แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
โจทก์ฎีกาได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายการวินิจฉัยปัญหาเช่นว่านี้ศาลฎีกาจึงต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา640และมาตรา650ลักษณะ9เรื่องยืมเป็นกรณีที่ผู้ให้ยืมให้ผู้ยืมใช้สอยทรัพย์สินที่ยืมเพื่อประโยชน์ของผู้ยืมหาใช่เพื่อประโยชน์ของผู้ให้ยืมไม่การที่โจทก์ผู้ให้ยืมให้จำเลยยืมเงินไปเป็นการทดรองเพื่อให้จำเลยนำไปใช้สอยในกิจการของโจทก์เป็นประโยชน์ของโจทก์ผู้ให้ยืมเองรูปเรื่องจึงปรับเข้าด้วยลักษณะ9เรื่องยืมแห่งบทบัญญัติกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ได้สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยจึงผูกพันกันในลักษณะอื่นโดยเฉพาะต้องพิจารณาเจตนารมณ์ระหว่างคู่กรณีมุ่งผูกพันกันแค่ไหนอย่างไรการที่จำเลยลงชื่อในใบยืมเงินทดรองของโจทก์นั้นได้กระทำไปโดยตำแน่งหน้าที่ของจำเลยในฐานะพนักงานของโจทก์ในขอบเขตแห่งหน้าที่ของตนตามระเบียบแบบแผนของโจทก์ที่วางไว้เพื่อใช้ดำเนินงานของโจทก์โดยมอบให้จ.ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของโจทก์ไปดำเนินการต่อไปเพื่อให้งานของโจทก์ดำเนินไปโดยเรียบร้อยแม้จะมีข้อบังคับให้ผู้ยืมต้องนำใบสำคัญคู่จ่ายที่ถูกต้องพร้อมทั้งเงินที่เหลือจ่ายส่งใช้แก่โจทก์ตามกำหนดก็เป็นเรื่องกำหนดความรับผิดชอบของผู้ยืมไว้เป็นการเฉพาะเป็นหลักปฏิบัติงานในหน่วยงานของโจทก์เมื่อจำเลยมิได้อยู่ในฐานะของผู้ยืมตามกฎหมายแต่เป็นการปฏิบัติตามหน้าที่โดยชอบจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดคืนเงินรายพิพาทแก่โจทก์.
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย เป็น พนักงาน ของ โจทก์ ได้ ยืม เงิน ทดรองซึ่ง เป็น เงิน ยืม ประจำ เจ้าหน้าที่ สำหรับ หมุนเวียน ทดรอง จ่ายใน งาน ประจำ ของ จำเลย ไป จาก โจทก์ 5 คราว รวม เป็น เงิน 34,500บาท โดย จำเลย ได้ ทำ สัญญา ยืม และ จะ นำ ใบสำคัญ คู่จ่าย ทั้ง เงินที่ เหลือ จ่าย ส่ง ใช้ และ คืน ภายใน กำหนด ต่อมา จำเลย ได้ นำใบสัญญา คู่จ่าย มา ชำระ หนี้ เงินยืม แก่ โจทก์ แล้ว เป็น เงิน9,635.95 บาท คง ค้าง ชำระ เป็น เงิน 24,864.05 บาท ซึ่ง จำเลย มิได้นำ ใบสัญญา คู่จ่าย มา ชำระ หนี้ แก่ โจทก์ และ มิได้ ชำระ เงิน ที่เหลือ จ่าย แก่ โจทก์ เนื่องจาก จำเลย มี เงิน ประกันตัว ของ จำเลยอยู่ กับ โจทก์ จำนวน 5,230 บาท โจทก์ นำ เงิน ประกัน นั้น หัก ชำระหนี้ โจทก์ แล้ว คงเหลือ เงิน จะ ต้อง ชดใช้ แก่ โจทก์ อีก 19,634.05บาท ขอ ให้ บังคับ จำเลย ใช้ เงิน ดังกล่าว พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ และ ฟ้องแย้ง ว่า จำเลย ยืม เงิน ทดรอง จ่าย เพื่อ ใช้ใน กิจการ และ เพื่อ ประโยชน์ ของ โจทก์ เป็น การ ปฏิบัติ หน้าที่ ตามที่ จำเลย ได้ รับ มอบหมาย เมื่อ จำเลย รับ เงิน ทดรอง จ่าย มา แล้วได้ มอบหมาย เงิน นั้น แก่ นางสาว จินตนา พนักงาน ออก ของ ของ โจทก์ไป เป็น ค่าใช้จ่าย ใน การ ออก ของ ของ โจทก์ จำเลย ปฏิบัติ ตาม ควรแก่ หน้าที่ แล้ว ความ เสียหาย ที่ เกิด แก่ โจทก์ เกิดจาก ความ จงใจและ ประมาท เลินเล่อ ของ โจทก์ เอง โจทก์ ไม่ มี สิทธิ หัก เงินประกันตัว จำเลย จำนวน 5,230 บาท และ ตัดฟ้อง ว่า คดี โจทก์ ขาด อายุความขอ ให้ ยกฟ้อง และ บังคับ ให้ โจทก์ คืนเงิน จำนวน 5,230 บาท แก่จำเลย พร้อม ดอกเบี้ย
โจทก์ ให้การ แก้ ฟ้องแย้ง ว่า จำเลย เป็น คน ยืม เงิน โจทก์ ไป ทำหลักฐาน การ ยืม ว่า จำเลย ยอม รับผิด ชดใช้ คืน ภายใน 15 วัน ความรับผิด ของ จำเลย ต่อ โจทก์ ต้อง เป็น ไป ตาม ใบยืม โจทก์ มี สิทธินำ เงิน ประกัน ของ จำเลย จำนวน 5,230 บาท มา หัก ชำระ หนี้ ที่ จำเลยเป็น หนี้ โจทก์ อยู่ ได้ ขอ ให้ ยก ฟ้องแย้ง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ใช้ เงิน จำนวน 19,634.05 บาท แก่โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย ให้ ยก ฟ้องแย้ง
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ ยกฟ้อง และ ให้ บังคับ ตาม ฟ้องแย้ง
โจทก์ ฎีกา
คดีนี้ โจทก์ ฎีกา ได้ แต่ เฉพาะ ใน ปัญหา ข้อกฎหมาย การ วินิจฉัยปัญหา เช่นว่า นี้ ศาลฎีกา จึง ต้อง ถือ ตาม ข้อเท็จจริง ที่ ศาลอุทธรณ์ได้ วินิจฉัย จาก พยาน หลักฐาน ใน สำนวน ว่า ขณะ จำเลย เป็น พนักงานของ โจทก์ ตำแหน่ง รองหัวหน้า ฝ่าย จัดหา รักษาการ ใน ตำแหน่งหัวหน้า ฝ่าย จัดหา ปี พ.ศ. 2522 จำเลย ยืม เงิน ทดรองจ่าย ไป จากโจทก์ เพื่อ ใช้ จ่าย ใน กิจการ ของ โจทก์ 5 ครั้ง รวม เป็น เงิน34,500 บาท จำเลย มอบ เงิน จำนวน ดังกล่าว ให้ นางสาว จินตนา พนักงานลูกจ้าง ของ โจทก์ ใน ฝ่าย จัดหา ซึ่ง เป็น ผู้ใต้ บังคับบัญชา ของจำเลย และ ทำ หน้าที่ พนักงาน ออกของ (ชิปปิ้ง) รับ ไป ใช้จ่าย ใน การออก สินค้า ของ โจทก์ ที่ ส่ง มา จาก ต่างประเทศ จาก การท่าเรือ แห่งประเทศไทย นางสาว จินตนา ใช้จ่าย เงิน ไป โดย มี หลักฐาน เพียง9,635.95 บาท ส่วน จำนวน เงิน นอกนั้น นางสาว จินตนา อ้างว่า ใช้จ่ายใน การ ออก สินค้า ของ โจทก์ เช่นกัน แต่ ไม่ มี หลักฐาน การจ่าย เงินมา แสดง และ ไม่ ได้ คืน เงิน ที่ เหลือ จาก ค่าใช้จ่าย จำนวน24,864.05 บาท นางสาว จินตนา ทำ บันทึก ยอม รับผิด ชดใช้ เงิน จำนวนดังกล่าว แก่ โจทก์ ต่อมา