คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1320/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

สิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันที่จะไล่เบี้ยเอาจากจำเลยย่อมเกิดมีขึ้นต่อเมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนจำเลยแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา693วรรคหนึ่งการที่โจทก์ยอมผูกพันตนเข้าเป็นลูกหนี้ของเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ของจำเลยอีกคนหนึ่งหาใช่เป็นการที่โจทก์ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เสร็จสิ้นแล้วไม่ทั้งไม่ทำให้หนี้ระหว่างเจ้าหนี้กับจำเลยที่มีอยู่เดิมระงับสิ้นไปเพราะมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลยได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย เป็น นิติบุคคล เดิม ใช้ ชื่อ ว่า บริษัท สยามมิตรประกันภัย จำกัด ต่อมา เปลี่ยน ชื่อ เป็น บริษัท รัตนะ ประกันภัย จำกัด และ เมื่อ วันที่ 13 ตุลาคม 2532 ได้ เปลี่ยน ชื่อเป็น บริษัท แอมบาสซาเดอร์ประกันภัย จำกัด เดิม จำเลย เป็น หนี้ กรมสรรพากร เกี่ยวกับ ค่าภาษี จำนวน หนึ่ง ธนาคาร ทหารไทย จำกัด ได้ เข้า ค้ำประกัน หนี้ ของ จำเลย ดังกล่าว ต่อ กรมสรรพากร ใน ระหว่างการ พิจารณา ของ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ และ โจทก์ เป็น ผู้ค้ำประกันหนี้ ต่าง ๆ ของ จำเลย รวมทั้ง หนี้ ค่าภาษี ดังกล่าว ต่อ ธนาคาร ทหารไทย จำกัด ต่อมา คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ ได้ พิจารณา แล้ว มี คำสั่ง ให้จำเลย นำ เงิน ภาษี และ เงินเพิ่ม จำนวน 944,592.04 บาท พร้อม เงินเพิ่มตาม กฎหมาย ไป ชำระ แก่ กรมสรรพากร แต่ จำเลย ไม่ชำระ ธนาคาร ทหารไทย จำกัด จึง ชำระหนี้ ให้ กรมสรรพากร แทน ไป เป็น เงิน จำนวน 1,198,620.58บาท และ เรียก ให้ โจทก์ ใน ฐานะ ผู้ค้ำประกัน ชำระหนี้ ดังกล่าว แทน จำเลยโจทก์ ชำระหนี้ จำนวน 1,198,620.58 บาท ให้ แก่ ธนาคาร ทหารไทย จำกัด ไป เมื่อ วันที่ 19 มกราคม 2533 โดย วิธี โจทก์ ยอม ผูกพัน ตน เข้า เป็นลูกหนี้ ของ ธนาคาร ทหารไทย จำกัด ใน จำนวนเงิน ดังกล่าว พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 19 มกราคม 2533 ไป จนกว่าจะ ชำระหนี้ จำนวน ดังกล่าว ให้ แก่ ธนาคาร ทหารไทย จำกัด เสร็จ โจทก์ จึง ทวงถาม จำเลย ให้ ชำระ เงิน จำนวน ดังกล่าว แก่ โจทก์ แต่ จำเลย เพิกเฉยขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 1,198,620.58 บาท พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ ว่า นาย มานะ สุขบาง เป็น ผู้ทำสัญญา ขาย หุ้น ของ จำเลย ให้ แก่ นาย ชวลิต ทั่งสัมพันธ์ กับพวก เมื่อ วันที่ 19มิถุนายน 2532 โดย นาย มานะ ได้ สัญญา ว่า หนี้ ค่าภาษี ประจำปี 2523ถึง ปี 2524 ของ จำเลย เป็น เงิน ประมาณ 1,092,347.05 บาท ซึ่ง อยู่ระหว่าง การ พิจารณา ของ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ หาก กรมสรรพากรมี คำสั่ง ให้ จำเลย ต้อง ชำระ ผู้ซื้อ ไม่ต้อง ชดใช้ และ หาก ต้อง ชดใช้ ไปผู้ขาย ยินดี รับผิดชอบ ใช้ ให้ ทั้งหมด เมื่อ นาย ชวลิต กับพวก รับโอน หุ้น มา ก็ ได้ จดทะเบียน เปลี่ยน ชื่อ จำเลย เป็น บริษัท แอมบาสซาเดอร์ ประกันภัย จำกัด หนี้ ค่าภาษี ดังกล่าว จึง เป็น หนี้ ที่ เกิดขึ้น ก่อนนาย ชวลิต กับพวก เข้า มา ดำเนินงาน บริษัท จำเลย และ โจทก์ ก็ ทราบ ดี ว่า