คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2502

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

การที่ผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกันมาแจ้งความต่อตำรวจ เปิดเผยการกระทำอันไม่บริสุทธิ์โดยไม่แจ้งว่าตนได้ร่วมในการกระทำผิดด้วย และเนื่องจากการแจ้งความเปิดเผยเช่นนี้ ทำให้กรมสรรพากรทราบจนบริษัทต้องถูกปรับค่าภาษีถึงห้าแสนบาทเศษ จะเป็นโดยจำเลยแจ้งเพื่อบรรเทาผลร้ายหรือแม้จะเพราะโกรธเคืองกันเอง ก็ไม่เป็นการทำละเมิดต่อผู้กระทำผิดร่วมที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายได้
จำเลยแจ้งความต่อตำรวจโดยไม่ได้ร้องขอให้จับกุม เป็นการแล้วแต่ตำรวจจะสอบสวนพิจารณาเหตุเอาเอง ข้อเท็จจริงที่จำเลยแจ้งว่ามีการลงบัญชีเท็จก็เป็นจริงดังที่จำเลยแจ้งความ ได้มีการสอบสวนใช้เวลาอีกหลายเดือน ตำรวจจึงได้เรียกโจทก์ไปแจ้งข้อหา หากโจทก์จะเสียหายที่ต้องไปสถานีตำรวจและต้องหาประกันที่โจทก์ว่าทำให้โจทก์เสียหายประการใด ก็เป็นผลโดยตรงจากการวินิจฉัยของตำรวจเอง การที่ตำรวจหรืออัยการไม่ฟ้องโจทก์ต่อศาลก็ไม่ใช่เพราะเห็นว่าโจทก์ไม่ได้กระทำผิด แต่เห็นว่าจำเลยไม่มีอำนาจแจ้งความร้องทุกข์ ซึ่งเป็นปัญหากฎหมาย ไม่ใช่เพราะข้อเท็จจริง ที่จำเลยแจ้งไม่เป็นความจริง เช่นนี้ จำเลยไม่ต้องรับผิดฐานละเมิด

ย่อยาว

คดี ๒ สำนวนนี้ ศาลพิจารณาพิพากษารวมกัน
โจทก์ฟ้องทำนองเดียวกันทั้งสองสำนวนว่า จำเลยไปแจ้งความต่อตำรวจหาว่า โจทก์ทั้งสองทำผิดฐานฉ้อโกง และยักยอกทรัพย์ จำนวนได้กระทำไปโดยความมุ่งร้ายและคำนวณผลจากการแจ้งความว่า โจทก์กับพวกจะได้ถูกจับกุมสอบสวนเป็นที่เสียหาย และถูกเหยียดหยามในวงการค้ำและวงสังคมให้เสื่อมเสียชื่อเสียงทั้งทางส่วนตัวและตระกูลของโจทก์ โจทก์ต้องถูกจับและถูกควบคุมตัวเสื่อมเสียอิสสระภาพ ต้องวิ่งเต้นหาประกันและถูกสอบสวนหลายเดือน ผลที่สุดตำรวจสั่งไม่ฟ้อง โจทก์ทั้งสองสำนวนขอให้บังคับให้จำเลยใช้เสียหาย แก่โจทก์สำนวนละ ๒๕๐,๐๐๐ บาท กับดอกเบี้ย และบังคับจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา ๔๔๗ ให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาอันได้แสดงว่า จำเลยแกล้งกล่าวหาโจทก์โดยไม่เป็นความจริงในหนังสือพิมพ์
จำเลยให้การว่า จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่า โจทก์ร่วมกับบุคคลอื่นจะฉ้อโกง ยักยอกเงินของบริษัทซึ่งจำเลยเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นผู้เสียหายอยู่ด้วย จำเลยจึงได้แจ้งความขอให้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจชนะสงครามทำการสอบสวนดำเนินคดี ไม่เป็นการละเมิด
ศาลแพ่งฟังว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่า โจทก์ไม่ได้กระทำผิด แต่จำเลยไปแจ้งความว่า โจทก์กระทำผิดมีโทษทางอาญา เช่นนี้ถือว่า จำเลยกระทำละเมิดซึ่ง จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์คนละสองหมื่น ส่วนที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ ยังไม่จำเป็นต้องให้จำเลยกระทำถึงเช่นนั้น
โจทก์และจำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ฟังว่า ที่จำเลยไปแจ้งความนั้น จำเลยได้กระทำไปโดยทุจริต และมีเหตุผลอันสมควรเชื่อได้ว่าโจทก์เป็นผู้กระทำผิด หาใช่เป็นการแกล้ง กล่าวหาโดยความเท็จไม่ การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ พิพากษายกฟ้อง ให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสองสำนวน
โจทก์ทั้งสองสำนวนฎีกา
โจทก์กล่าวมาในฎีกาว่า เรื่องนี้จำเลยไม่มีความสุจริตในใจ ในการกล่าวหาทุจริต เพราะจำเลยรู้เรื่องบัญชีลับ และการหาใบรับมาหักบัญชีลับ จำเลยเองตัวการนั้น ศาลฎีกาเห็นว่า หากเป็นเรื่องจริง ก็เป็นเรื่องร่วมคบคิดกัน (เพราะโจทก์ทั้งสองก็ทำอยู่ในบริษัท ที่จำเลยไปแจ้งความหาว่าโจทก์ฉ้อโกงยักยอกเงินของบริษัท) การร่วมกระทำผิดด้วยกันมาแจ้งความต่อตำรวจเปิดเผยการกระทำอันไม่บริสุทธิ์โดยไม่ว่าตนได้ร่วมในการกระทำผิดด้วยและเนื่องจากการแจ้งความเปิดเผยเช่นนี้ ทำให้สรรพากร ทราบจนบริษัทต้องถูกปรับค่าภาษีถึงห้าแสนบาทเศษ จะเป็นโดยจำเลยแจ้งบรรเทาผลร้ายหรือแม้จะเพราะโกรธเคืองกันเอง ก็ไม่เป็นการทำละเมิดต่อผู้กระ+ร่วม ที่จะฟ้องเรียกค่าเสียตายได้
การที่จำเลยแจ้งความต่อตำรวจ นั้น ไม่ได้ร้องขอให้จับกุม เป็นการแล้วแต่ตำรวจจะสอบสวนพิจารณาเหตุผลเอาเอง ข้อเท็จจริงที่จำเลยแจ้งว่ามีการลงบัญชีเท็จ+จริงดังที่จำเลยแจ้งความ ได้มีการสอบสวนใช้เวลาอีกหลายเดือนตำรวจจึงได้+โจทก์ทั้งสองไปแก้ข้อหา หากโจทก์จะเสียหายที่ต้อง ไปสถานีตำรวจและต้องหาประ+โจทก์ว่าทำให้โจทก์เสียหายประการใด ก็เป็นผลโดยตรงจากการวินิจฉัยของตำรวจ การที่ตำรวจหรือพนักงานอัยการไม่ฟ้องโจทก์ต่อศาล ก็ไม่ใช่เพราะเห็นว่าโจทก์ได้กระทำผิด แต่เห็นว่า จำเลยไม่มีอำนาจแจ้งความทุกข์ ซึ่งเป็นปัญหากฎหมายไม่ใช่เพราะข้อเท็จจริงที่จำเลยแจ้งไม่เป็นความจริง จำเลยไม่ต้องรับผิดฐานละเมิดตามโจทก์ฟ้อง
พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์

Share