แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
โจทฟ้องขอไห้ลงโทสจำเลยตาม พ.ร.บ. 2 ฉบับ ไนการที่จะวินิฉัยว่าควนลงอาญาที่หนักตามกดหมายฉบับไดนั้นต้องถือตามโทสจำคุกเพราะเปนโทสที่ร้ายแรงกว่าโทสปรับ
ย่อยาว
คดีนี้สาลชั้นต้นพิพากสาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ. สุลกากร ๒๔๖๙ ม.๒ และ ๒๗ พ.ร.บ. สุลกากร ( ฉบับที่ ๖ ) พ.ส. ๒๔๖๙ มาตรา ๓ พ.ร.บ. สุลกากร ( ฉบับที่ ๙ ) พ.ส. ๒๔๘๘ มาตรา ๖ พ.ร.บ. ควบคุมการขนส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาไนราชอานาจักรซึ่งสินค้าบางหย่าง พ.ส. ๒๔๘๒ มาตรา ๓ และ ๙ และพระราชกริสดีกาควบคุมการนำเข้ามาไนราชอานาจักรซึ่งสินค้าบางหย่าง พ.ส. ๒๔๘๕ มาตรา ๓ ฉเพาะจำเลยที่ ๑ มีผิดตาม พ.ร.บ. สุลกากร ๒๔๖๙ มาตรา ๒๑,๓๘ และ ๙๙ อีกด้วย ไห้รวมกะทงลงโทสจำคุกจำเลยที่ ๑ หนึ่งเดือนสิบห้าวัน ปรับ ๖๐๐ บาท กับจำคุกจำเลยที่ ๒ และ ๓ คนละ ๑ เดือน ปรับคนละ ๕๐๐ บาท
จำเลยอุธรน์ สาลอุธรน์ไม่เห็นพ้องด้วยข้อที่สาลชั้นต้นพิพากสาบรับจำเลยโดยแยกปรับเปนรายตัวนั้น จึงพิพากสาแก้ไห้ปรับจำเลยตาม พ.ร.บ. ศุลกากร ๒๔๖๙ มาตรา ๒๗ ซึ่งแก้ไขไหม่ ( ฉบับที่ ๙ ) พ.ส. ๒๔๘๒ มาตรา ๖ คือไห้ปรับจำเลย ๓ คน รวมกันเปนเงิน ๔๕๗ บาท ๕ สตางค์ และไห้ปรับจำเลยที่ ๑ ตามมาตรา ๒๑,๓๘,๓๙ อีกกะทงหนึ่ง ๕๐ บาท นอกนั้นพิพากสายืน
โจทดีกาว่า โจทฟ้องขอไห้ลงโทสจำเลยตาม พ.ร.บ. ๒ ฉบับ และพ.ร.บ. ควบคุมการขนส่ง ฯ วางโทสจำคุกไว้หนักกว่า พ.ร.บ. ศุลกากร แม้โทสปรับไน พ.ร.บ. ศุลกากรจะสูงกว่าก็ตาม ก็ต้องถือตาม พ.ร.บ. ควบคุมการขนส่ง ฯ เปนบทที่หนักกว่า จึงหาได้บัญญัติการปรับจำเลยรวมกันดัง พ.ร.บ. สุลกากรมาตรา ๒๗ ไม่ สาลดีกาเห็นว่าไนการที่จะวินิฉัยว่าบทไดเปนบทที่มีอาญาหนักตามกดหมายอาญามาตรา ๗๐ นั้น ต้องถือโทสจำคุก เพราะโทสจำคุกเปนโทสที่ร้ายแรงกว่าโทสปรับ ดังจะเห็นได้ตามมาตรา ๑๒ กดหมายอาญา จึงพิพากสาแก้ไห้ลงโทสจำเลยคือปรับจำเลยทั้ง ๓ คนละ ๒๐๐ บาท ตามพ.ร.บ. การขนส่งฯ พ.ล. ๒๔๓๒ มาตรา ๙ และปรับจำเลยที่ ๑ ตาม พ.ร.บ.สุลกากร ๒๔๖๙ มาตรา ๒๑,๓๘ และ๙๙ อีก ๕๐ บาท นอกนั้นพิพากสายืน