แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมือเปล่าจำเลยที่1บุกรุกที่ดินโจทก์และนำที่ดินดังกล่าวให้จำเลยที่2เช่าปลูกอ้อยจำเลยที่1ให้การว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยที่1ไม่ใช่ของโจทก์หากฟังว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์คดีย่อมขาดอายุความฟ้องร้องเพราะจำเลยที่1เข้าทำประโยชน์มาก่อนฟ้องเกินกว่า1ปีเป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยหรือของโจทก์และขัดแย้งกันเองไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในกำหนดเวลา1ปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองหรือไม่การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวจึงไม่ชอบถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา249วรรคแรก
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ มีสิทธิ ครอบครอง ที่ดินมือเปล่า ตั้ง อยู่ หมู่ ที่ 6 ตำบล รางหวาย อำเภอพนมทวน จังหวัด กาญจนบุรี เนื้อที่ 53 ไร่ เศษ เมื่อ ประมาณ เดือน ตุลาคม 2529 จำเลยที่ 1 บุกรุก เข้า ไป ไถ ใน ที่ดิน โจทก์ ทาง ด้าน ทิศเหนือ เนื้อที่ ประมาณ4 ไร่ โจทก์ ได้ ไป แจ้งความ ต่อ เจ้าพนักงาน ตำรวจ เจ้าพนักงาน ตำรวจเรียก จำเลย ที่ 1 มา พบ จำเลย ที่ 1 ยอมรับ ว่า บุกรุก ที่ดิน โจทก์ จริงและ ตกลง ทำ สัญญาเช่า ที่ดิน โจทก์ สัญญาเช่า ถึง กำหนด แล้ว ต่อมาวันที่ 29 เมษายน 2531 จำเลย ที่ 1 นำ ที่ดิน โจทก์ ทาง ด้าน ทิศเหนือเนื้อที่ 31 ไร่ เศษ ไป ให้ จำเลย ที่ 2 เช่า ปลูก อ้อย การกระทำ ของ จำเลยทั้ง สอง เป็น การ ละเมิด ต่อ โจทก์ ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง และ บริวารรื้อถอน สิ่งปลูกสร้าง ออกจาก ที่ดิน โจทก์ ห้าม มิให้ จำเลย ทั้ง สองและ บริวาร เข้า เกี่ยวข้อง กับ ที่ดิน โจทก์ อีก ต่อไป กับ ให้ จำเลย ทั้ง สองร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย ใน อัตรา ปี ละ 15,500 บาท นับแต่ วันที่ 29เมษายน 2531 เป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย ทั้ง สอง และ บริวาร จะ ออกจากที่ดิน โจทก์
จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า โจทก์ ไม่ใช่ เจ้าของ ที่ดิน ตาม ฟ้องแต่ ที่ดิน เป็น ของ จำเลย ที่ 1 กับพวก โดย มี หลักฐาน คือ แบบแสดงรายการที่ดิน เพื่อ ชำระ ภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท. 5) เมื่อ เดือน ตุลาคม 2529จำเลย ที่ 1 เข้า ไป ไถ ใน ที่ดิน ตาม ฟ้อง เนื้อที่ 31 ไร่ เศษ เพื่อปลูก มัน สำปะ หลัง ที่ โจทก์ อ้างว่า จำเลย ที่ 1 เช่า ที่พิพาท ส่วน หนึ่งเนื้อที่ 4 ไร่ จาก โจทก์ นั้น สัญญาเช่า เป็น โมฆะ เพราะ จำเลย ถูกบังคับ ขู่เข็ญ ความเสียหาย ที่ โจทก์ เรียกร้อง มา อย่างมาก ปี ละไม่เกิน 1,500 บาท หาก จะ ฟังได้ ว่า เป็น ที่ดิน ของ โจทก์ คดี ย่อมขาดอายุความ ฟ้องร้อง เพราะ จำเลย ที่ 1 เข้า ทำประโยชน์ มา ก่อน ฟ้องเกินกว่า 1 ปี ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 2 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง รื้อถอน สิ่งปลูกสร้าง ออกจากที่พิพาท ตาม แผนที่ สังเขป ท้ายฟ้อง ห้าม มิให้ จำเลย ทั้ง สอง เกี่ยวข้องกับ ที่พิพาท อีก ต่อไป กับ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย แก่โจทก์ ปี ละ 6,250 บาท นับ ตั้งแต่ วันที่ 29 เมษายน 2531 เป็นต้น ไปจนกว่า จำเลย ทั้ง สอง จะ ออกจาก ที่พิพาท
จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 1 ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ที่ ได้ นั่งพิจารณา คดี ในศาลชั้นต้น รับรอง ว่า มีเหตุ สมควร ที่ จะ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ได้
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ส่วน ปัญหา ข้อ ที่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา ว่าโจทก์ ฟ้อง เรียกคืน การ ครอบครอง ที่พิพาท จาก จำเลย ที่ 1 เกินกว่า 1 ปีนับแต่ จำเลย ที่ 1 ได้ ครอบครอง ทำประโยชน์ ใน ที่พิพาท จึง หมด สิทธิเรียกคืน การ ครอบครอง ที่พิพาท นั้น เห็นว่า คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง อ้างว่าโจทก์ เป็น เจ้าของ มีสิทธิ ครอบครอง ที่ดิน เนื้อที่ 53 ไร่ เศษ ซึ่ง เป็นที่ดิน มือเปล่า จำเลย ที่ 1 บุกรุก ที่ดิน โจทก์ และ นำ ที่ดิน โจทก์ดังกล่าว ทาง ด้าน ทิศเหนือ เนื้อที่ 31 ไร่ เศษ ให้ จำเลย ที่ 2เช่า ปลูก อ้อย จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า ที่พิพาท เป็น ของ จำเลย ที่ 1ไม่ใช่ ของ โจทก์ จำเลย ที่ 1 ครอบครอง ที่พิพาท มา นาน 8 ปี แล้วหาก จะ ฟังได้ ว่า ที่พิพาท เป็น ที่ดิน ของ โจทก์ คดี ย่อม ขาดอายุความฟ้องร้อง เพราะ จำเลย ที่ 1 เข้า ทำประโยชน์ มา ก่อน ฟ้อง เกินกว่า 1 ปีตาม คำให้การ ของ จำเลย ที่ 1 ดังกล่าว เป็น คำให้การ ที่ ไม่ ชัดแจ้ง ว่าที่พิพาท เป็น ของ จำเลย หรือ ของ โจทก์ และ ขัดแย้ง กันเอง ไม่ชอบ ด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง จึง ไม่มีประเด็น ข้อพิพาท ว่า โจทก์ ฟ้องคดี เพื่อ เอาคืน ซึ่ง การ ครอบครองภายใน กำหนด เวลา 1 ปี นับแต่ เวลา ถูก แย่ง การ ครอบครอง หรือไม่ที่ ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ประเด็น ดังกล่าว จึง เป็น การไม่ชอบ ถือว่า เป็น ข้อ ที่ มิได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว ใน ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ”
พิพากษายืน