คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1287/2539

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา1(3)ฟ้องแย้งก็เป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งดังนั้นการบรรยายฟ้องแย้งก็ต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองด้วยแต่ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองมิได้บรรยายให้เห็นว่าผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์ไว้แก่โจทก์และผู้ขับรถยนต์คันดังกล่าวในขณะเกิดเหตุมีนิติสัมพันธ์อย่างไรกับผู้เอาประกันภัยอันจะเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดด้วยเมื่อฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองมิได้บรรยายถึงเหตุที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดแล้วโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ต่อเมื่อเป็นวินาศภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบจึงไม่ต้องรับผิดด้วยคำฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงเคลือบคลุม

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ รับประกัน ภัย รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน80-7279 สุพรรณบุรี จำเลย ที่ 1 เป็น ลูกจ้าง หรือ ตัวแทน ของ จำเลย ที่ 2ซึ่ง ขับ รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน 80-8930 สุพรรณบุรี ไป ใน ทางการที่ จ้าง หรือ กิจการ งาน ตาม คำสั่ง ของ จำเลย ที่ 2 ใน ขณะ เกิดเหตุ คดี นี้จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้ครอบครอง และ เป็น นายจ้าง ผู้สั่ง การ ให้ จำเลย ที่ 1ขับ รถยนต์ คัน ดังกล่าว เมื่อ วันที่ 16 ธันวาคม 2532 เวลา 23.05 นาฬิกาจำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์ คัน ดังกล่าว ไป ใน ทางการที่จ้าง หรือ กิจการ งาน ตามคำสั่ง ของ จำเลย ที่ 2 โดย ความประมาท เฉี่ยว ชน รถยนต์ คัน ที่ โจทก์รับประกัน ภัย ได้รับ ความเสียหาย โจทก์ เสีย เงิน ค่าซ่อม และ ค่า อะไหล่เป็น จำนวน 204,000 บาท โจทก์ ชำระ เงิน จำนวน ดังกล่าว ไป แล้วเมื่อ วันที่ 15 พฤษภาคม 2533 จึง เป็น ผู้รับช่วงสิทธิ จาก ผู้ เอาประกันภัย ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน หรือ แทน กัน ชำระ เงินค่าเสียหาย ดังกล่าว พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีดอกเบี้ย นับแต่ วันที่ จ่ายเงิน ถึง วันฟ้อง เป็น จำนวน 7 เดือนคิด เป็น เงิน 8,925 บาท รวมเป็น เงิน 212,925 บาท กับ ดอกเบี้ยจาก ค่าเสียหาย ดังกล่าว ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้องเป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ และ ฟ้องแย้ง ว่า จำเลย ที่ 2 มิใช่นายจ้าง หรือ เป็น ตัวการ ของ จำเลย ที่ 1 มิได้ สั่งการ จำเลย ที่ 1ผู้ขับ รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน 80-8930 สุพรรณบุรี ทั้ง มิได้เป็น ผู้ครอบครอง หรือ มี ประโยชน์ เกี่ยวข้อง กับ รถยนต์ คัน ดังกล่าวเหตุ ที่ รถยนต์ ทั้ง สอง คัน เกิด เฉี่ยว ชนกัน มิได้ เกิดจาก ความประมาท ของจำเลย ที่ 1 แต่ เกิดจาก ผู้ขับ รถยนต์ คัน ที่ โจทก์ รับประกัน ไว้ โจทก์จึง มิใช่ ผู้รับช่วงสิทธิ ที่ จะ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สอง คดี โจทก์ ขาดอายุความเพราะ โจทก์ เพิ่ง นำ มา ฟ้อง เมื่อ วันที่ 17 ธันวาคม 2533 เกินกว่า1 ปี ค่าเสียหาย ที่ โจทก์ เรียกร้อง สูง เกินควร ค่าซ่อม อย่าง สูง ไม่เกิน80,000 บาท เนื่องจาก โจทก์ เป็น ผู้รับประกันภัย รถยนต์ คัน หมายเลขทะเบียน 80-7279 สุพรรณบุรี เพื่อ ความ บาดเจ็บ หรือ มรณภาพหรือ ความเสียหาย ต่อ ทรัพย์สิน ของ บุคคลภายนอก อัน เนื่องมาจากอุบัติเหตุ จาก การ ใช้ รถยนต์ ภายใน ระยะเวลา ประกันภัย ซึ่ง ผู้ เอาประกันภัย จะ ต้อง รับผิดชอบ ตาม กฎหมาย เมื่อ เหตุ ที่ เกิดขึ้น เนื่องจากความประมาท ของ ผู้ขับ รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน 80-7279 สุพรรณบุรีโจทก์ ใน ฐานะ ผู้รับประกันภัย จึง ต้อง รับผิด ใช้ ค่าเสียหาย แก่ ทรัพย์สินของ จำเลย ทั้ง สอง ขอให้ ยกฟ้อง ให้ โจทก์ ใช้ ค่ารักษาพยาบาลกับ ค่าขาดประโยชน์ อันควร ได้รับ จาก การ ใช้ รถยนต์ ดังกล่าว รวมเป็น เงิน241,370 บาท แก่ จำเลย ที่ 1 ค่าซ่อม รถยนต์ คัน เกิดเหตุ ให้ แก่ จำเลยที่ 2 เป็น เงิน 221,365 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละเจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จาก ต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่ วันเกิดเหตุ จนกว่า จะชำระ เสร็จ
โจทก์ ให้การ แก้ฟ้อง แย้ง ว่า ความรับผิด ของ โจทก์ ตาม สัญญาประกันภัย เกี่ยวกับ ความ บาดเจ็บ หรือ มรณะ ของ บุคคลภายนอก ไม่เกิน50,000 บาท ต่อ คน รวม แล้ว ไม่เกิน 250,000 บาท ต่อ การ เกิดเหตุ1 ครั้ง ความเสียหาย ต่อ ทรัพย์สิน ของ บุคคลภายนอก ไม่เกิน 250,000 บาทต่อ การ เกิดเหตุ 1 ครั้ง ฉะนั้น หาก ศาล ฟัง ว่า โจทก์ จะ ต้อง รับผิด ต่อจำเลย ทั้ง สอง โจทก์ ก็ รับผิด ต่อ ความ บาดเจ็บ ของ จำเลย ที่ 1 ใน วงเงินไม่เกิน 50,000 บาท และ ความรับผิด เกี่ยวกับ ทรัพย์สิน ของ จำเลยทั้ง สอง รวม แล้ว ไม่เกิน 250,000 บาท จำเลย ที่ 1 เป็น ลูกจ้างซึ่ง ขับ รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน 80-8930 สุพรรณบุรี ใน ทางการที่จ้างของ จำเลย ที่ 2 ใน ขณะ เกิดเหตุ และ ไม่มี ส่วนได้เสีย หรือ มี กรรมสิทธิ์หรือ มีสิทธิ ครอบครอง หรือ ใช้ ประโยชน์ ใน รถยนต์ คัน ดังกล่าว จำเลย ที่ 1จึง ไม่อาจ ฟ้อง เรียก ค่าขาดประโยชน์ ได้ รถยนต์ คัน ดังกล่าว เสียหายไม่เกิน 10,000 บาท ฟ้องแย้ง ของ จำเลย ทั้ง สอง ขาดอายุความ ฟ้องแย้งไม่ปรากฏ ว่า ผู้เอาประกันภัย รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน 80-7279สุพรรณบุรี จะ ต้อง รับผิด ต่อ จำเลย ทั้ง สอง เพราะ เหตุใด ฟ้องแย้งจึง เคลือบคลุม
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ โจทก์ ใช้ ค่าเสียหายใน ส่วน ของ ฟ้องแย้ง แก่ จำเลย ที่ 1 เป็น เงิน 34,370 บาท จำเลย ที่ 2เป็น เงิน 100,000 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย จาก ต้นเงิน ดังกล่าวใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 16 ธันวาคม 2532ซึ่ง เป็น วันเกิดเหตุ ละเมิด เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก ฟ้องโจทก์ และยกฟ้อง แย้ง ของ จำเลย ทั้ง สอง ด้วย
โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1(3) ฟ้องแย้ง ก็ เป็น “คำฟ้อง ” อย่างหนึ่ง ดังนั้น การบรรยายฟ้อง แย้ง ก็ ต้อง แสดง โดย แจ้งชัด ซึ่ง สภาพแห่งข้อหา และ คำขอบังคับทั้ง ข้ออ้าง ที่อาศัย เป็น หลักแห่งข้อหา เช่นว่า นั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง ด้วย แต่ตาม ฟ้องแย้ง ของ จำเลย ทั้ง สอง มิได้ บรรยาย ให้ เห็นว่า ผู้ใดเป็น ผู้เอาประกันภัย รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน 80-7229 สุพรรณบุรีไว้ แก่ โจทก์ และ ผู้ขับ รถยนต์ คัน ดังกล่าว ใน ขณะ เกิดเหตุ มีนิติสัมพันธ์ อย่างไร กับ ผู้เอาประกันภัย อัน จะ เป็นเหตุ ให้ ผู้ เอาประกันภัย ต้อง ร่วมรับผิด ด้วย เมื่อ ฟ้องแย้ง ของ จำเลย ทั้ง สอง มิได้บรรยาย ถึง เหตุ ที่ ผู้เอาประกันภัย ต้อง รับผิด แล้ว โจทก์ ใน ฐานะผู้รับประกันภัย ค้ำจุน ซึ่ง จะ ต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ก็ ต่อเมื่อเป็น วินาศภัย ซึ่ง ผู้เอาประกันภัย ต้อง รับผิดชอบ จึง ไม่ต้อง รับผิด ด้วยคำฟ้อง แย้ง ของ จำเลย ทั้ง สอง จึง เคลือบคลุม ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายกฟ้อง โจทก์ และ ฟ้องแย้ง ของ จำเลย ทั้ง สอง มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วยฎีกา ของ โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สอง ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน

Share