คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 142/2538

แหล่งที่มา : สำนักงาน ส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ในระหว่างจำเลยที่1ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนเกี่ยวกับเรื่องปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยที่1ตกลงหย่าขาดกับภริยาและยกที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่บุตรย่อมเป็นข้อพิรุธว่าเตรียมจะจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินพฤติการณ์ดังกล่าวส่อแสดงว่าจำเลยที่1รู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบการที่จำเลยที่1รู้จักจำเลยที่2มานานจำเลยที่2รับจำนองที่ดินและบ้านพิพาทในระหว่างจำเลยที่1ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนดังกล่าวจึงเป็นการฉ้อฉลโจทก์โจทก์ขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ ระหว่าง เดือน สิงหาคม 2527 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2528 ขณะที่ จำเลย ที่ 1 เป็น ลูกจ้าง โจทก์ ได้ กระทำละเมิด ผิดสัญญา จ้างแรงงาน เป็นเหตุ ให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหายเป็น เงิน ที่ ตรวจ พบ ขณะ สอบสวน จำนวน 1,250,020 บาท ศาลแรงงานกลางได้ มี คำพิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระหนี้ แก่ โจทก์ ตาม ความเสียหายที่ ได้รับ ทั้งหมด ต่อมา วันที่ 28 เมษายน 2530 จำเลย ที่ 1 ได้ นำที่ดิน โฉนด เลขที่ 22100 แขวง บางยี่เรือ (บางไส้ไก่) เขต ธนบุรี (บางกอกใหญ่) กรุงเทพมหานคร พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ของ จำเลย ที่ 1ไป จดทะเบียน จำนอง เป็น ประกัน เงินกู้ ที่ จำเลย ที่ 1 กู้ มาจาก จำเลยที่ 2 ต่อ เจ้าพนักงาน ที่ดิน กรุงเทพมหานคร เป็น เงิน 600,000 บาท โดยเจตนา เพื่อ มิให้ โจทก์ ซึ่ง เป็น เจ้าหนี้ จำเลย ที่ 1 สามารถ บังคับชำระหนี้ เอา จาก ทรัพย์สิน ของ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง จำนอง ไว้ ดังกล่าวโดย จำเลย ที่ 2 ทราบ ดี ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ลูกหนี้ โจทก์ อัน ทำให้โจทก์ ซึ่ง เป็น เจ้าหนี้ จำเลย ที่ 1 อยู่ ก่อน แล้ว เสียเปรียบ ขอให้เพิกถอน การ จดทะเบียน จำนอง ที่ดิน โฉนด เลขที่ 22100 แขวง บางยี่เรือ (บางไส้ไก่) เขต ธนบุรี (บางกอกใหญ่) กรุงเทพมหานคร ระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 2 ฉบับ ลงวันที่ 28 เมษายน 2530 เสีย ทั้งหมดให้ จำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 2 ดำเนินการ จดทะเบียน เพิกถอน การจดทะเบียน สัญญาจำนอง ที่ดิน ดังกล่าว หาก จำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 2ไม่ ดำเนินการ ดังกล่าว ให้ ถือเอา คำพิพากษา เป็น การแสดง เจตนาแทน จำเลย ทั้ง สอง
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า โจทก์ ไม่ได้ เป็น เจ้าหนี้ จำเลย ที่ 1จำเลย ที่ 1 เป็น เจ้าของ ที่ดิน ตาม โจทก์ ฟ้อง โดย ซื้อ มาจาก บริษัท ร่วมถาวรก่อสร้าง (1980) จำกัด เมื่อ พ.