แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
อุทธรณ์ของจำเลยเป็นการโต้เถียงว่าที่พิพาททั้งหมดมิใช่ทรัพย์มรดกหากข้อเท็จจริงเป็นดังที่จำเลยอุทธรณ์จำเลยย่อมได้รับผลตามข้อต่อสู้ของจำเลยทั้งคดีจึงเป็นคดีที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตามราคาทรัพย์พิพาทคือ54,000บาทโดยไม่แยกทุนทรัพย์ตามที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องเมื่อที่พิพาทมีราคาเกินกว่าห้าหมื่นบาทจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1 เป็น บุตร ของ นาย ดำ มี พี่น้อง ร่วม บิดา มารดา เดียว กัน 4 คน คือ นาง หนู โจทก์ ที่ 1 นาง จันทร์ และ นาง บุญทัน โจทก์ ที่ 2 เป็น บุตร ของ นาง บุญทัน โจทก์ ที่ 3เป็น บุตร ของ นาง จันทร์ ส่วน จำเลย เป็น บุตร ของ นาง หนู ปัจจุบัน นาง หนู นาง บุญทัน และ นาง จันทร์ ถึงแก่กรรม แล้ว เดิม นาย ดำ เป็น เจ้าของ ที่ดิน 1 แปลง ซึ่ง แจ้ง ส.ค.1 ไว้ เลขที่ 176 เมื่อ ปี2513 นาย ดำ ได้ แบ่ง ที่ดิน ส.ค.1 ดังกล่าว ออก เป็น 5 แปลง ให้ บุตร ทั้ง สี่ คน คน ละ 1 แปลง สำหรับ แปลง ที่ 5 เนื้อที่ ประมาณ 18 ไร่80 ตารางวา ซึ่ง เป็น แปลง พิพาท คง ไว้ เป็น ของ นาย ดำ โดย นาย ดำ ให้ นาง หนู ครอบครอง ทำประโยชน์ แทน ใน ปีเดียว กัน นาย ดำ ถึงแก่กรรม ที่พิพาท จึง เป็น มรดก ของ นาย ดำ ต่อมา ปี 2518 ทายาท ทุกคน มอบ ให้ นาง หนู ขอ ออก น.ส.3 ก. เลขที่ 1553 (ที่ ถูก เป็น 2553)โดย ให้ ใส่ ชื่อ นาง หนู แทน ปี 2522 ทายาท ทุกคน ได้ ตกลง แบ่ง ที่พิพาท ออก เป็น 4 แปลง ตาม แผนที่ พิพาท โดย ให้ เป็น ของ นาง หนู โจทก์ ที่ 1 นาง บุญทัน และ นาง จันทร์ คน ละ แปลง ใน ส่วน ของ นาง จันทร์ และ นาง บุญทัน นั้น โจทก์ ที่ 2 ซึ่ง เป็น บุตร ของ นาง บุญทัน และ โจทก์ ที่ 3 ซึ่ง เป็น บุตร ของ นาง จันทร์ รับมรดก แทนที่ โจทก์ ทั้ง สาม เข้า ครอบครอง ตาม ส่วน ของ ตน โดย สงบ เปิดเผยไม่มี ผู้ใด โต้แย้ง คัดค้าน จน ถึง ปัจจุบัน เป็น เวลา กว่า 10 ปี แล้ว และ ได้ขอ นาง หนู จดทะเบียน แบ่งแยก ให้ แต่ นาง หนู ผัดผ่อน เรื่อย มา จน ถึงแก่กรรม เมื่อ ปี 2533 จำเลย ใน ฐานะ ทายาท ของ นาง หนู ก็ ไม่ยอม จดทะเบียน แบ่งแยก ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สาม ขอให้ ศาล พิพากษาว่า โจทก์ ทั้ง สาม มีสิทธิ ครอบครอง ที่พิพาท ตาม ส่วน ของ ตน ตาม แผนที่พิพาท เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 2 ให้ จำเลย จดทะเบียน แบ่งแยกที่ดิน น.ส.3 ก. เลขที่ 1553 (ที่ ถูก เป็น 2553) ให้ โจทก์ ทั้ง สามตาม ส่วน ภายใน 30 วัน นับแต่ คดีถึงที่สุด หาก ไม่ไป ขอให้ ถือเอาคำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย
จำเลย ให้การ ว่า นาย ดำ ยก ที่พิพาท ให้ นาง หนู นาง หนู ทำประโยชน์ ใน ที่พิพาท ตลอดมา โจทก์ ทั้ง สาม ไม่เคย เกี่ยวข้องที่ โจทก์ ทั้ง สาม อ้างว่า ที่พิพาท เป็น มรดก ของ นาย ดำ โดย ให้ นาง หนู เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ แทน นั้น ไม่เป็น ความจริง เมื่อ นาง หนู ถึงแก่กรรม จำเลย ได้ ครอบครอง ทำประโยชน์ ตลอดมา โจทก์ ไม่มี สิทธิฟ้อง ขอ แบ่ง ที่พิพาท ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า