แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
พระราชบัญญัติญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯมาตรา106ให้อำนาจศาลพิพากษารอการกำหนดโทษได้แม้ว่าจะกำหนดโทษจำคุกเกินกว่า2ปีและปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีไม่อาจรอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษได้จึงไม่ชอบส่วนที่จำเลยทั้งสามฎีกาขอให้ศาลฎีการอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษแม้จะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยให้เนื่องจากเป็นฎีกาที่เกี่ยวพันกับปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ทั้ง สาม กับพวก อีก 1 คน ได้ ร่วมกัน ใช้ กำลังประทุษร้าย และ ข่มขืน กระทำ ชำเรา นางสาว ร. ผู้เสียหาย ใน ลักษณะ โทรมหญิง และ หน่วงเหนี่ยว กักขัง ไม่ให้ ออก ไป จาก บ้าน ที่เกิดเหตุทำให้ ผู้เสียหาย ปราศจาก เสรีภาพ ใน ร่างกาย ขอให้ ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 276 วรรคสอง , 310
จำเลย ทั้ง สาม ให้การรับสารภาพ
ระหว่าง พิจารณา นางสาว ร. ผู้เสียหาย ยื่น คำร้องขอ เข้าร่วม เป็น โจทก์ ศาลชั้นต้น อนุญาต
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย ทั้ง สาม มี ความผิด ตาม ประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 83, 276 วรรคสอง กระทง หนึ่ง และ มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 310 อีก กระทง หนึ่ง ขณะ กระทำผิด จำเลยที่ 1 อายุ 17 ปี เศษ (ที่ ถูก เป็น 16 ปี เศษ ) จำเลย ที่ 2 อายุ 15ปี เศษ และ จำเลย ที่ 3 อายุ 17 ปี เศษ ยัง เป็น เยาวชน ผู้ปกครองจำเลย ทั้ง สาม มา ศาล และ แถลง ขอ โอกาส ที่ จะ อบรม สั่ง สอน ไม่ให้ จำเลยทั้ง สาม ประพฤติ ตัว เช่นนี้ อีก จำเลย ทั้ง สาม สำนึก ผิด และ ชดใช้ เงินเป็น ค่าเสียหาย ให้ แก่ โจทก์ร่วม จน โจทก์ร่วม แถลง ไม่ติดใจ เอาความ ในทางแพ่ง จึง เห็นสมควร ให้ โอกาส จำเลย ทั้ง สาม โดย ให้ รอการกำหนดโทษไว้ มี กำหนด คน ละ 3 ปี นับแต่ วัน พิพากษา ระหว่าง รอการกำหนดโทษให้ คุม ความประพฤติ จำเลย ทั้ง สาม โดย ห้าม คบ เพื่อน ชั่ว ห้าม เสพ ยาเสพติดสิ่ง มึนเมา ให้ โทษ ทุก ชนิด ห้าม เที่ยวเตร่ ยาม วิกาล ห้าม เล่น การพนันให้ ตั้งใจ ทำงาน หรือ เรียน หนังสือ เป็น กิจจะลักษณะ ให้ ทำงาน รับ ใช้ สังคมใน ความ ดูแล ของ สำนักงาน คุมประพฤติ กลาง คน ละ 10 ครั้ง และ ให้ รายงาน ตัวต่อ พนักงานคุมประพฤติ 3 เดือน ต่อ ครั้ง จน ครบ กำหนด 3 ปี
โจทก์ร่วม อุทธรณ์ ขอให้ กำหนด โทษ และ ลงโทษ จำเลย ทั้ง สาม
ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 มีอัตราโทษ จำคุก ขั้นต่ำ ตั้งแต่ 15 ปี ขึ้น ไป คดี จึง ไม่อาจ รอการกำหนดโทษหรือ รอการลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ได้ พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย ทั้ง สาม มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276วรรคสอง และ มาตรา 310 วรรคแรก การกระทำ ของ จำเลย ทั้ง สาม เป็นกรรมเดียว เป็น ความผิด ต่อ กฎหมาย หลายบท ให้ ลงโทษ ตาม มาตรา 276วรรคสอง ซึ่ง เป็น บทหนัก ขณะ กระทำ ความผิด จำเลย ที่ 1 อายุ 16ปี เศษ จำเลย ที่ 2 อายุ 15 ปี เศษ ลด มาตรา ส่วน โทษ ให้ คน ละ กึ่งหนึ่งตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75 และ 76 ตามลำดับ จำคุก จำเลย ทั้ง สามคน ละ 7 ปี 6 เดือน จำเลย ทั้ง สาม ให้การรับสารภาพ เป็น ประโยชน์แก่ การ พิจารณา และ ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ แก่ โจทก์ร่วม อันเป็น การ พยายามบรรเทา ผล ร้าย และ รู้ สำนึก ใน ความผิด มีเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษ ให้คน ละ กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คง จำคุก จำเลย ทั้ง