แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
จำเลยฎีกาว่าขณะฟ้องคดีโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทโจทก์จะใช้สิทธิฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายจากจำเลยไม่ได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534มาตรา46นั้นปัญหานี้แม้จำเลยจะไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยจึงยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ฟ้องของโจทก์และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยเมื่อจำเลยผลิตสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของโจทก์ออกจำหน่ายทำให้ผู้ซื้อสินค้าของจำเลยเข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์อันเป็นการลวงขายดังนี้โจทก์ย่อมเป็นฝ่ายได้รับความเสียหายและมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534มาตรา46วรรคสอง ฟ้องโจทก์บรรยายว่าจำเลยได้ผลิตและจำหน่ายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์อันเป็นการลวงขายเป็นการละเมิดต่อสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายส่วนจำเลยให้การเพียงว่าจำเลยนำเครื่องหมายการค้าตามที่นายทะเบียนอนุญาตมาใช้กับสินค้าที่จำเลยผลิตโดยสุจริตจำเลยได้ระงับการผลิตสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าพิพาทแล้วและตามฎีกาของจำเลยก็รับว่าจำเลยได้ผลิตสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่อ้างว่าผลิตเป็นตัวอย่างเท่านั้นดังนั้นข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าจำเลยได้ผลิตสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ และ มีสิทธิใน เครื่องหมายการค้า อักษร โรมัน คำ ว่า “AC SCHNITZER” ดีกว่า จำเลย และ บังคับ จำเลย ถอน ทะเบียน เครื่องหมายการค้า ตาม คำขอ เลขที่ 195412ทะเบียน เลขที่ 137913 หาก จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษาแทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย และ ห้าม จำเลย ใช้ ยื่น ขอ จดทะเบียนหรือ เกี่ยวข้อง ใน ทาง ใด ๆ กับ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ หรือเครื่องหมายการค้า อื่น ใด ที่ เหมือน หรือ คล้าย กับ เครื่องหมายการค้าดังกล่าว ให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เดือน ละ 1,000,000 บาทนับ ถัด จาก วันฟ้อง จนกว่า จำเลย จะ ถอน ทะเบียน เครื่องหมายการค้าและ ยุติ การ ทำละเมิด สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย มิได้ กระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ คดี โจทก์ขาดอายุความ และ ฟ้องโจทก์ เคลือบคลุม ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ถอน ทะเบียนเครื่องหมายการค้า ตาม คำขอ เลขที่ 195412 ทะเบียน เลขที่ 137913 หากจำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลยให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เป็น เงิน 1,500,000 บาท
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟังได้ ตามที่ คู่ความ มิได้ โต้เถียง กัน ใน ชั้นฎีกา ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ และ มีสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท ที่ ประกอบ ด้วย อักษร โรมัน ตัว “AC” ประดิษฐ์ กับ อักษร โรมัน คำ ว่า “SCHNITZER” อ่าน ว่า ชนิทเซอร์ ดีกว่า จำเลย โจทก์ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า พิพาท ดังกล่าวใน ประเทศ เยอรมนี ตั้งแต่ วันที่ 22 กรกฎาคม 2530 จำเลย ได้ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า พิพาท ดังกล่าว ไว้ เมื่อ วันที่ 27 ตุลาคม 2532ตาม คำขอ เลขที่ 195412 ทะเบียน เลขที่ 137913 กับ สินค้า จำพวก14 คือ ล้อรถยนต์ ทำ ด้วย อะลูมิเนียม โจทก์ ยื่น คำขอ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า พิพาท ใน ประเทศ ไทย เพื่อ ใช้ กับ สินค้า จำพวก 14เมื่อ วันที่ 30 ตุลาคม 2534 แต่ นายทะเบียน ไม่รับ จดทะเบียน ให้ด้วย เหตุ เป็น เครื่องหมายการค้า ที่ เหมือน หรือ คล้ายคลึง กับ เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย
คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย เป็น ประการ แรก ว่าจำเลย ได้ ผลิต สินค้า ภายใต้ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ แล้ว หรือไม่และ ค่าเสียหาย ของ โจทก์ มี เพียงใด ใน ปัญหา ดังกล่าว เห็นว่าคำฟ้อง โจทก์ บรรยาย ว่า จำเลย ได้ ผลิต และ จำหน่าย สินค้า ล้อรถยนต์ทำ ด้วย อะลูมิเนียม โดย ใช้ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ เพื่อ ให้ ประชาชนหลงเชื่อ ว่า เป็น สินค้า ของ โจทก์ ทำให้ เกิด การ สับสน อันเป็น การ ลวง ขายเป็น การ ละเมิด ต่อ สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ทำให้ โจทก์ได้รับ ความเสียหาย ส่วน จำเลย ให้การ เพียง ว่า จำเลย นำ เครื่องหมายการค้าตาม ที่นาย ทะเบียน อนุญาต ดังกล่าว มา ใช้ กับ สินค้า ที่ จำเลย ผลิตโดยสุจริต จำเลย ยื่น ขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า พิพาท ต่อนายทะเบียน ก่อน โจทก์ นำ สินค้า ภายใต้ เครื่องหมายการค้า พิพาท มาจำหน่าย ใน ประเทศ ไทย จำเลย มิได้ มี เจตนา กระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์หรือ ปลอม เครื่องหมายการค้า จำเลย ได้ ระงับ การ ผลิต สินค้า ภายใต้เครื่องหมายการค้า พิพาท แล้ว จึง ไม่มี หน้าที่ ต้อง ชำระ ค่าเสียหายแก่ โจทก์ และ ตาม ฎีกา ของ จำเลย ก็ รับ ว่า จำเลย ได้ ผลิต สินค้า ภายใต้เครื่องหมาย ของ การค้า ของ โจทก์ แต่ อ้างว่า ผลิต เป็น ตัวอย่าง เท่านั้นดังนั้น ข้อเท็จจริง จึง ต้อง ฟัง ว่า จำเลย ได้ ผลิต สินค้า ภายใต้เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ แล้ว สำหรับ ปัญหา ที่ ว่า ค่าเสียหายของ โจทก์ มี เพียงใด นั้น ใน ข้อ นี้ โจทก์ มี นาย พิยุชน์ เจียมประเสริฐ ผู้จัดการ บริษัท ไทยฟิวเจอร์คอนเซป จำกัด ซึ่ง เป็น ตัวแทน จำหน่าย สินค้า ภายใต้ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ กับ นาย ศิริบูรณ์ เนาว์ถิ่นสุข พนักงานบริษัท ยนตรกิจมอร์เตอร์สปอร์ต จำกัด พยานโจทก์ เบิกความ ว่า สินค้า โจทก์ มี ชื่อเสียง มี คุณภาพ สูง รู้ จักแพร่หลาย ทั่ว โลก รวมทั้ง ประเทศ ไทย มี การ สั่ง เข้า มา จำหน่ายใน ประเทศ ไทย เมื่อ ปี 2531 นาย พิยุชน์ ได้ นำ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ไป ตรวจค้น สินค้า ที่ โรงงาน ของ จำเลย เมื่อ เดือน พฤษภาคม 2535พบ ล้อรถยนต์ ทำ ด้วย อะลูมิเนียม ยี่ห้อ เอซี ชนิทเซอร์ ซึ่ง เป็น เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ จำนวน มาก และ ค้นพบ คำสั่ง ที่ จำเลยสั่ง ให้ ผลิต ล้อรถยนต์ ทำ ด้วย อะลูมิเนียม โดย ใช้ เครื่องหมายการค้าโจทก์ ประมาณ 180 ถึง 200 วง ต่อ วัน ตาม เอกสาร หมาย จ. 63 ล้อรถยนต์ดังกล่าว มี รูป แบบ และ ลวดลาย เหมือนกับ ของ โจทก์ สามารถ ขาย ได้ วง ละ 3,500ถึง 5,000 บาท แต่ นาย พิยุชน์ มิได้ ดำเนินคดี แก่ จำเลย เพราะ ยัง ไม่ทราบ ว่า จำเลย ทำ ปลอม สินค้า และ ยัง ไม่ได้ รับมอบหมาย จาก โจทก์ให้ ดำเนินคดี แก่ จำเลย ซึ่ง มีเหตุ ผล ดัง ที่ เบิกความ นาย ศิริบูรณ์ ยัง เบิกความ อีก ว่า ล้อรถยนต์ ทำ ด้วย อะลูมิเนียม ตาม แผ่น โฆษณา ของจำเลย เอกสาร หมาย ล. 4 มี ลวดลาย เช่นเดียว กับ ของ โจทก์ จำเลย มิได้นำสืบ หักล้าง ข้อเท็จจริง ดังกล่าว นาย นิพนธ์ ศิริมานะชัย ผู้จัดการ ฝ่าย ขาย ของ จำเลย ยัง เบิกความ ตอบ ทนายโจทก์ ถาม ค้าน ว่าโรงงาน จำเลย ผลิต ล้อแม็กซ์หลาย ชนิด หลาย ยี่ห้อ มี กำลัง การ ผลิต วัน ละ200 วง หรือ เดือน ละ 6,000 