แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ค่าเสียหายทั่วไปในการผิดสัญญา ศาลมีอำนาจกะให้
ย่อยาว
คดีนี้จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ให้มาทำงานที่บริษัท ในสัญญาข้อ ๘ ว่าจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญากับโจทก์ได้ต่อเมื่อโจทก์ไม่สามารถทำงานตามหน้าที่เปนเวลา ๓ เดือนติดต่อกัน แต่จำเลยต้องบอกกล่าวล่วงหน้าไปยังโจทก์ก่อน ๒ เดือน ในสัญญาข้อ ๓ ว่าจำเลยเปนผู้ออกค่าโดยสานเมื่อโจทก์มากรุงเทพ ฯ และกลับอังกฤษและมีความตอนหนึ่งว่า “เมื่อเช่นนี้ต้องถือว่าสัญญาฉะบับนี้ได้เลิกกันตั้งแต่วันที่ผู้รับจ้างได้ออกจากประเทศสยาม” โจทก์ได้เข้ามาทำงานกับจำเลย ต่อมาโจทก์ป่วยขอลาไปพักที่อังกฤษตามความแนะนำของแพทย์แทนที่จำเลยจะอนุญาต กลับบอกเลิกสัญญากับโจทก์ทันที โจทก์จึงฟ้องเรียกค่าเสียหาย
ศาลฎีกาตัดสินยืนตามศาลล่างทั้ง ๒ ว่า จำเลยเปนผู้ผิดสัญญา เพราะจะต้องบอกล่วงหน้าแก่โจทก์ก่อน ๒ เดือน เปนเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายเปนพิเศษ ซึ่งศาลมีอำนาจจะกำหนดค่าเสียหายให้ได้ ที่จำเลยอ้างสิทธิเลิกสัญญาตามความในข้อ ๓ นั้น เห็นว่าสัญญาข้อ ๓ ให้สิทธิแก่โจทก์เรียกค่าเดินทาง และเมื่อโจทก์เรียกร้องค่าเดินทางแล้ว สัญญาเปนอันเลิกกันไป จึงให้จำเลยเสียเงินเดือน ๒ เดือนรวม ๙๕๐ บาทแก่โจทก์ กับค่าเสียหายทั่วไปอีก ๔๗๕ บาท รวมทั้งสิ้น ๑๔๒๕ บาท