คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2504

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องคดีแพ่งขอให้จำเลยชดใช้เงินของโจทก์ที่จำเลยยักยอกเอาไปตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2494 อันเป็นมูลความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 121 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดและมีอายุความฟ้องร้อง 20 ปี ตามกฎหมายลักษณะอาญามาตา 78 (1) แต่ต่อมากฎหมายลักษณะอาญาได้ถูกยกเลิกและมีประมวลกฎหมายอาญาใช้บังคับแทนมูลความผิดของจำเลยต้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ซึ่งใช้ในภายหลังและมีอัตราโทษก่อนแก้ไขเบากว่าอัตราโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 131 อันเป็นกฎหมายซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยซึ่งมีอายุความฟ้องร้อง 15 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95 (2) อายุความฐานละเมิดในทางแพ่งจึงต้องถืออายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95 (2) ดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรค 2 แม้จำเลยผู้ยักยอกจะยังมิได้ถูกฟ้องในคดีอาญาก็ตาม

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้ง ๒ เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญในแผนกคลัง สังกัดสำนักงานเลขานุการกรม กรมการแพทย์ โจทก์ จำเลยที่ ๑ เป็นหัวหน้าแผนกคลัง จำเลยที่ ๒ เป็นประจำแผนกอยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๑ ได้ปล่อยปละละเลยด้วยความประมาทเลินเล่อ ทำให้จำเลยที่ ๒ ยักยอกเอาเงินของโจทก์ไป ขอให้จำเลยทั้ง ๒ ชดใช้เงินที่ยักยอก และดอกเบี้ย
จำเลยทั้ง ๒ ให้การปฏิเสธและตัดฟ้องว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ
ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ยังไม่เสร็จ จำเลยร้องขอให้ศาลชี้ขาดว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความศาลชั้นต้นสอบในเรื่อง+การดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยทั้ง ๒ โจทก์แถลงว่าคดียังอยู่ที่พนักงานสอบสวนยังมิได้ฟ้องร้อง ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาว่า โจทก์ฟ้องคดีเกิน ๑ ปี ขาดอายุความฟ้องร้อง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๔๘ วรรค ๑ สำหรับคดีอาญาโจทก์แถลงว่าอยู่ในระหว่างสอบสวน จะถืออายุความตามวรรค ๒ แห่งมาตรานี้ไม่ได้ เพราะศาลยังมิได้ชี้ขาดว่าผู้ใดกระทำผิด ให้ยกฟ้องโจทก์
โจทก์อุทธรณ์ คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ และจำเลยทั้ง ๒ เป็นตัวแทนของโจทก์ อายุความมีได้ถึง ๑๐ ปี
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ ๑ ขาดอายุความสำหรับจำเลยที่ ๒ ในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตามกฎหมายอาญา ยังไม่ขาดอายุความในข้อที่โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยมีฐานเป็นตัวแทนโจทก์ มิได้บรรยายฟ้องโดยชัดแจ้งว่าเป็นตัวแทนอย่างไร ฟังไม่ขึ้น พิพากษาให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีเฉพาะตัวจำเลยที่ ๒ ต่อไป
โจทก์ฎีกาว่า คดีเฉพาะตัวจำเลยที่ ๑ ยังไม่ขาดอายุความ จำเลยที่ ๑ ได้ร่วมการทุจริตกับจำเลยที่ ๒ ด้วย จำเลยที่ ๑ เป็นตัวแทนของโจทก์มีอายุความ ๑๐ ปี
จำเลยที่ ๒ ฎีกาว่า คดีโจทก์ขาดอายุความฟ้องร้องจำเลยที่ ๒ แล้ว
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ฟ้องคดีนับแต่วันทราบตัวผู้รับผิดเกิน ๑ ปีแล้ว คดีโจทก์ขาดอายุความ แต่คดีเฉพาะจำเลยที่ ๒ โจทก์กล่าวหาว่าได้ยักยอก++โจทก์ไปตั้งแต่วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๔ อันเป็นมูลความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา ๑๓๑ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดและมีอายุความฟ้องร้อง ๒๐ ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา ๗๘ (๑) แต่ต่อมากฏหมายลักษณะอาญาได้ถูกยกเลิกและมีประมวลกฎหมายอาญาใช้บังคับแทน มูลความผิดของจำเลยที่ ๒ ต้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๔๗ ซึ่งใช้ในภายหลัง และมีอัตราโทษก่อนแก้ไขมากกว่าอัตราโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา ๑๓๑ อันเป็นกฎหมายที่เป็นคุณ จำเลยที่ ๒ ซึ่งมีอายุความฟ้องร้อง ๑๕ ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ++ (๒) จึงต้องถืออายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๕ (๒) ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๔๘ วรรค ๒ คดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ ๒ ไม่ขาดอายุความฟ้องร้อง ข้อที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ ๑ เป็นตัวแทนโจทก์ มีอายุความ ๑๐ ปีนั้น ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์เป็นกรณีที่จำเลย ๑ มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามตำแหน่งหน้าที่ราชการ ไม่ใช่ตัวแทน ที่โจทก์ฎีกาจำเลยที่ ๑ ร่วมทุจริตกับจำเลยที่ ๒
โจทก์ก็มิได้กล่าวในฟ้อง เพียงแต่กล่าวว่าจำเลยที่ ๑ ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยที่ ๒ ยักยอกเอาเงินของโจทก์ไป++นั้น พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์

Share