นถนน ปิด กั้น ถนน ด้าน สาย สี คิ้ว – ชัยภูมิ โดย นางสาว ดารุณี เบิกความ ว่า นั่ง มา ใน รถยนต์โดยสาร คัน เกิดเหตุ ที่ เบาะ หลัง ที่นั่ง คนขับ เมื่อ มา ถึงที่เกิดเหตุ เห็น รถไฟ แล่น มา ทาง ซ้าย มือ ไม่มี เครื่องกั้นถนน จึง ได้บอก คนขับ ว่า มี รถไฟ มา ใน วันเกิดเหตุ เวลา ประมาณ 10 นาฬิกา ขณะที่พยาน พัก รักษา ตัว อยู่ ใน โรงพยาบาล จัตุรัสก็ ได้ ให้การ ต่อ พนักงานสอบสวน ว่า ไม่มี สิ่ง กีด กั้น ทาง รถไฟ จึง เชื่อ ว่า พยาน จำ เหตุการณ์ ได้ ดีและ เบิกความ ไป ตาม ความ เป็น จริง นาย สนั่น เบิกความ ว่า นั่ง มา ใน รถยนต์โดยสาร คัน เกิดเหตุ ตรง กลาง ทาง ด้านขวา มือ หลัง คนขับก่อน จะ ถึง ที่เกิดเหตุ ได้ ลุกขึ้น ยืน เพื่อ หยิบ กระเป๋า เสื้อ ที่ ชั้นวาง ของ เหนือ ศีรษะ เพื่อ จะ ลง รถ ที่ อำเภอ จัตุรัส มอง ไป ข้างหน้า เห็น ขบวนรถไฟ แล่น ผ่าน หน้า รถยนต์โดยสาร ใน ระยะ ประมาณ 4-5 วาหัว รถจักร ผ่าน ไป แล้ว เห็น ตู้ โดยสาร ต่อ จาก หัว รถจักร ไม่เห็น แผง กั้นถนน ปิด กั้น ถนน รถยนต์โดยสาร แล่น เข้า ชน ตู้ โดยสาร รถยนต์โดยสารพลิกคว่ำ พยาน หมด สติ ไป ชั่วครู่ หนึ่ง เมื่อ รถ นิ่ง อยู่ กับ ที่ แล้ว พยานจึง รู้สึกตัว รีบ คลาน ออก มาจาก ตัว รถ พยาน ปาก นี้ ได้รับ บาดเจ็บไม่สาหัส ไป ตรวจ รักษา ที่ โรงพยาบาล จัตุรัส เมื่อ แพทย์ เย็บแผล เสร็จ ก็ กลับ บ้าน ได้ จึง เชื่อ ว่า พยาน จำ เหตุการณ์ และ สภาพ บริเวณ ที่เกิดเหตุ ได้ ดี ร้อยเอก บรรจงฤกษ์ เบิกความ ว่า ใน วันที่ 23 พฤศจิกายน 2533 เวลา ประมาณ 18 นาฬิกา พยาน ขับ รถ กระบะ ออกจากกรุงเทพมหานคร จะ ไป ยัง จังหวัด ชัยภูมิ เมื่อ รถ แล่น ไป ถึง โรงเรียน จัตุรัสวิทยาคาร ซึ่ง อยู่ ห่าง จาก ทาง รถไฟ ประมาณ 1 กิโลเมตร ได้ แซง รถยนต์โดยสาร 1 คัน และ ตั้งใจ จะ แซง รถยนต์โดยสาร อีก 1 คัน แต่ มองเห็นไฟ สี เหลือง อยู่ ข้างหน้า เป็น บริเวณ ทาง รถไฟ ตัด ผ่าน จึง ขับ ตาม หลังห่าง ประมาณ 50 เมตร พยาน ได้ ชะลอ ความ เร็ว ลง เพราะ เห็น รถยนต์โดยสาร ชะลอ ความ เร็ว ลง ขณะ นั้น พยาน เห็น หัว รถจักร แล่น มา ตาม ทางรถไฟ ด้านซ้าย มือ ไม่เห็น แผง กั้น ถนน ปิด กั้น ถนน ต่อมา รถยนต์โดยสาร แล่นเข้า ชน ตู้ โดยสาร ตู้ แรก ต่อ จาก หัว รถจักร เห็นว่า ขณะที่ พยาน ขับ รถ อยู่นั้น