คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1256/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งเจ็ดบุกรุกที่พิพาทของโจทก์ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา362,365(2)และบังคับให้ขับไล่จำเลยทั้งเจ็ดและให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายในส่วนคดีแพ่งถือเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่พอฟังว่าจำเลยทั้งเจ็ดบุกรุกที่ดินโจทก์ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยวินิจฉัยว่าคดีฟังไม่ได้แน่ชัดว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์คดีอาญาจึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา220ส่วนคดีแพ่งศาลฎีกาจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามมาตรา46ซึ่งเท่ากับศาลอุทธรณ์ฟังว่าที่พิพาทไม่ใช่ของโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งเจ็ด

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ทั้ง เจ็ด ได้ ร่วมกัน บุกรุก เข้า ไป ใน ที่ดินอันเป็น กรรมสิทธิ์ ของ โจทก์ ตาม โฉนด เลขที่ 555 ขอให้ ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362, 365(2) และ บังคับ ให้ จำเลย ทั้ง เจ็ดร่วมกัน ขนย้าย เสา รั้ว คอนกรีตเสริมเหล็ก กับ กระถาง ดิน ปลูก ต้น ไม้ออก ไป จาก ที่ดิน ของ โจทก์ ห้าม จำเลย ทั้ง เจ็ด และ บริวาร เกี่ยวข้องอีก ต่อไป และ ให้ ร่วมกัน ชดใช้ ค่าเสียหาย จำนวน 337,500 บาท แก่ โจทก์กับ ค่าเสียหาย อีก เดือน ละ 5,000 บาท นับ ตั้งแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไปจนกว่า จะ ทำให้ ที่ดิน ของ โจทก์ อยู่ ใน สภาพ เดิม
ศาลชั้นต้น ไต่สวน มูลฟ้อง แล้ว เห็นว่า คดี มีมูล ให้ ประทับ ฟ้องและ สั่ง ให้ รับฟ้อง ใน ส่วน แพ่ง ด้วย
จำเลย ทั้ง เจ็ด ให้การ ปฏิเสธ ว่า มิได้ รุกล้ำ ที่ดิน ของ โจทก์และ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ฟ้องแย้ง ว่า ที่ดิน ตาม โฉนด เลขที่ 555 ของ โจทก์อยู่ ทาง ทิศตะวันตก ของ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 326 ซึ่ง เป็น ที่ดิน ของจำเลย ที่ 1 ที่ 2 โจทก์ ได้ รุกล้ำ เข้า มา ทำประโยชน์ ใน ที่ดิน ของจำเลย ที่ 1 ที่ 2 เป็น เนื้อที่ ประมาณ 25 ตารางวา ขอให้ ยกฟ้องและ บังคับ โจทก์ กับ บริวารขนย้าย สิ่งของ ออก ไป จาก ที่ดิน ของ จำเลย ที่ 1ที่ 2 ตาม โฉนด เลขที่ 326 ห้าม โจทก์ ยุ่ง เกี่ยวกับ ที่ดิน ดังกล่าวอีก ต่อไป กับ ให้ โจทก์ ชดใช้ ค่าเสียหาย เดือน ละ 5,000 บาท แก่ จำเลยที่ 1 ที่ 2 นับ จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า โจทก์ จะ ขนย้ายสิ่งของ ออก ไป
โจทก์ ให้การ แก้ฟ้อง แย้ง ว่า ที่ดิน ตาม ฟ้องแย้ง นั้น โจทก์ ได้ครอบครอง โดย ความสงบ และ เปิดเผย ด้วย เจตนา เป็น เจ้าของ ติดต่อ กันเกินกว่า 30 ปี โดย ไม่มี ใคร คัดค้าน จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ไม่มี สิทธิเรียก ค่าที่ดิน และ ค่าเสียหาย จาก โจทก์ ขอให้ ยกฟ้อง แย้ง
ระหว่าง พิจารณา โจทก์ ถึงแก่กรรม นางสาว สมนึก ข้องรักสัตย์ บุตรสาว ของ โจทก์ ร้องขอ เข้า ดำเนินคดี ต่าง โจทก์ ผู้ตาย ศาลชั้นต้นอนุญาต
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้องโจทก์ และ ฟ้องแย้ง ของ จำเลย ที่ 1 ที่ 2
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา ศาลชั้นต้น สั่ง รับ ฎีกา เฉพาะ ใน คดี ส่วน แพ่งสำหรับ คดี ส่วน อาญา สั่ง ไม่รับ เพราะ ต้องห้าม ฎีกา ตาม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “เห็นว่า คดี นี้ เป็น คดีแพ่ง เกี่ยวเนื่องกับ คดีอาญา ที่ โจทก์ กล่าวหา ว่า จำเลย บุกรุก ที่พิพาท ของ โจทก์ซึ่ง มี ประเด็น สำคัญ จะ ต้อง วินิจฉัย ใน คดี ส่วน อาญา ว่า ที่พิพาท เป็นของ โจทก์ หรือไม่ และ ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง โดย วินิจฉัย ว่าพยานหลักฐาน โจทก์ ไม่พอ ฟัง ว่า จำเลย ทั้ง เจ็ด บุกรุก ที่ดิน โจทก์ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน โดย วินิจฉัย ว่า คดี ฟัง ไม่ได้ แน่ชัด ว่าที่พิพาท เป็น ของ โจทก์ หรือ โจทก์ มีสิทธิ ครอบครอง โจทก์ ฎีกา ทั้ง คดีแพ่งและ คดีอาญา ศาลชั้นต้น สั่ง ไม่รับ ฎีกา ใน คดี ส่วน อาญา เพราะ ต้องห้ามฎีกา ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220คดีอาญา จึง ยุติ ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ คดี มี ปัญหา มา สู่ ศาลฎีกาเฉพาะคดี แพ่ง ว่า ที่พิพาท เป็น ของ โจทก์ หรือไม่ ซึ่ง ใน การ พิพากษาคดีส่วน แพ่ง ศาล จำต้อง ถือ ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ปรากฏ ใน คำพิพากษา คดีส่วน อาญา ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 เมื่อข้อเท็จจริง ใน คดี ส่วน อาญา ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ไว้ เป็น ที่ ยุติ แล้ว ว่าคดี ฟัง ไม่ได้ แน่ชัด ว่า ที่พิพาท เป็น ของ โจทก์ หรือ ที่ โจทก์ ครอบครอง มาซึ่ง เท่ากับ เป็น การ ฟัง ว่า ที่พิพาท ไม่ใช่ ของ โจทก์ ดังนั้น ใน คดีส่วน แพ่ง จึง ฟัง ไม่ได้ ว่า ที่พิพาท เป็น ของ โจทก์ โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิฟ้องขับไล่ และ เรียก ค่าเสียหาย จาก จำเลย ทั้ง เจ็ด คำพิพากษา ศาลล่างทั้ง สอง ชอบแล้ว ฎีกา ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share