สามคน ละ 3 ปี 9 เดือน จำเลย ทั้ง สาม กระทำ ความผิด เป็น ครั้งแรก และ เป็นเยาวชน อยู่ ยัง มี โอกาส กลับ ตน เป็น คนดี จะ ได้ไม่ เป็น ภาระ แก่ สังคมใน ภายหน้า จึง ให้ โอกาส แก่ จำเลย ทั้ง สาม โดย นำ วิธีการ สำหรับ เด็ก และเยาวชน มา ใช้ แทน การ ลงโทษ จำคุก จึง ให้ ส่งตัว จำเลย ทั้ง สาม ไปควบคุม เพื่อ ฝึก และ อบรม ยัง สถาน ฝึกอบรม ของ สถานพินิจ และ คุ้มครองเด็ก และ เยาวชน กลาง มี กำหนด ระยะเวลา ขั้นต่ำ คน ละ 1 ปี 6 เดือนและ ขั้น สูง คน ละ 3 ปี ตาม พระราชบัญญัติ จัดตั้ง ศาล เยาวชน และ ครอบครัวและ วิธีพิจารณา คดี เยาวชน และ ครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104(2), 105
จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดี เยาวชน และ ครอบครัว วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษา ให้ ส่งตัว จำเลย ทั้ง สาม ไป ควบคุม เพื่อ ฝึก และ อบรม ยัง สถาน ฝึกอบรมของ สถานพินิจ และ คุ้มครอง เด็ก และ เยาวชน กลาง มี กำหนด ระยะเวลา ขั้นต่ำคน ละ 1 ปี 6 เดือน และ ขั้น สูง คน ละ 3 ปี ตาม พระราชบัญญัติ จัดตั้งศาล เยาวชน และ ครอบครัว และ วิธีพิจารณา คดี เยาวชน และ ครอบครัวพ.ศ. 2534 มาตรา 104(2), 105 คดี จึง ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ตาม พระราชบัญญัติ จัดตั้ง ศาล เยาวชน และ ครอบครัว และ วิธีพิจารณา คดี เยาวชน และ ครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 124 และ 121แต่ ที่ จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา ว่า ศาลชั้นต้น มีอำนาจ พิพากษา รอการกำหนดโทษเป็น ฎีกา ใน ปัญหาข้อกฎหมาย ไม่ต้องห้าม ฎีกา นั้น ศาลฎีกา เห็นว่าตาม พระราชบัญญัติ จัดตั้ง ศาล เยาวชน และ ครอบครัว และ วิธีพิจารณา คดีเยาวชน และ ครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 106 ให้ อำนาจศาล เยาวชนและ ครอบครัว ที่ จะ พิพากษา รอการกำหนดโทษ ได้ แม้ ว่า ศาล จะ กำหนด โทษจำคุก เกินกว่า 2 ปี ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่าคดี ไม่อาจ รอการกำหนดโทษหรือ รอการลงโทษ นั้น ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา ข้อ นี้ของ จำเลย ทั้ง สาม ฟังขึ้น
ส่วน ที่ จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา ขอให้ ศาลฎีกา รอการกำหนดโทษ หรือ รอการ ลงโทษ แม้ ปัญหา นี้ จะ เป็น ปัญหาข้อเท็จจริง และ ต้องห้าม ฎีกาศาลฎีกา ก็ มีอำนาจ วินิจฉัย ให้ เนื่องจาก เป็น ฎีกา ที่ เกี่ยวพัน กัน กับปัญหาข้อกฎหมาย ดังกล่าว ข้างต้น ตาม นัย แห่ง คำพิพากษา ศาลฎีกา ที่2219/2527 ระหว่าง พนักงานอัยการ จังหวัด พิษณุโลก โจทก์ นาย สงวน สาดสี จำเลย ขณะ กระทำ ความผิด จำเลย ที่ 1 อายุ 16 ปี เศษ จำเลย ที่ 2 อายุ 15 ปี เศษ และ จำเลย ที่ 3 อายุ 17 ปี เศษ ยัง เป็นเยาวชน จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ถูก ควบคุม อยู่ ใน สถานพินิจ ตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2535 จน ถึง วันที่ 7 กันยายน 2536 นับ ว่า เป็น เวลานาน พอ ที่ จะ หลา บจำ แล้ว ประกอบ กับ ผู้ปกครอง ของ จำเลย ทั้ง สาม มาศาลชั้นต้น และ แถลง ขอ โอกาส ที่ จะ อบรม สั่ง สอน ไม่ให้ จำเลย ทั้ง สามประพฤติ ตัว เช่นนี้ อีก จำเลย ทั้ง สาม สำนึก ผิด และ ชดใช้ เงิน เป็นค่าเสียหาย ให้ แก่ โจทก์ร่วม จน โจทก์ร่วม แถลง ไม่ติดใจ เอาความ ใน ทางแพ่งกรณี เห็นสมควร ให้ โอกาส จำเลย ทั้ง สาม สักครั้ง เพื่อ กลับ ตัว เป็นพลเมือง ดี ของ ชาติ ต่อไป จึง ให้ รอการกำหนดโทษ จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา ของจำเลย ทั้ง สาม ฟังขึ้น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ รอการกำหนดโทษ และ คุมประพฤติ จำเลย ทั้ง สามตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์