ศ. 2525 แล้ว จำนอง ไว้ กับ ธนาคาร กรุงไทย จำกัด ต่อมา จำเลย ที่ 1 กู้เงิน จำเลย ที่ 2เพื่อ ไถ่ถอน จำนอง จาก ธนาคาร กรุงไทย จำกัด และ จำเลย ที่ 1ได้ จำนอง ที่ดิน พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ดังกล่าว กับ จำเลย ที่ 2 ในวันเดียว กัน คือ วันที่ 28 เมษายน 2530 จำเลย ที่ 1 กระทำ ไป โดยสุจริตไม่มี เจตนา ที่ จะ ให้ โจทก์ เสียเปรียบ จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ เป็น หนี้ โจทก์จำเลย ที่ 2 รับ จำนอง ที่ดิน จาก จำเลย ที่ 1 โดยสุจริต ไม่ทราบ ว่าจำเลย ที่ 1 เป็น หนี้ โจทก์ การกระทำ ของ จำเลย ทั้ง สอง ไม่ได้ เป็น การฉ้อฉล โจทก์ คดี โจทก์ ขาดอายุความ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ระหว่าง พิจารณา จำเลย ที่ 1 ถึงแก่กรรม ศาลฎีกา ให้ เรียกนาย สมิทธ์ ร่วมทอง บุตร ของ จำเลย ที่ 1 เข้า มา เป็น คู่ความ แทนที่ จำเลย ที่ 1
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ ตามที่ คู่ความ ไม่ โต้เถียง กัน ใน ชั้นฎีกา ว่า เมื่อ วันที่ 16 เมษายน 2528จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น ลูกจ้าง โจทก์ ได้ ถูก โจทก์ ตั้ง กรรมการ สอบสวนเกี่ยวกับ เรื่อง ที่ จำเลย ที่ 1 กับพวก ปฏิบัติ หน้าที่ โดยมิชอบ ในระหว่าง เดือน สิงหาคม 2527 ถึง เดือน กุมภาพันธ์ 2528 ทำให้ โจทก์ได้รับ ความเสียหาย เป็น เงิน จำนวน 1,250,020 บาท ใน ระหว่าง ที่จำเลย ที่ 1 ถูก สอบสวน อยู่ นั้น จำเลย ที่ 1 ได้ จดทะเบียน หย่าขาด กับภริยา ของ จำเลย ที่ 1 เมื่อ วันที่ 21 เมษายน 2530 ตาม ทะเบียน การ หย่าเอกสาร หมาย ปจ. 4 โดย ระบุ ใน บันทึก การ หย่า ว่า ที่ดิน โฉนดเลขที่ 22100 พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ยกให้ แก่ บุตร ของ จำเลย ที่ 1 ต่อมาวันที่ 28 เมษายน 2530 จำเลย ที่ 1 ได้ จดทะเบียน จำนอง ที่ดินโฉนด เลขที่ 22100 พร้อม สิ่งปลูกสร้าง กับ จำเลย ที่ 2 เพื่อ เป็น ประกันเงินกู้ ที่ จำเลย ที่ 1 กู้ จาก จำเลย ที่ 2 จำนวน 600,000 บาท ตามเอกสาร หมาย ป.จ. 6 จำเลย ที่ 2 เป็น พี่ ของ ภริยา จำเลย ที่ 1 และ สิทธิการ เช่า โทรศัพท์ ใน บ้าน ซึ่ง ปลูก ใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 22100 ก็ เป็นของ จำเลย ที่ 2 วันที่ 16 กรกฎาคม 2530 โจทก์ ได้ มี คำสั่ง เลิกจ้างจำเลย ที่ 1 ให้ จำเลย ที่ 1 กับพวก ร่วมกัน ชดใช้ เงิน จำนวน1,250,020 บาท แก่ โจทก์ ตาม เอกสาร หมาย ป.จ. 2 ต่อมา วันที่1 กันยายน 2531 ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงินจำนวน 1,264,250 บาท แก่ โจทก์ ตาม เอกสาร หมาย ป.จ. 3 ซึ่ง คดีดังกล่าว ถึงที่สุด จำเลย ที่ 1 คง มี ทรัพย์สิน คือ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินโฉนด เลขที่ 22100 ที่ จำเลย ที่ 1 จำนอง กับ จำเลย ที่ 2 และ ที่ดินโฉนด เลขที่ 78562 ที่ จำเลย ที่ 1 จำนอง กับ สิบตรี วุฒิ เสียงเจริญ เท่านั้น
คดี คง มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ว่า การ จำนอง ที่ดิน โฉนด เลขที่22100 ระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 2 เป็น การ ฉ้อฉล ทำให้โจทก์ เสียเปรียบ หรือไม่ เห็นว่า จำเลย ที่ 1 ถูก ตั้ง กรรมการ สอบสวนเกี่ยวกับ เรื่อง ที่ จำเลย ที่ 1 กับพวก ปฏิบัติ หน้าที่ โดยมิชอบ ทำให้โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย เป็น จำนวนเงิน 1,250,020 บาท เมื่อ วันที่16 เมษายน 2528 แสดง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าหนี้ จำเลย ที่ 1 ตั้งแต่เวลา ดังกล่าว แล้ว จำเลย ที่ 1 ย่อม รู้ ดี ว่า จำเลย ที่ 1 ต้อง รับผิดชำระ เงิน จำนวน ดังกล่าว ให้ แก่ โจทก์ การ ที่ จำเลย ที่ 1 ตกลง หย่าขาดกับ ภริยา จำเลย ที่ 1 เมื่อ วันที่ 21 เมษายน 2530 โดย ยก ที่ดินโฉนด เลขที่ 22100 พร้อม บ้าน เลขที่ 494/15 ให้ แก่ บุตร ของ จำเลย ที่ 1ย่อม เป็น ข้อ พิรุธ ว่า จำเลย ที่ 1 เตรียม ที่ จะ จำหน่าย จ่าย โอน ทรัพย์สินของ จำเลย ที่ 1 เพื่อ มิให้ โจทก์ ได้รับ ชำระหนี้ หาก มี การ ฟ้องร้องบังคับคดี เอา แก่ จำเลย ที่ 1 ต่อมา วันที่ 28 เมษายน 2530 จำเลย ที่ 1ยัง ได้ จดทะเบียน จำนอง ที่ดิน โฉนด เลขที่ 22100 พร้อม บ้าน เลขที่ 494/15ซึ่ง จำเลย ที่ 1 อยู่อาศัย ไว้ กับ จำเลย ที่ 2 ด้วย เช่นนี้ พฤติการณ์ดังกล่าว ส่อ แสดง ว่า จำเลย ที่ 1 รู้ อยู่ ว่า จะ เป็น ทาง ให้ โจทก์เสียเปรียบ สำหรับ จำเลย ที่ 2 นั้น โจทก์ นำสืบ ว่า จำเลย ที่ 1 กับจำเลย ที่ 2 รู้ จัก กัน มา นาน และ ได้ความ จาก ทางนำสืบ ของ จำเลย ที่ 2ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น น้องเขย จำเลย ที่ 2 เคย มา ยืมเงิน จำเลย ที่ 2หลาย ครั้ง โดย จำเลย ที่ 1 ได้ นำ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 22100 พร้อม บ้านมา จำนอง เป็น ประกันหนี้ ดังกล่าว และ สิทธิ การ เช่า โทรศัพท์ ใน บ้านซึ่ง ปลูก ใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 22100 ที่ จำเลย ที่ 1 จำนอง กับ จำเลย ที่ 2ก็ เป็น ของ จำเลย ที่ 2 แล้ว กรณี จึง น่าเชื่อ ว่า จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2จะ ต้อง ไป มา หา สู่ กัน และ จำเลย ที่ 2 รู้ ว่า จำเลย ที่ 1 ถูก โจทก์ ตั้งกรรมการ สอบสวน เกี่ยวกับ เรื่อง ที่ จำเลย ที่ 1 กับพวก ปฏิบัติ หน้าที่โดยมิชอบ ทำให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย ดังกล่าว แล้ว ว่า จำเลย ที่ 1อาจจะ ต้อง รับผิด ชำระหนี้ ให้ โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 ก็ ไม่มี ทรัพย์สินอื่น ใด อีก การ ที่ จำเลย ที่ 2 ยัง รับ จำนอง ที่ดิน โฉนด เลขที่ 22100จาก จำเลย ที่ 1 โดย รู้ ถึง ความจริง ดังกล่าว ย่อม เป็น การ รับ จำนองทั้งที่ รู้ อยู่ ว่า จะ เป็น ทาง ให้ โจทก์ เสียเปรียบ ถือได้ว่า เป็น การ รับจำนอง โดย ไม่สุจริต ที่ จำเลย ที่ 2 นำสืบ อ้างว่า จำเลย ที่ 2 ไม่ทราบ มาก่อน ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น หนี้ โจทก์ มา ก่อน วัน จดทะเบียน จำนอง นั้นฟังไม่ขึ้น เมื่อ การ จำนอง ระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 2 เป็นการ ฉ้อฉล โจทก์ แล้ว โจทก์ ย่อม ฟ้อง ขอให้ เพิกถอน การ ฉ้อฉล ดังกล่าวได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ที่ ศาลล่าง ทั้ง สองวินิจฉัย ว่าการ จำนอง ระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 2 ไม่เป็นการ ฉ้อฉล โจทก์ นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา ของ โจทก์ ฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ ให้ เพิกถอน การ จดทะเบียน สัญญาจำนอง ที่ดิน โฉนดเลขที่ 22100 แขวง บางยี่เรือ (บางไส้ไก่) เขตธนบุรี (บางกอกใหญ่) กรุงเทพมหานคร ระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 2 ฉบับ ลงวันที่28 เมษายน 2530 ให้ จำเลย ทั้ง สอง ดำเนินการ จดทะเบียน เพิกถอนการ จดทะเบียน สัญญาจำนอง ที่ดิน ดังกล่าว หาก จำเลย ทั้ง สอง ไม่ ดำเนินการดังกล่าว ให้ ถือเอา คำพิพากษา เป็น การแสดง เจตนา ของ จำเลย ทั้ง สองให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ใช้ ค่าฤชาธรรมเนียม ทั้ง สาม ศาล แทน โจทก์โดย กำหนด ค่า ทนายความ ให้ รวม 2,500 บาท

Share