โจทก์ ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 มีสิทธิครอบครอง ใน ที่พิพาท ตาม ส่วน ของ ตน ที่ ได้รับ ส่วนแบ่ง ตาม แผนที่พิพาท เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 2 ให้ จำเลย จดทะเบียนแบ่งแยก ที่ดิน ตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 1553 (ที่ ถูก เป็น 2553)ตำบล ดอนมัน อำเภอประทาย จังหวัด นครราชสีมา ให้ โจทก์ ทั้ง สาม ตาม ส่วน ภายใน 30 วัน นับแต่ คดีถึงที่สุด หาก ไม่ไป ให้ ถือเอาคำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายก อุทธรณ์ จำเลย
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลยว่า ฟ้องอุทธรณ์ ของ จำเลย มี ทุนทรัพย์ ไม่เกิน ห้า หมื่น บาท ต้องห้ามมิให้ อุทธรณ์ ใน ข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง หรือไม่ คดี นี้ ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า ที่พิพาทเป็น ของ นาย ดำ กิ่งคำ นาย ดำ มิได้ ยก ที่พิพาท ให้ แก่ นาง หนู กิ่งคำ มารดา จำเลย เพียงแต่ มอบ ที่พิพาท ให้ นาง หนู ยึดถือ ไว้ และ ครอบครองแทน จน กระทั่ง นาง หนู ถึงแก่กรรม เท่านั้น นาง หนู ไม่ได้ สิทธิ ครอบครอง ใน ที่พิพาท และ เมื่อ ปี 2521 ได้ มี การ แบ่ง ที่พิพาทออก เป็น 4 แปลง ตาม แผนที่ พิพาท เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 2 โจทก์ทั้ง สาม ต่าง เข้า ครอบครอง ตาม ส่วน ของ ตน แล้ว จำเลย จึง ต้อง จดทะเบียนแบ่งแยก ที่พิพาท ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สาม ตาม ส่วน คิด เป็น ที่ดิน รวมกันเนื้อที่ 18 ไร่ 80 ตารางวา ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก. ) เลขที่ 2553 ตำบล ดอนมัน อำเภอประทาย จังหวัด นครราชสีมา ซึ่ง โจทก์ ตีราคา มา ใน คำฟ้อง เป็น เงิน 54,000 บาทจำเลย อุทธรณ์ ว่า ที่พิพาท ทั้งหมด เป็น ของ นาง หนู มารดา จำเลย โดย นาง หนู ได้รับ ที่พิพาท มาจาก นาย ดำ บิดา ใน ฐานะ เป็น ผู้ดูแล เลี้ยงดู จน กระทั่ง นาย ดำ ถึงแก่กรรม และ นาง หนู ได้ ครอบครอง ทำประโยชน์ เพื่อ ตน ตลอดมา จน ถึงแก่กรรม เมื่อ นาง หนู ถึงแก่กรรม แล้ว จำเลย ได้ ครอบครอง ตลอดมา จน ปัจจุบัน ขอให้ ยกฟ้อง ดังนี้ศาลฎีกา เห็นว่า อุทธรณ์ ของ จำเลย ดังกล่าว เป็น การ โต้เถียง ว่า ที่พิพาท ทั้งหมด มิใช่ ทรัพย์มรดก หาก ข้อเท็จจริง เป็น ดัง ที่ จำเลยอุทธรณ์ จำเลย ย่อม ได้รับ ผล ตาม ข้อต่อสู้ ของ จำเลย ทั้ง คดี จึง เป็น คดีที่พิพาท กัน ใน ชั้นอุทธรณ์ ตาม ราคา ทรัพย์พิพาท คือ 54,000 บาท โดยไม่ แยก ทุนทรัพย์ ตาม ที่ โจทก์ แต่ละ คน เรียกร้อง เมื่อ ที่พิพาท มี ราคาเกินกว่า ห้า หมื่น บาท จึง ไม่ต้องห้าม อุทธรณ์ ใน ปัญหาข้อเท็จจริงที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ไม่รับ วินิจฉัย ให้ ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วยฎีกา จำเลย ฟังขึ้น ”
พิพากษายก คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ให้ ย้อนสำนวน ไป ให้ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียม ในชั้นอุทธรณ์ และ ชั้นฎีกา ให้ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 รวม สั่ง เมื่อ มีคำพิพากษา ใหม่