พยาน ต้อง มอง ไป ข้างหน้า หาก มี แผง กั้น ถนน ปิด กั้น อยู่ ข้างหน้าจริง ตาม ที่ จำเลย ที่ 1 นำสืบ พยาน ย่อม ต้อง เห็น แผง กั้น ถนน นั้น ที่จำเลย ที่ 1 ฎีกา คัดค้าน ว่า พยาน ปาก นี้ แวะ คุย กับ เพื่อน ที่ อำเภอ ด่านขุนทด เมื่อ เวลา ประมาณ 1 นาฬิกา โดย พยาน ได้ ตอบ ทนายจำเลย ที่ 1 ถาม ค้าน ว่า คุย กับ เพื่อน คน นี้ ประมาณ 1 ชั่วโมง ซึ่ง เป็น เวลา2 นาฬิกา ขณะ นั้น ขบวน รถ ด่วน ที่เกิดเหตุ ได้ ออกจาก สถานี บำเหน็จ ณ รงค์มา แล้ว ขณะ เกิดเหตุ พยาน จึง ขับ รถ มา ไม่ถึง ที่เกิดเหตุ อย่าง แน่นอน นั้นใน เรื่อง นี้ นาย ภูผา คนขับ รถยนต์โดยสาร กรุงเทพ -เลย ซึ่ง แล่น ตาม หลัง มา นาย กองพล พนักงานประจำ รถ และ สิบตำรวจโท พีรวงษ์ ซึ่ง นั่ง มา ใน รถ คัน นี้ ต่าง ยืนยัน ว่า ก่อน จะ ถึง ที่เกิดเหตุ ระหว่าง รถยนต์โดยสาร คัน เกิดเหตุ กับ รถยนต์โดยสาร คืน ที่ พยาน ทั้ง สาม นั่ง อยู่ มีรถ กระบะ แล่น คั่น อยู่ ตรง กลาง ข้อเท็จจริง จึง ฟังได้ ว่า ก่อน จะ เกิดเหตุร้อยเอก บรรจงฤกษ์ ได้ ขับ รถ กระบะ แล่น ตาม หลัง รถยนต์โดยสาร คัน เกิดเหตุ จริง สำหรับ กำหนด เวลา ที่ พยาน แวะ คุย กับ เพื่อน ที่ อำเภอ ด่านขุนทด นั้น เป็น เพียง กะ ประมาณ เอา เท่านั้น จึง อาจจะ คลาดเคลื่อน ได้ นาย ภูผา ก็ ยืนยัน ว่า ขณะ เกิดเหตุ นั้น พยาน ไม่เห็น แผง กั้น ถนน ปิด กั้น ถนน เพื่อ ให้ รถไฟ แล่น ผ่าน คง เห็น แผง กั้น ถนน ตั้ง อยู่ ริมถนน ด้านซ้าย มือ ซึ่ง เป็น ที่ ตั้ง ตาม ปกติ ไม่มี ร่องรอย การ ถูก ชน นาย กองพล ก็ เบิกความ ว่า ขณะที่ ลง จาก รถ ไป ดู เหตุการณ์ นั้น ยัง เห็น แผง กั้น ถนน อยู่ที่ ริมถนน ด้านซ้าย มือ ใน ช่อง เก็บ ตาม ปกติ นอกจาก นี้ โจทก์ ยัง มีนาย สมพงษ์ ผ่านประดิษฐ์ เบิกความ ว่า มี บ้านพัก อยู่ ห่าง จาก ที่ เกิดเหตุ ประมาณ 50 เมตร พยาน เดิน ไป ดู เหตุการณ์ ถึง ที่เกิดเหตุหลังจาก เกิดเหตุ ประมาณ 5 นาที เห็น แผง กั้น ถนน ทั้ง 2 อัน ยัง คง ถูกเก็บ อยู่ ใน ที่ เก็บ พยาน ปาก นี้ ไป ถึง ที่เกิดเหตุ เกือบ จะ ทันที ทันใดสภาพ บริเวณ ที่เกิดเหตุ ยัง ไม่มี การ เคลื่อนย้าย เปลี่ยนแปลง แต่อย่างใดคำเบิกความ ของ พยาน ปาก นี้ จึง มี น้ำหนัก น่าเชื่อ ถือ สำหรับ ร้อยตำรวจโท จักรพล พนักงานสอบสวน คดี นี้ เบิกความ ว่า หลังจาก เกิดเหตุ แล้ว ได้รับ แจ้งเหตุ ทาง วิทยุ จึง ออก ไป ดู ที่เกิดเหตุ ทำแผน ที่ สังเขปแสดง สถานที่เกิดเหตุ บันทึก การ ตรวจ สถานที่เกิดเหตุ ตาม เอกสาร หมายป.