คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทซึ่งเป็นของกลางที่เจ้าพนักงานป่าไม้จับกุมพร้อมไม้แปรรูปที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่ไม่ปรากฏตัวผู้กระทำผิดรถยนต์พิพาทถูกยึดไว้เป็นของกลางในความผิดตามพระราชบัญญัติ ป่าไม้และอยู่ในความดูแลของเจ้าพนักงานป่าไม้ซึ่งมิใช่ผู้ใต้บังคับบัญชาของจำเลยจำเลยเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนในคดีดังกล่าวดังนี้การที่เจ้าพนักงานป่าไม้เก็บรักษารถยนต์พิพาทไว้เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ที่ให้อำนาจไว้แม้คดีอาญาดังกล่าวจะยังไม่ถึงที่สุดพนักงานสอบสวนยังมีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหาตัวผู้กระทำผิดต่อไปก็ตามแต่การขอคืนของกลางรถยนต์พิพาทต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ.2484มาตรา64ตรีซึ่งบัญญัติไว้เป็นพิเศษกล่าวคือผู้มีอำนาจสั่งคืนของกลางคือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ได้แก่เจ้าพนักงานป่าไม้จำเลยมิใช่ผู้มีอำนาจหรือหน้าที่ในการคืนของกลางรถยนต์พิพาทแก่โจทก์โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ รถยนต์ ใช้ เพื่อ การเกษตรยี่ห้อ คูโบต้า หมายเลข เครื่อง 98204 เป็น คัน ที่ จำเลย ยึด เป็น ของกลาง ใน คดี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ ป่าไม้ พนักงานอัยการ ประจำศาลจังหวัด หล่มสัก มี คำสั่ง แจ้ง งด การ สอบสวน คดี ดังกล่าว โจทก์ ไม่ได้รู้เห็นเป็นใจ ใน การกระทำ ความผิด ได้ ทำ หนังสือ ให้ จำเลย มี คำสั่งคืน รถยนต์ ให้ แก่ โจทก์ จำเลย ปฏิเสธ อ้างว่า โจทก์ ไม่มี สิทธิ เรียกคืนทำให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย ขอให้ บังคับ จำเลย มี คำสั่งส่งมอบ รถยนต์ ดังกล่าว คืน ให้ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรตำบล บ้านกลาง ได้ ยึด รถยนต์ ของ โจทก์ ไว้ เป็น ของกลาง เพื่อ สอบสวน ดำเนินคดี ใน คดี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ ป่าไม้ คดี ดังกล่าว ไม่ปรากฏตัว ผู้กระทำ ความผิด พนักงานสอบสวน จึง มอบ รถยนต์ คัน ของกลางให้ กรมป่าไม้ ไป เก็บรักษา ไว้ รถยนต์ คัน ของกลาง ไม่อยู่ ใน ความ ดูแลของ จำเลย จำเลย จึง ไม่มี อำนาจ สั่ง คืน ให้ โจทก์ หาก โจทก์ ประสงค์จะ ขอรับ รถยนต์ คัน ของกลาง คืน ต้อง ยื่น คำร้องขอ คืน ต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ ของ กรมป่าไม้ ผู้ เก็บรักษา เพื่อ ขออนุมัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และ สหกรณ์ สั่ง คืน โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง จำเลยโจทก์ ไม่ใช่ เจ้าของ กรรมสิทธิ์ รถยนต์ คัน ของกลาง อีก ทั้ง ไม่เคยยื่น คำร้องขอ คืน รถยนต์ คัน ดังกล่าว จาก จำเลย ฟ้องโจทก์ เคลือบคลุมไม่ได้ บรรยาย ว่า จำเลย มี หน้าที่ ต่อ โจทก์ อย่างไร และ โต้แย้ง สิทธิอย่างไร เพียงแต่ กล่าวอ้าง ลอย ๆ ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ รถยนต์ คันของกลาง เท่านั้น ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี คง มี ปัญหาข้อกฎหมาย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ว่า โจทก์ มีอำนาจ ฟ้อง จำเลย ให้ สั่ง คืน รถยนต์ พิพาท แก่ โจทก์ หรือไม่เห็นว่า ใน การ ปฏิบัติ ตาม พระราชบัญญัติ ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ที่ เกี่ยวกับความผิด อาญา นั้น พระราชบัญญัติ ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 64 ให้ ถือว่าเจ้าพนักงาน ป่าไม้ หรือ พนักงานป่าไม้ เป็น พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และ พระราชบัญญัติ ป่าไม้พ.ศ. 2484 มาตรา 64 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติ ไว้ ว่า “ให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจ ยึด บรรดา เครื่องมือ เครื่องใช้ สัตว์พาหนะยานพาหนะ หรือ เครื่องจักรกล ใด ๆ ที่ บุคคล ได้ ใช้ หรือ มีเหตุ อันควรสงสัย ว่า ได้ ใช้ ใน การกระทำ ความผิด หรือ เป็น อุปกรณ์ ให้ ได้รับ ผลใน การกระทำ ความผิด ตาม มาตรา 11 มาตรา 48 มาตรา 54 หรือ มาตรา 69ไว้ เพื่อ เป็น หลักฐาน ใน การ พิจารณา คดี ได้ จนกว่า พนักงานอัยการสั่ง เด็ดขาด ไม่ฟ้อง คดี หรือ จนกว่า คดีถึงที่สุด ทั้งนี้ ไม่ว่า จะ เป็นของ ผู้กระทำ ความผิด หรือ ของ ผู้ มีเหตุ อันควร สงสัย ว่า เป็น ผู้กระทำความผิด หรือไม่ ” ดังนี้ การ ที่ เจ้าพนักงาน ป่าไม้ จังหวัด เพชรบูรณ์เก็บรักษา รถยนต์ พิพาท ไว้ จึง เป็น การปฏิบัติหน้าที่ ตาม บท กฎหมายดังกล่าว ที่ ให้ อำนาจ ไว้ แม้ คดีอาญา ดังกล่าว จะ ยัง ไม่ถึงที่สุดพนักงานสอบสวน ยัง มี หน้าที่ สืบสวน สอบสวน หา ตัว ผู้กระทำผิด ต่อไป ก็ ตามแต่ การ ขอ คืน ของกลาง รถยนต์ พิพาท นั้น ก็ ต้อง เป็น ไป ตาม ที่ พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 64 ตรี ซึ่ง ได้ บัญญัติ ไว้ เป็น พิเศษกล่าว คือ ผู้มีอำนาจ สั่ง คืน ของกลาง คือ พนักงาน เจ้าหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติ ป่าไม้ ได้ แก่ เจ้าพนักงาน ป่าไม้ จังหวัด เพชรบูรณ์โดย อนุมัติ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตร และ สหกรณ์ จำเลย มิใช่ผู้มีอำนาจ หรือ หน้าที่ ใน การ คืน ของกลาง รถยนต์ พิพาท แก่ โจทก์ โจทก์จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง จำเลย
พิพากษายืน

Share