แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ใน หนังสือ สัญญาจะซื้อขาย กำหนด ว่า โจทก์ วาง มัดจำ ไว้ เป็น เงิน 500,000 บาท แต่ ใน วัน ทำ สัญญา นั้น มี การ วาง มัดจำ เพียง 150,000 บาท แต่ ใน วัน ทำ สัญญา นั้น มี การ วาง มัดจำ เพียง 150,000 บาท ไม่ครบ ตาม สัญญา เนื่องจาก เช็ค ที่ โจทก์ เป็น ค่า มัดจำ อีก 350,000 บาท ถูก ธนาคาร ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน แม้ การ วาง มัดจำ แต่เพียง อย่างเดียว จะ สามารถ ฟ้องร้อง บังคับ คดี กัน ได้ แล้ว ก็ ตาม แต่เมื่อ คู่สัญญา มี เอกสาร ที่ เป็น หนังสือ จึง ต้อง ผูกพัน กัน ตาม ข้อความ ที่ ทำ เป็น หนังสือ นั้น เมื่อ โจทก์ จำเลย ตกลง กัน ว่า ต้อง วาง มัดจำ เป็น เงิน 500,000 บาท ก็ จะ ต้อง ผูกพัน กัน ตาม นั้น เมื่อ โจทก์ วาง มัดจำ เพียง 150,000 บาท ไม่ครบ ตาม สัญญา จึง ฟังได้ ว่า โจทก์ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา ก่อน ที่ โจทก์ และ ฝ่าย จำเลย จะ ทำ สัญญาจะซื้อขาย โจทก์ และ ฝ่าย จำเลย ได้ เคย ทำ สัญญาซื้อขาย กัน มา 2 ฉบับ แล้ว การ ที่ ได้ ทำ สัญญา เกี่ยวกับ การ ซื้อ ขาย ที่ดิน แปลง เดียว กัน เป็น ฉบับ ใหม่ ขึ้น อีก ก็ สืบเนื่อง มาจาก โจทก์ ผู้จะซื้อ ไม่ชำระ เงิน ตาม ที่ กำหนด ไว้ ใน สัญญา ฉบับ ก่อน ฉะนั้น การ ทำ สัญญาจะซื้อขาย โดย ฝ่าย โจทก์ สั่งจ่าย เช็ค เป็น การ ชำระ เงินมัดจำ ตาม สัญญา ส่วน หนึ่ง นั้น ย่อม เห็น ได้ ใน เบื้องต้น แล้ว ว่า คู่สัญญา มี เจตนา จะ ให้การ ชำระ เงินมัดจำ ตาม จำนวนเงิน และ ตาม วันที่ ลง ใน เช็ค เป็น สาระสำคัญ ของ สัญญา ฉบับ ใหม่ นั้น ทั้ง ยัง มี บันทึก ไว้ ที่ ด้าน บน ด้วย ข้อความ ว่า ต่อเนื่อง จาก สัญญาจะซื้อขาย ฉบับ เดิม แสดง ให้ เห็น วัตถุประสงค์ ของ คู่สัญญา ว่า เจตนา จะ ให้ ถือเอา เรื่อง การ ใช้ เงินมัดจำ ตามเช็ค ดังกล่าว เป็น สาระสำคัญ ของ สัญญา และ แม้ ว่า สัญญาจะซื้อขาย ฉบับ เดิม จะ ไม่ ปรากฎ ข้อความ ว่า ให้ ผู้ขาย บอกเลิก สัญญา ได้ ก็ ตาม แต่ โดย สภาพ หรือ โดย เจตนา ที่ คู่สัญญา ได้ แสดง ไว้ ดังกล่าว ย่อม เห็น ถึง วัตถุประสงค์ ของ คู่สัญญา ว่า หาก โจทก์ ผู้จะซื้อ ผิดสัญญา ไม่ชำระ เงินมัดจำ หรือ ผิดสัญญา ข้อ หนึ่ง ข้อ ใด ฝ่าย จำเลย ผู้จะขาย ย่อม มีสิทธิ บอกเลิก และ ริบ มัดจำ ได้ ทันที เมื่อ ปรากฎ ว่า เช็ค ซึ่ง โจทก์ สั่งจ่าย ชำระ เงินมัดจำ ส่วน หนึ่ง ใช้ เงิน ไม่ได้ ซึ่ง ถือว่า โจทก์ ผิดสัญญา ฝ่าย จำเลย ย่อม บอกเลิก สัญญา และ ริบ เงินมัดจำ เสีย ได้ ตาม ข้อ สัญญา ดังกล่าว ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 โดย จำเลย ไม่ต้อง บอกกล่าว ให้ โจทก์ ชำระหนี้ ภายใน ระยะเวลา ที่ กำหนด ตาม มาตรา 387 แต่อย่างใด และ เมื่อ การ เลิกสัญญา เป็น เพราะ ความผิด ของ ฝ่าย โจทก์ เอง โจทก์ ย่อม ไม่มี สิทธิ เรียก ค่าเสียหาย จาก ฝ่าย จำเลย
