แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
คดีอาญาราษฎรและอัยยการ ต่างเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในกรณีเหตุอันเดียวกันนั้น ถ้าศาลสั่งให้รวมการพิจารณาคดีเป็นคดีเดียวกันแล้ว การฟังคำพยานหลักฐานก็รวมเป็นคดีเดียวกันได้ ไม่ต้องแยกว่าเป็นพยานของสำนวนไหน
ย่อยาว
สำนวนแรกโจทก์ฟ้องหาว่า นายคอย จำเลยกับพวกสมคบกันปล้นทรัพย์นายน้อย นายอั้วสามีโจทก์ และทำร้ายนายน้อยนายอั้วถึงตาย กับจำเลยแจ้งควาทเท็จต่อเจ้าพนักงานสอบสวนว่า นายน้อย,นายอั้ว ลักโคและต่อสู้เวลาจับกุมจึงถูกฆ่าตาย ขอให้ลงโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา ๒๔๙,๒๕๐,๒๕๒,๒๕๔,๒๕๖,๓๐๑,๑๑๘
สำนวนที่ ๒ อัยยการโจทก์ฟ้องหาว่า นายคอยจำเลยใช้มีดฟันนายน้อยตาย นายฮั้วบาดเจ็บสาหัสโดยเจตนา นายฮั้วตายอีก ๔ วันต่อมา ขอให้ลงโทษตาม ก.มลักษณะอาญา มาตรา ๒๔๙
ศาลไต่สวนมูลฟ้องสำนวนแรกและสั่งคดีมีมูลแล้ว โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยอื่นรวม ๕ คน นอกจากนายคอยจำเลย เพราะอัยยการอ้างพวกเหล่านั้นเป็นพยาน ศาลอนุญาติ คงเหลือเฉพาะนายคอยจำเลย
ศาลชั้นต้นพิจารณาคดี ๒ เรื่องรวมกันแล้ว ฟังว่านายคอยจำเลยกับพวกรวม ๕ คนสมคบกันปล้นทรัพย์ฆ่านายน้อยตายมีความผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม.๓๐๑ ตอนท้ายและ ม.๒๕๐(๕) และผิดฐานเป็นตัวการฆ่านายฮั้วตาย เพื่อเป็นการปกปิดการกระทำผิดตามมาตรา ๘๕๐(๖)พิพากษให้ประหารชีวิตนายคอยจำเลย ส่วนความผิดฐานแจ้งความเท็จให้ยกฟ้อง และฟ้องสำนวนอัยยการ คำพยานอัยยการไม่อยู่ในลักษณะที่จะรับฟังได้ ใครเป็น ผู้ฆ่านายน้อยนายฮั้ว จึงพิจารณายกฟ้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตาม ให้ยกอุทธรณ์+อัยยการ+และนายคอยจำเลย
อัยยการและนายคอยฎีกา. ศาลฎีกาเห็นว่า คดี ๒ สำนวนนี้เป็นกรณีเหตุอันเดียวกัน ศาลชั้นต้นได้สั่งรวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกันฉะนั้นการฟังคำพยานหลักฐานก็ต้องรวมเป็นคดีเดียวกัน เมื่อฟังรวมกันเช่นนี้ หลักฐานก็เพียงพอลงโทษจำเลยได้ทั้ง ๒ สำนวนเป็นคดีเรื่องเดียวกันนั้นเอง จึงพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในข้อที่ยกฟ้องของอัยยการโจทก์ เป็นอันว่า ให้อัยยการโจทก์ชนะคดีนางทับ,นางหมาโจทก์ นอกจากที่แก้พิพากษายืน