หนี้ ดังกล่าว นาย มานะ จะ ต้อง ร่วมกัน รับผิด ชดใช้ ให้ โจทก์ ตาม บันทึก ข้อตกลง การ โอนหุ้น และ จำเลย ได้ มี หนังสือ แจ้ง ให้ นาย มานะ ชำระหนี้ ดังกล่าว แก่ โจทก์ แล้ว จำเลย จึง ไม่ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์และ คำฟ้อง โจทก์ เคลือบคลุม เนื่องจาก โจทก์ ไม่ได้ แสดง หลักฐาน ให้จำเลย เห็นว่า ธนาคาร ทหารไทย จำกัด ได้ ชำระหนี้ ให้ แก่ กรมสรรพากร จริง หรือไม่ และ ธนาคาร ทหารไทย จำกัด ได้ ใช้ สิทธิเรียกร้อง ให้ โจทก์ ใน ฐานะ ผู้ค้ำประกัน ชำระหนี้ ดังกล่าว แทน จำเลย จริง หรือไม่อย่างไร ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น เห็นว่า คดี พอ วินิจฉัย ได้ แล้ว จึง ให้ งดสืบพยานโจทก์ และ พยาน จำเลย แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 1,198,620.58บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 19มกราคม 2533 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย อุทธรณ์ คำสั่ง และ คำพิพากษา
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ใน การ ฟ้องคดี เพื่อ ใช้ สิทธิ ไล่เบี้ยใน ฐานะ ผู้ค้ำประกัน ของ โจทก์ นั้น ปรากฏ ข้อเท็จจริง ตาม คำฟ้อง ว่าโจทก์ ซึ่ง เป็น ผู้ค้ำประกัน การ ชำระหนี้ ของ จำเลย ที่ มี ต่อ ธนาคาร ทหารไทย จำกัด ได้ ชำระหนี้ ให้ แก่ ธนาคาร ทหารไทย จำกัด แทน จำเลย ด้วย วิธี ที่ โจทก์ ยอม ผูกพัน ตน เข้า เป็น ลูกหนี้ ของ ธนาคาร ทหารไทย จำกัด เป็น จำนวน 1,198,620.58 บาท เท่ากับ จำนวน ที่ ธนาคาร ทหารไทย จำกัด ชำระหนี้ ให้ แก่ กรมสรรพากร แทน จำเลย ไป โดย โจทก์ ยอม เสีย ดอกเบี้ยใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน จำนวน ดังกล่าว นับแต่ วันที่ 19มกราคม 2533 เป็นต้น ไป จนกว่า โจทก์ จะ ชำระหนี้ ให้ แก่ ธนาคาร ทหารไทย จำกัด แล้ว เสร็จ พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า สิทธิ ของ โจทก์ ใน ฐานะผู้ค้ำประกัน ที่ จะ ไล่เบี้ย เอา จาก จำเลย นั้น ย่อม จะ เกิด มี ขึ้น ต่อเมื่อโจทก์ ได้ ชำระหนี้ ให้ แก่ เจ้าหนี้ แทน จำเลย แล้ว ดัง ที่ บัญญัติ ไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 693 วรรคหนึ่ง แต่ การ ชำระหนี้ โดย วิธีการ ที่ โจทก์ อ้าง นั้น เป็น เพียง การ ที่ โจทก์ ยอม ผูกพัน ตนเข้า เป็น ลูกหนี้ ของ ธนาคาร ทหารไทย จำกัด เพื่อ ชำระหนี้ ของ จำเลย อีก คนหนึ่ง เท่านั้น หาใช่ เป็น การ ที่ โจทก์ ชำระหนี้ ให้ แก่ ธนาคาร ทหารไทย จำกัด เสร็จสิ้น แล้วแต่ ประการใด ไม่ ทั้ง ไม่ทำ ให้ หนี้ ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ที่ มี อยู่ เดิม ระงับ สิ้นไป เพราะ มิใช่ เป็นการ แปลงหนี้ใหม่ โดย การ เปลี่ยน ตัว ลูกหนี้ ธนาคาร ทหารไทย จำกัด ยัง คง มีสิทธิ เรียกร้อง ให้ จำเลย ชำระหนี้ ดังกล่าว ได้ เช่น เดิม เมื่อตาม คำฟ้อง ไม่ปรากฏ ข้อเท็จจริง ว่า ได้ ชำระหนี้ แทน จำเลย ให้ แก่ ธนาคาร ทหารไทย จำกัด ไป แล้ว หรือไม่ เป็น จำนวน เท่าใด ดังนั้น โจทก์ จึง ยัง ไม่มี สิทธิ ฟ้อง ไล่เบี้ย เอา จาก จำเลย ได้ ซึ่ง เมื่อ ได้ วินิจฉัยดังกล่าว แล้ว ประเด็น ข้อ อื่น ตาม ฎีกา ของ จำเลย จึง ไม่จำต้อง วินิจฉัยที่ ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ให้ จำเลย รับผิด ต่อ โจทก์ นั้นศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ”
พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์

Share