จ. 1 และ ป.จ. 3 ถ่าย ภาพ สถานที่เกิดเหตุ ไว้ ตาม ภาพถ่าย หมายป.จ. 2 ซึ่ง ตาม บันทึก การ ตรวจ สถานที่เกิดเหตุ เอกสาร หมาย ป.จ. 3ข้อ 9.1 ระบุ ว่า แผง กั้น สำหรับ กั้น ถนน ของ การรถไฟแห่งประเทศไทยไม่ได้ นำ ออก มา ปิด กั้น ถนน และ พยาน ได้ ตอบ ทนายจำเลย ที่ 1 ถาม ค้าน ว่าขณะที่ พยาน ไป ที่เกิดเหตุ นั้น เห็น แผง กั้น วาง อยู่ ที่ ข้างทาง ตาม ปกติพยาน ปาก นี้ ไป ถึง ที่เกิดเหตุ หลังจาก เกิดเหตุ ไม่ นาน ได้ ทำ บันทึก การตรวจ สถานที่เกิดเหตุ เอกสาร หมาย ป.จ. 3 เมื่อ เวลา 9.30 นาฬิกาดังนั้น ข้อความ ตาม บันทึก ดังกล่าว น่า จะ ตรง กับ ความ เป็น จริง มาก ที่สุดสามารถ จะ นำ ไป ฟัง ประกอบ พยานบุคคล ของ โจทก์ ปาก อื่น ๆ ให้ มี น้ำหนักมั่นคง ยิ่งขึ้น ได้ เห็นว่า พยานโจทก์ ดังกล่าว ทั้งหมด ไม่เคย มี สาเหตุโกรธเคือง กับ จำเลย ที่ 1 มา ก่อน ไม่มี เหตุ น่า ระแวง สงสัย ว่า จะ เบิกความปรักปรำ จำเลย ที่ 1 เชื่อ ว่า เบิกความ ไป ตาม ความ เป็น จริง ส่วน จำเลยที่ 1 มี ตัว จำเลย ที่ 1 เบิกความ ว่า จำเลย ที่ 1 เริ่ม ดึง แผง กั้น ถนนมา ปิด กั้น ถนน เมื่อ ขบวนรถไฟ เข้า สู่ สถานี จัตุรัสโดย ปิด ถนน ด้าน สายสี คิ้ว -ชัยภูมิ ก่อน แล้ว จึง ปิด ถนน ด้าน สาย ชัยภูมิ -สี คิ้ว หลังเกิดเหตุ แล้ว สังเกต เห็น แผง กั้น ถนน ด้าน สาย สี คิ้ว -ชัยภูมิ ถูก รถยนต์โดยสาร เฉี่ยว ล้ม ลง และ มี จำเลย ที่ 2 เบิกความ ว่า เมื่อ ขบวน รถ แล่นเข้าใกล้ จุด ตัด ของ ถนน สังเกต เห็นว่า มี แผง กั้น ถนน ปิด กั้น ถนน เรียบร้อยแล้ว ตาม ภาพถ่าย หมาย ล. 6 นาย สร้อย แก่นทิพย์ พยาน จำเลย ที่ 1เบิกความ ว่า พบ แผง กั้น ถนน ด้าน สาย สี คิ้ว – ชัยภูมิ ตั้ง อยู่ ใน ที่ เก็บด้าน บน ยุบ ลง ไป เห็นว่า ตาม ภาพถ่าย หมาย ล. 6 มี รอย บุบ ยุบ เล็กน้อยตรง ด้าน บน รอย บุบ ยุบ ดังกล่าว คล้าย ถูก วัตถุ ขนาด ใหญ่ ทุบ ลง ไป ในแนว ดิ่งจึง ไม่ เชื่อ ว่า เป็น ร่องรอย ที่ เกิดจาก รถยนต์โดยสาร คัน เกิดเหตุเฉี่ยว ชน ก่อน ที่ จะ เข้า ไป ชน ตู้ โดยสาร รถไฟ ตู้ ที่ 2 ตาม ที่ จำเลย ที่ 1นำสืบ การ ที่ จำเลย ที่ 2 เบิกความ ยืนยัน ว่า เห็น แผง กั้น ถนน ทาง ด้านมาจาก อำเภอ สีคิ้ว ก็ เพื่อ ให้ ตน พ้น ผิด ไป ด้วย จึง มี น้ำหนัก น้อย สำหรับ ระเบียบ ปฏิบัติ ใน การ นำ แผง กั้น ถนน มา ปิด กั้น ถนน ที่ มี ทาง รถไฟ ตัด ผ่านนั้น ก็ เป็น ระเบียบ ปฏิบัติ เพื่อ ป้องกัน ไม่ให้ เกิด อุบัติเหตุ นั่นเองแต่ ถ้า จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ ปฏิบัติ ให้ ครบถ้วน ตาม ระเบียบ จำเลย ที่ 2ก็ สามารถ จะ ขับ รถไฟ แล่น ผ่าน ไป ได้ ตาม ทางนำสืบ ของ จำเลย ที่ 1ได้ความ ว่า เมื่อ เวลา 1.40 นาฬิกา ขณะที่ จำเลย ที่ 1 นั่ง รอ อยู่ใน ซุ้ม นาย สถานี จัตุรัสได้ โทรศัพท์ มา แจ้ง ให้ จำเลย ที่ 1 ทราบ ว่าขบวน รถ ด่วน สาย กรุงเทพ – หนองคาย แจ้ง ขอ ทาง สะดวก มา แล้วต่อมา เวลา 2 นาฬิกา นาย สถานี จัตุรัสได้ โทรศัพท์ แจ้ง มา ยังจำเลย ที่ 1 อีก ว่า ขบวน รถ ด่วน สาย กรุงเทพ – หนองคาย ผ่าน สถานีบำเหน็จ ณ รงค์มา แล้ว จำเลย ที่ 1 ได้ เปิด สวิตซ์สัญญาณไฟ 5 ดวงให้ สัญญาณ โคม ไฟ สี เขียว แก่ จำเลย ที่ 2 เพื่อ ขับ รถไฟ ผ่าน เห็นว่า ขณะเกิดเหตุ เป็น เวลา ดึก มาก แล้ว จำเลย ที่ 2 คง จ้อง ดู สัญญาณไฟ 5 ดวงและ โคม ไฟ เขียว เป็น สำคัญ เพราะ เมื่อ มี สัญญาณไฟ ทั้ง 2 อย่าง แล้ว ก็สันนิษฐาน ได้ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ นำ แผง กั้น ถนน มา ปิด กั้น ถนน ตามระเบียบ แล้ว เมื่อ แผง กั้น ถนน ทั้ง 2 ข้าง ตั้ง อยู่ ห่าง จาก ทาง รถไฟข้าง ละ 5 เมตร จำเลย ที่ 2 จะ มองเห็น ได้ ก็ ต่อเมื่อ รถไฟ แล่น ผ่านเท่านั้น พิเคราะห์ พยานหลักฐาน ของ โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 แล้ว เชื่อ ว่าจำเลย ที่ 1 ได้ เปิด สวิตซ์สัญญาณไฟ 5 ดวง และ ให้ สัญญาณ โคม ไฟ สี เขียวแก่ จำเลย ที่ 2 จริง แต่ ไม่ได้ นำ แผง กั้น ถนน ไป ปิด กั้น ถนน ใน ด้านสาย สีคิ้ว – ชัยภูมิ อันเป็น สาเหตุ อย่างหนึ่ง ที่ ทำให้ รถยนต์โดยสาร สาย กรุงเทพ -หนองคาย เป็นเหตุ ให้ คนตาย 18 คน และ ได้รับ บาดเจ็บ11 คน การกระทำ ของ จำเลย ที่ 1 เป็น การกระทำ โดยประมาท จำเลยที่ 1 ย่อม มี ความผิด ตาม ฟ้อง ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษา มา นั้นศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share