วง และ มี จำหน่าย ตาม ร้านค้า ทั่ว ประเทศ ไทยราคา ขึ้น อยู่ กับ ขนาด ของ ล้อ ซึ่ง เฉลี่ย แล้ว จะ มี ราคา ประมาณ วง ละ1,450 บาท 1,600 บาท และ 2,000 บาท เมื่อ ทาง ร้าน ซื้อ ไปแล้ว ก็ จะ จำหน่าย อีก ราคา หนึ่ง โดย คิด ราคา เพิ่มขึ้น อีก ประมาณ ร้อยละ 15จาก คำเบิกความ ดังกล่าว แสดง ว่า โรงงาน ของ จำเลย เป็น โรงงานขนาด ใหญ่ มี กำลัง การ ผลิต สูง เจือสม กับ ทางนำสืบ ของ โจทก์ ที่ ว่าพบ ล้อรถยนต์ ที่ ใช้ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ จำนวน มาก ที่ โรงงาน ของจำเลย และ พบ คำสั่ง ที่ จำเลย สั่ง ให้ ผลิต ล้อรถยนต์ โดย ใช้ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ตาม เอกสาร หมาย จ. 63 ทั้ง แผ่น โฆษณา ของ จำเลยเอกสาร หมาย ล. 4 ก็ มี การ โฆษณา ล้อรถยนต์ อะลูมิเนียม ลวดลาย เดียว กับ ของโจทก์ ข้อเท็จจริง น่าเชื่อ ว่า จำเลย ได้ ผลิต และ ขาย ล้อรถยนต์ ทำ ด้วยอะลูมิเนียม โดย ใช้ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ เป็น จำนวน มากการกระทำ ดังกล่าว ย่อม ส่ง ผล กระทบ ถึง สินค้า ของ โจทก์ ทำให้ โจทก์เสียหาย ประกอบ กับ ข้อเท็จจริง ได้ความ ว่า เครื่องหมายการค้าของ โจทก์ ประกอบ ด้วย อักษร โรมัน ตัว “AC” ประดิษฐ์ กับ อักษร โรมัน คำ ว่า “SCHNITZER” ซึ่ง เป็น การ ยาก ที่ จำเลย จะ คิด ขึ้น เอง แสดง ให้ เห็นว่า จำเลย มี เจตนา นำ เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ มา ใช้ โดยไม่สุจริต เพื่อ ผลประโยชน์ ใน ทางการ ค้า ของ จำเลย และ ได้ความ อีก ว่าจำเลย ได้ ปลอม ล้อรถยนต์ อะลูมิเนียม โดย ใช้ เครื่องหมายการค้า ยี่ห้อ บราบัส (BRABUS) ของ ผู้อื่น อีก ด้วย แสดง ถึง พฤติการณ์ อัน ไม่สุจริต อย่างยิ่ง ของ จำเลย ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง กำหนด ค่าเสียหาย มา นั้น เหมาะสมแก่ พฤติการณ์ และ ความ ร้ายแรง แห่ง การ ละเมิด แล้ว ไม่มี เหตุเปลี่ยนแปลง ที่ จำเลย ฎีกา ว่า ได้ ระงับ การ ผลิต แล้ว ก็ ไม่ ปรากฎตาม ทางนำสืบ ว่า ได้ ระงับ เมื่อใด ฎีกา ของ จำเลย ฟังไม่ขึ้น
ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ประการ ต่อไป มี ว่าขณะ ฟ้องคดี นี้ โจทก์ ยัง มิได้ จดทะเบียน เป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้าพิพาท โจทก์ จะ ใช้ สิทธิ ฟ้องร้อง เรียก เอา ค่าเสียหาย จาก จำเลย ไม่ได้ตาม พระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 46 นั้นปัญหา นี้ แม้ จำเลย จะ ไม่ได้ ให้การ ต่อสู้ ไว้ แต่ เป็น ปัญหา เกี่ยวกับความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน จำเลย จึง ยกขึ้น อ้าง ใน ชั้นฎีกาได้ พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า เมื่อ ฟ้อง ของ โจทก์ และ ข้อเท็จจริงฟังได้ ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้า พิพาท โจทก์ มีสิทธิใน เครื่องหมายการค้า พิพาท ดีกว่า จำเลย จำเลย จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า พิพาท กับ สินค้า จำพวก 14 ชนิด สินค้า ล้อรถยนต์ทำ ด้วย อะลูมิเนียม ซึ่ง เป็น สินค้า ประเภท เดียว กัน กับ ของ โจทก์แล้ว จำเลย ผลิต สินค้า ล้อรถยนต์ ทำ ด้วย อะลูมิเนียม ที่ มี เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ออก จำหน่าย ทำให้ ผู้ซื้อ สินค้า ของ จำเลย เข้าใจผิดว่า เป็น สินค้า ของ โจทก์ อันเป็น การ ลวง ขาย ดังนี้ โจทก์ ย่อม เป็น ฝ่ายได้รับ ความเสียหาย และ มีอำนาจ ฟ้อง เรียก ค่าเสียหาย ได้ ตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 46 วรรคสองฎีกา ของ จำเลย ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น อีก เช่นกัน ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษามา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ”
พิพากษายืน