แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยขัดคำสั่งนายอำเภอที่สั่งให้จำเลยออกจากหนองสาธารณะตาม พ.ร.บ.ปกครองท้องที่ ขอให้ลงโทษตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 334(2) จำเลยต่อสู้ว่า ที่พิพาทไม่ใช่หนองสาธารณะ หากเป็นที่ของจำเลยมีกรรมสิทธิ
ศาลชั้นต้นฟังว่า ที่พิพาทไม่ใช่หนองสาธารณะ จึงพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ฟังว่าที่พิพาทเป็นหนองสาธารณะ แต่คงเห็นว่าจำเลยไม่ผิดในทางอาญา จึงพิพากษายืนให้ยกฟ้อง ดังนี้ดดจำเลยจะฎีกาให้ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ว่าที่พิพาทไม่ใช่หนองสาธารณะ ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยให้ โดยเห็นว่าประเด็นข้อขัดคำสั่งทางอาญานั้นได้ยุติลงแล้วคู่ความชอบที่จะโต้แย้งกันในทางแพ่งได้ว่า หนองพิพาทเป็นหนองสาธารณะหรือไม่
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า นายอำเภอได้ออกคำสั่งให้จำเลยออกจากหนองสระพัง ซึ่งเป็นหนองสาธารณะประโยชน์ อันจำเลยได้ทำนาอยู่ จำเลยทราบคำสั่งแล้ว กลับขัดขืน ขอให้ลงโทษตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา ๓๓๔(๒)
จำเลยให้การต่อสู้ว่า ที่พิพาทเป็นนาของผู้มีชื่อ ขายให้จำเลยครอบครองถือกรรมสิทธิมา ๑๕ ปีแล้ว
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่ซึ่งโจทก์ว่าจำเลยบุกรุก ไม่ใช่ที่หนองสาธารณะ จึง พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ฟังว่า จำเลยบุกรุกเขตหนองสระพังอันเป็นหนองสาธารณะประโยชน์จริง แต่ตามรูปคดีเป็นเรื่องโต้แย้งสิทธิในที่ดินทางข้อเท็จจริง หากทางราชการประสงค์จะขับไล่จำเลย ก็ฟ้องร้องได้ในทางแพ่ง จำเลยยังหามีความผิดในทางอาญาไม่ จึงพิพากษายืนเฉพาะข้อที่ยกฟ้อง
จำเลยฎีกามีใจความว่า ที่ดินซึ่งโจทก์ฟ้องไม่ใช่เป็นหนองสาธารณะ
ศาลฎีกาเห็นว่า ประเด็นแห่งคดีเรื่องนี้อยู่ทีจำเลยได้กระทำผิดฐานคำสั่งเจ้าพนักงานจริงหรือไม่ทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิดต้องกันมา คดีอาญาบุติเะียงศาลอุทธรณ์ ส่วนข้อวินิจฉัยที่ว่าหนองรายพิพาทเป็นฟนองสาธารณะหรือไม่ เป็นมูลเหตุแห่งคดีอาญาเท่านั้น เมื่อจำเลยไม่ได้ขัดคำสั่ง ก็ต้องว่ากล่าวกันใหม่ คู่ความชอบที่จะโต้แย้งกันในทางแพ่งได้ว่า หนองรายพิพาทเป็นหนองสาธารณะหรือไม่ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
ให้ยกฎีกจำเลยา