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2531 จำเลยที่ 1 และ ที่ 2 ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินโฉนดเลขที่ 417 เนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน88 ตารางวา ราคาตารางวาละ 1,500 บาท รวมราคา2,232,000 บาท ให้แก่โจทก์ กำหนดชำระเงินรวม 3 งาน จำเลยทั้งสองแจ้งให้โจทก์ทราบว่า ที่ดินที่ตกลงจะขายให้โจทก์นี้เป็นที่ดินที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 มีสิทธิรับมรดกร่วมกับจำเลยที่ 3 ที่ 4และที่ 5 ซึ่งตกลงขายที่ดินในส่วนของตนด้วยและจะมาลงลายมือชื่อในสัญญาให้โจทก์ในภายหลัง โจทก์ได้ชำระเงินมัดจำ 50,000 บาทให้จำเลยที่ 1 แล้ว การชำระเงินตามสัญญาจะซื้อขายโจทก์ชำระล่าช้า เพราะจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 โต้เถียงกันในเรื่องผู้รับชำระเงิน ในที่สุดฝ่ายจำเลยได้ตกลงกันให้จำเลยที่ 4 เป็นผู้รับเงิน โจทก์จึงได้ชำระเงินให้จำเลยที่ 4 เป็นเงิน 100,000 บาทรวมชำระจนถึงวันที่ 13 มีนาคม 2532 เป็นเงิน 150,000 บาทต่อมาเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2532 จำเลยทั้งหมดได้ทำสัญญากับโจทก์ใหม่ โดยตกลงนำเงินที่ได้รับชำระแล้ว 150,000 บาท กับเงินที่โจทก์ต้องชำระเพิ่มเติมอีก 350,000 บาท รวม 500,000 บาท เป็นเงินมัดจำในสัญญาจะซื้อขายที่ทำขึ้นใหม่โดยฝ่ายจำเลยให้จำเลยที่ 3 ลงชื่อในสัญญาที่ทำขึ้นใหม่นี้ ฝ่ายจำเลยตกลงว่าจะโอนที่ดินให้โจทก์เมื่อฝ่ายจำเลยได้ดำเนินการรับโอนมรดกที่ดินเรียบร้อยแล้วเงินค่าที่ดินที่เหลือโจทก์จะชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน โจทก์ชำระเงินมัดจำที่ขาดอีก 350,000 บาท โดยจ่ายเป็นเช็ค ต่อมาโจทก์ชำระเงินสดให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 แทน และจำเลยที่ 1 ที่ 3คืนเช็คให้โจทก์แล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการรับโอนมรดกและโอนที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ แต่จำเลยไม่ไปรับโอนมรดกและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์ตามสัญญา ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะโจทก์ตกลงจะขายที่ดินแปลงนี้ให้แก่บุคคลอื่น ทำให้โจทก์ขาดกำไรไป 1,000,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยทั้งห้าร่วมกันโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 417 ให้แก่โจทก์ ถ้าไม่ไปโอนให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย หากจำเลยไม่สามารถโอนที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ก็ให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เงินเงิน 1,500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยทั้งห้าให้การว่า จำเลยทั้งห้าได้ทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์ตามฟ้อง โดยโจทก์วางมัดจำไว้ 50,000 บาท แต่โจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระเงินค่าที่ดินให้ตามกำหนด ต่อมาเมื่อจำเลยทวงถามโจทก์ได้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินให้ 100,000 บาท แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ต่อมาวันที่ 9 มิถุนายน 2532 ได้ทำสัญญากันใหม่ตกลงให้โจทก์วางมัดจำเป็นเงิน 500,000 บาท โดยจ่ายเงินสดให้จำเลย100,000 บาท เป็นการแลกเปลี่ยนเช็คที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินนั้นเมื่อรวมเงินที่วางมัดจำไว้เดิม 50,000 บาท จึงเป็นเงินมัดจำที่ชำระแล้ว 150,000 บาท เงินมัดจำที่ค้างอีก 350,000 บาท โจทก์ออกเช็คสั่งจ่ายเงินให้โดยลงวันที่สั่งจ่าย 13 มิถุนายน 2532นอกจากนี้โจทก์ได้ออกเช็คลงวันที่ 26 มิถุนายน 2532 