คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 143/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์มีพยานที่รู้เห็นขณะเกิดเหตุรวม6ปากเบิกความเป็นทำนองเดียวกันว่าไม่เห็นใครเป็นผู้ยิงผู้ตายทั้งตามพฤติการณ์แห่งคดีก็ไม่มีเหตุบ่งชี้ว่าจะเบิกความบ่ายเบี่ยงข้อเท็จจริงเพื่อช่วยเหลือจำเลยประกอบกับขยะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืนซึ่งขณะนั้นพยานโจทก์ทั้งหกมีอาการเมาสุรามากคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งหกจึงมีน้ำหนักเชื่อได้ว่าเบิกความไปตามจริงยิ่งกว่าคำให้การชั้นสอบสวนที่ยืนยันว่าจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายซึ่งเป็นพยานบอกเล่าและจำเลยไม่มีโอกาสได้ซักค้านเมื่อโจทก์ไม่มีพยานอื่นมาประกอบจึงไม่มีน้ำหนักที่จะรับฟังลงโทษจำเลยได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 4 มีนาคม 2533 เวลา กลางคืน หลัง เที่ยงจำเลย ได้ ใช้ อาวุธปืน สั้น ยิง นาย สมใจ แบ่งบุญ จน ถึงแก่ความตาย และ ใช้ อาวุธปืน ดังกล่าว ยิง พยายามฆ่า นาย บุญจริง จันทร์ล่อง ผู้เสียหาย หลาย นัด เหตุ เกิด ที่ ตำบล หงษ์เจริญ อำเภอท่าแซะ จังหวัด ชุมพร ใน วันเกิดเหตุ เจ้าพนักงาน ยึด ได้ ปลอก กระสุนปืน ขนาด .38จำนวน 7 ปลอก เม็ดตะกั่ว หัว กระสุนปืน 2 หัว ซึ่ง จำเลย ใช้ ใน การกระทำผิด กับ เศษ ขวด สุรา แตก 1 ชิ้น จาก ที่เกิดเหตุ เป็น ของกลางขอให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80, 91, 33 ริบปลอก กระสุนปืน และ เม็ด ตะกั่ว หัว กระสุนปืน ของกลาง
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 288 ประกอบ มาตรา 80 การกระทำของ จำเลย เป็น กรรมเดียว ผิด กฎหมาย หลายบท ให้ ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ซึ่ง เป็น บทหนัก ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 จำคุก 20 ปี ริบ ปลอก กระสุนปืน และ เม็ด ตะกั่ว หัว กระสุนปืนของกลาง
โจทก์ อุทธรณ์ ขอให้ เรียง กระทง ลงโทษ
จำเลย อุทธรณ์ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ฐาน ฆ่า ผู้ตาย โดย เจตนา เพียง กระทงเดียว ให้ จำคุก 20 ปี ข้อหา อื่น ให้ยก ฟ้อง นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตามที่ จำเลย ฎีกา ข้อ เดียว ว่า จำเลย เป็น คนร้าย ที่ ใช้ อาวุธปืน ยิง ผู้ตายหรือไม่ โจทก์ มี พยาน ที่ รู้เห็น ขณะ เกิดเหตุ คือ นาย บุญจริง จันทร์ล่อง ผู้เสียหาย นาย ชัยชนะ แบ่งบุญ นาย สมมิตร แบ่งบุญ นาย ประจวบ ประจญกาญจน์ นาย นุกูล แซ่อื้อ และ นาย บุญส่ง คงดำ เบิกความ เป็น ทำนอง เดียว กัน ว่า ขณะ เกิดเหตุ ที่ ผู้ตาย ถูก ยิง นั้นไม่เห็น ว่า ใคร เป็น ผู้ยิง ผู้ตาย แต่ก่อน พนักงานสอบสวน จะ มา ที่เกิดเหตุได้ มี การ ประชุม ปรึกษา กัน ประมาณ 7-8 คน นาย ชัยชนะ ได้ สรุป ว่า จำเลย เป็น ผู้ใช้ อาวุธปืน ยิง ผู้ตาย เมื่อ พนักงานสอบสวน มา ที่เกิดเหตุนาย ชัยชนะ จึง บอก พนักงานสอบสวน ว่า จำเลย เป็น ผู้ใช้ อาวุธปืน ยิง ผู้ตาย พนักงานสอบสวน ได้ สอบสวน พยาน ทั้ง หก ไว้ ปรากฏ ตาม คำให้การชั้นสอบสวน เอกสาร หมาย จ. 1 จ. 2 จ. 4 จ. 5 จ. 6 และ จ. 9 ตามลำดับโดย ผู้เสียหาย ให้การ ใน วันรุ่งขึ้น นาย ชัยชนะ นาย ประจวบ นาย นุกูล และ นาย บุญส่ง ให้การ เมื่อ วันที่ 6 มีนาคม 2533นาย สมมิตร ให้การ เมื่อ วันที่ 13 มีนาคม 2533 พยาน ทั้ง หก ให้การ ชั้นสอบสวน ยืนยัน ว่า เห็น จำเลย ใช้ อาวุธปืน ยิง ผู้ตาย เห็นว่านาย ชัยชนะ เป็น พี่ชาย ผู้ตาย นาย สมมิตร เป็น น้องชาย ผู้ตาย นาย บุญส่ง เป็น ญาติ ผู้ตาย พยาน ทั้ง สาม ดังกล่าว ไม่มี เหตุ ที่ จะ เบิกความ ช่วยเหลือ จำเลย แต่อย่างใด เมื่อ พิเคราะห์ พฤติการณ์ แล้วคดี นี้ เกิดเหตุ เมื่อ เวลา ประมาณ 21 นาฬิกา มี เสียง ปืน ดัง 2 ชุดห่าง กัน ชุด แรก เสียง ปืน ดัง ใน ร้าน บริเวณ หน้า ตู้ เพลง ที่ ผู้ตายถูก ยิง ถึงแก่ความตาย คน ใน ร้าน แตก ตื่น ชุด ที่ สอง เสียง ปืน ดัง นอก ร้านที่ ผู้เสียหาย ถูก ยิง ได้รับ บาดเจ็บ แต่ก่อน เกิดเหตุ พยานโจทก์ บาง ปากได้ ดื่ม สุรา ตั้งแต่ 14 นาฬิกา พยาน บาง ปาก มา ดื่ม สุรา อย่างช้า ที่สุดเวลา 18 นาฬิกา เมื่อ นับ ถึง เวลา ที่เกิดเหตุ อย่างน้อย 3 ชั่วโมงคง ดื่ม สุรา กัน คน ละ จำนวน ไม่ น้อย โดย วิสัย ทั่ว ๆ ไป ย่อม มี อาการ เมาสุราคง จะ ไม่ได้ สนใจ เหตุการณ์ อะไร มาก นัก ใน ช่วง ก่อน เกิดเหตุจะ เห็น ได้ จาก ตัว ผู้เสียหาย เมื่อ เสียง ปืน ดัง ชุด แรก แล้ว ผู้เสียหายยัง คง ฟุบ อยู่ ที่ โต๊ะ ไม่ได้ วิ่ง หลบหนี เช่น บุคคลอื่น ครั้น เมื่อ มีเสียง ปืน ชุด ที่ สอง ยิง เข้า มา ใน ร้าน อีก ผู้เสียหาย ถูก กระสุนปืน ได้รับบาดเจ็บ แสดง ให้ เห็นว่า ผู้เสียหาย เมาสุรา มาก ฉะนั้น พยาน ปาก อื่นคง จะ เมาสุรา ไม่ น้อยกว่า กัน มาก นัก อีก ทั้ง ตาม พฤติการณ์ แห่ง คดี ก็ ไม่มีเหตุ บ่งชี้ ว่า พยานโจทก์ ทั้ง หก จะ เบิกความ บ่ายเบี่ยง ข้อเท็จจริง เพื่อช่วยเหลือ จำเลย คำเบิกความ ของ พยานโจทก์ ทั้ง หก จึง มี น้ำหนัก เชื่อได้ว่า เบิกความ ไป ตาม จริง ยิ่งกว่า คำให้การ ชั้นสอบสวน ของ พยานโจทก์ทั้ง หก ตาม เอกสาร หมาย จ. 1 จ. 2 จ. 4 จ. 5 จ. 6 และ จ. 9 ซึ่ง เป็นพยานบอกเล่า และ จำเลย ไม่มี โอกาส ได้ ซักค้าน จึง มี น้ำหนัก น้อยเมื่อ โจทก์ ไม่มี พยาน อื่น มา ประกอบ จึง ไม่มี น้ำหนัก ที่ จะ รับฟัง ลงโทษจำเลย ได้ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษา ลงโทษ จำเลย มา นั้น ศาลฎีกาไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา จำเลย ฟังขึ้น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก ฟ้องโจทก์ ใน ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 เสีย ด้วย นอกจาก ที่ แก้ คง ให้เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 3

Share