จำเลย ออกจาก งาน ของ องค์การ โจทก์ โจทก์หัก เงิน ประกัน ตัว ของ จำเลย ไว้ 5,230 บาท เพื่อ ชำระ หนี้ รายนี้บางส่วน แล้ว ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 640 บัญญัติ ว่า ‘อันว่า ยืม ใช้คงรูป นั้น คือ สัญญา ซึ่ง บุคคล คนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้ ยืม ให้บุคคล อีก คนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ยืม ใช้สอย ทรัพย์สิน สิ่งใด สิ่งหนึ่งได้เปล่า และ ผู้ยืม ตกลง ว่า จะ คืน ทรัพย์สิน นั้น เมื่อได้ ใช้สอยเสร็จแล้ว และ มาตรา 650 บัญญัติ ว่า ‘อันว่า ยืมใช้ สิ้นเปลือง นั้นคือ สัญญา ซึ่ง ผู้ให้ ยืม โอน กรรมสิทธิ์ ใน ทรัพย์สิน ชนิด ใช้ ไปสิ้นไป นั้น เป็น ปริมาณ มี กำหนด ให้ ไป แก่ ผู้ยืม และ ผู้ยืม ตกลงว่า จะ คืน ทรัพย์สิน เป็น ประเภท ชนิด และ ปริมาณ เช่นเดียว กัน ให้แทน ทรัพย์สิน ซึ่ง ให้ ยืม’ ดังนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะ 9 เรื่อง ยืม จึง เป็น กรณี ที่ ผู้ให้ ยืม ให้ ผู้ยืม ใช้สอยทรัพย์สิน ที่ ยืม เพื่อ ประโยชน์ ของ ผู้ยืม หา ใช่ เพื่อ ประโยชน์ของ ผู้ให้ ยืม ไม่ คดีนี้ โจทก์ ผู้ให้ ยืม ให้ จำเลย ยืม เงิน ไปเป็น การ ทดรอง เพื่อ ให้ จำเลย นำ ไป ใช้ สอย ใน กิจการ ของ โจทก์ เป็นประโยชน์ ของ โจทก์ ผู้ให้ ยืม เอง รูปเรื่อง จึง ปรับ เข้า ด้วยลักษณะ 9 เรื่อง ยืม แห่ง บทบัญญัติ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ ได้สัญญา ระหว่าง โจทก์ จำเลย จึง ผูกพัน กัน ใน ลักษณะ อื่น โดยเฉพาะต้อง พิจารณา เจตนารมณ์ ระหว่าง คู่กรณี มุ่ง ผูกพัน กัน แค่ไหนอย่างไร เห็นว่า การ ที่ จำเลย ลงชื่อ ใน ใบยืม เงินทดรอง ของ โจทก์นั้น ได้ กระทำ ไป โดย ตำแหน่ง หน้าที่ ของ จำเลย ใน ฐานะ พนักงานของ โจทก์ ใน ขอบเขต แห่ง หน้าที่ ของ ตน ตาม ระเบียบแบบแผน ของ โจทก์ที่ วาง ไว้ เพื่อ ใช้ ดำเนินงาน ของ โจทก์ โดย มอบให้ นางสาว จินตนาซึ่ง เป็น เจ้าหน้าที่ ของ โจทก์ ไป ดำเนินการ ต่อไป เพื่อ ให้ งานของ โจทก์ ดำเนิน ไป โดย เรียบร้อย แม้ จะ มี ข้อบังคับ องค์การแก้วว่าด้วย เงินยืม ทดรอง พ.ศ. 2520 ให้ ผู้ยืม ต้อง นำ ใบสำคัญ คู่จ่ายที่ ถูกต้อง พร้อมทั้ง เงิน ที่ เหลือจ่าย ส่งใช้ แก่ โจทก์ ภายใน15 วัน นับแต่ วัน ที่ ได้ รับ เงินยืม ก็ เป็น เรื่อง กำหนด ความรับผิด ชอบ ของ ผู้ยืม ไว้ เป็น การ เฉพาะ เป็น หลัก ปฏิบัติงาน ในหน่วยงาน ของ โจทก์ เมื่อ จำเลย มิได้ อยู่ ใน ฐานะ ของ ผู้ยืม ตามกฎหมาย แต่ เป็น การ ปฏิบัติ ตาม หน้าที่ โดย ชอบ จำเลย จึง ไม่ ต้องรับผิด คืน เงิน ราย พิพาท แก่ โจทก์
พิพากษายืน.