สั่งจ่ายเงินค่าที่ดินล่วงหน้าให้จำเลยอีก 200,000 บาท แต่ปรากฎว่าเช็คทั้งสองฉบับดังกล่าวธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยจึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์และริบมัดจำ ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 417 ให้โจทก์ โดยให้โจทก์ชำระค่าที่ดินที่ยังค้างชำระจำนวน 2,082,000 บาท ให้จำเลยทั้งห้าในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ถ้าจำเลยทั้งห้าไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา หากไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็ให้จำเลยทั้งห้าคืนเงินมัดจำ 150,000 บาท และใช้ค่าเสียหาย 300,000 บาทให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีจากต้นเงินจำนวนดังกล่าวนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านฟังเป็นยุติว่า เดิมโจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 417 เนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา กับจำเลยที่ 1 ในราคาตารางวาละ 1,500 บาท โดยโจทก์วางเงินมัดจำไว้ 50,000 บาทตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินเอกสารหมาย จ.17 ต่อมาวันที่ 9ธันวาคม 2531 โจทก์และจำเลยทั้งห้าได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินแปลงดังกล่าวกันใหม่ในราคาเดิม โดยถือเอาเงินมัดจำที่จำเลยที่ 1รับไปแล้วเป็นเงินมัดจำตามสัญญาฉบับใหม่กำหนดชำระเงินค่าที่ดินเป็น 3 งวด งวดแรกชำระภายในวันที่ 11 ธันวาคม 2531 เป็นเงิน100,000 บาท งวดที่สองชำระภายในวันที่ 12 มีนาคม 2532 เป็นเงิน100,000 บาท งวดที่สามชำระเงินส่วนที่เหลือทั้งหมดภายในวันที่ 29พฤษภาคม 2532 ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินเอกสารหมาย จ.2 โจทก์คงชำระค่าที่ดินเพียง 100,000 บาท ส่วนที่เหลือก็มิได้ชำระภายในกำหนด ในที่สุดวันที่ 9 มิถุนายน 2532 โจทก์และจำเลยทั้งห้าได้ตกลงทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันใหม่ ในราคาเดิมระบุว่าโจทก์วางเงินมัดจำไว้ 500,000 บาท โดยถือเอาเงิน 150,000 บาท ที่โจทก์ชำระแล้วเป็นสวนหนึ่งของมัดจำ ส่วนที่เหลืออีก 350,000 บาท โจทก์ชำระเป็นเช็คตามเช็คเอกสารหมาย จ.19 กำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเมื่อแบ่งแยกโฉนดที่ดินในนามเดิมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายเอกสารหมาย จ.18 แต่โจทก์ชำระมัดจำไม่ครบเพราะเช็คเอกสารหมาย จ.19ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยทั้งห้าจึงบอกเลิกสัญญาและริบมัดจำ ส่วนโจทก์มีหนังสือยืนยันให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาภายใน1 เดือน มิฉะนั้นโจทก์จะเสียหายขาดกำไรจากการขายให้ผู้อื่นเป็นเงิน 1,000,000 บาท ปัญหาต้องวินิจฉัยข้อแรกว่า การที่โจทก์วางมัดจำไม่ครบที่กำหนดไว้ในหนังสือสัญญาจะซื้อขายเอกสารหมาย จ.18 ทำให้โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ เห็นว่า ในหนังสือสัญญาจะซื้อขายเอกสารหมาย จ.18 กำหนดว่าโจทก์วางมัดจำไว้เป็นเงิน 500,000 บาท แต่ข้อเท็จจริงฟังแล้วว่า ในวันทำสัญญานั้นมีการวางมัดจำเพียง 150,000 บาทไม่ครบตามสัญญาเนื่องจากเช็คที่โจทก์จ่ายเป็นค่ามัดจำอีก 350,000บาท ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน แม้การวางมัดจำแต่เพียงอย่างเดียวจะสามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้แล้วก็ตาม แต่เมื่อคู่สัญญามีเอกสารที่เป็นหนังสือด้วย ก็จะต้องผูกพันกันตามข้อความที่ทำเป็นหนังสือนั้น เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันว่าต้องวางมัดจำเป็นเงิน 500,000 บาทก็จะต้องผูกพันกันตามนั้น เพราะมิฉะนั้นจำเลยอาจไม่ยอมทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับโจทก์ก็ได้เมื่อโจทก์วางมัดจำเพียง 150,000 บาทไม่ครบตามสัญญา จึงฟังได้ว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ปัญหาต่อไปนี้ว่า จำเลยต้องคืนเงินมัดจำและโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายตามฟ้องหรือไม่ โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อนี้ว่า จำเลยยังไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบมัดจำ คดีนี้ ข้อเท็จจริงปรากฎว่า ก่อนที่โจทก์และฝ่ายจำเลยจะทำสัญญาจะซื้อขายเอกสารหมาย จ.18 โจทก์และฝ่ายจำเลยได้เคยทำสัญญาซื้อขายกันมา 2 ฉบับ แล้ว คือสัญญาเอกสารหมาย จ.17 และ จ.2 การที่ได้ทำสัญญาเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินแปลงเดียวกันเป็นฉบับใหม่ขึ้นอีกก็สืบเนื่องมาจากโจทก์ไม่ชำระเงินตามที่กำหนดไว้ในสัญญาฉบับก่อน ฉะนั้น การทำสัญญาจะซื้อขายเอกสารหมาย จ.18 โดยฝ่ายโจทก์สั่งจ่ายเช็ค จ.19 เป็นการชำระเงินมัดจำตามสัญญาส่วนหนึ่งนั้น ย่อมเห็นได้ในเบื้องต้นแล้วว่า คู่สัญญามีเจตนาจะขอสัญญาฉบับใหม่ตามเอกสารหมาย จ.18 นั้น ซึ่งตามสัญญาจะซื้อขายเอกสารหมาย จ.18 ยังมีบันทึกไว้ที่ด้านบนด้วยว่า ต่อเนื่องจากสัญญาฉบับเดิม คือสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.2 สัญญาดังกล่าว ข้อ 1มีข้อตกลงเรื่องการวางมัดจำและกำหนดเวลาชำระเงินที่เหลือไว้เป็นงวด ๆ และสัญญาข้อ 4 มีข้อความว่า “ในกรณีที่ผู้จะซื้อผิดนัดผิดสัญญาประการใด ผู้จะซื้อยอมให้ผู้จะขายริบเงินมัดจำในข้อ 1 ได้ทันทีโดยมิพักต้องบอกกล่าวก่อน” จากการทำสัญญาและมีข้อบันทึกเชื่อมโยงถึงสัญญาฉบับเดิมดังกล่าว แสดงให้เห็นวัตถุประสงค์ของคู่สัญญาว่าเจตนาจะให้ถือเอาเรื่องการใช้เงินมัดจำตามเช็คดังกล่าวเป็นสาระสำคัญของสัญญา และแม้ว่าสัญญาจะซื้อขายเอกสารหมาย จ.2 ข้อ 4 จะไม่ปรากฎข้อความว่าให้ผู้ขายบอกเลิกสัญญาได้ก็ตาม แต่โดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาได้แสดงไว้ดังกล่าวย่อมเห็นถึงวัตถุประสงค์ของคู่สัญญาว่าหากโจทก์ผู้จะซื้อผิดสัญญาไม่ชำระเงินมัดจำ หรือผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด ฝ่ายจำเลยผู้จะขายย่อมมีสิทธิบอกเลิกและริบมัดจำได้ทันที ดังนี้ เมื่อปรากฎว่าเช็คตามเอกสารหมาย 19 ซึ่งเป็นเช็คชำระเงินมัดจำส่วนหนึ่งใช้เงินไม่ได้ซึ่งถือว่าโจทก์ผิดสัญญาดังได้วินิจฉัยแล้วฝ่ายจำเลยย่อมบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำเสียได้ตามข้อสัญญาดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 โดยจำเลยไม่ต้องบอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดตามมาตรา 387 แต่อย่างใดและเมื่อการเลิกสัญญาเป็นเพราะความผิดของฝ่ายโจทก์เอง โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากฝ่ายจำเลยตามฟ้อง พิพากษายืน