คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1184/2495

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของคู่ความแล้ว กระบวนพิจารณาต่อจากนั้นมาย่อมถือได้ว่า เป็นกระบวนพิจารณาของศาลอุทธรณ์โดยศาลชั้นต้นเป็นผู้ดำเนินแทน ฉะนั้นเมื่อคู่ความไม่พอใจคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งในฐานะดำเนินการแทนศาลอุทธรณ์นี้อย่างใดแล้ว ก้จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ไม่ได้ แต่ชอบที่จะรอจนกว่าศาลชั้นต้นาจะได้ส่งสำนวนขึ้นไปยังศาลอุทธรณ์ แล้งไปร้องต่อศาลอุทธรณ์ซึ่งถ้าศาลอุทธรณ์ไม่พิใจในคำสั่งของศาลชั้นต้นก็ชอบที่าจะสั่งใหม่ได้ตามอำนาจของศาลอุทธรณ์

ย่อยาว

คดีเรื่องนี้ โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่เช่าศาลแพ่งพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ แต่ไม่ได้ไปนำเจ้าพนักงานกองหมายไปส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ให้แก่จำเลยใน ๑๕ วัน กองหมายาจึงรายงานไปยังศาลแพ่งเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๙๕ ต่อมาเมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๔๙๕ โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งอ้างว่า ทนายมีธุระไปต่างจังหวัด ได้ส่งตัวโจทก์ให้ไปนำ เจ้าพนักงานส่งสำเนาอุทธรณ์ แต่ตัวโจทก์ไม่เข้าใตระเบียบของศาล จึงมิได้ไปนำเจ้าพนักงานกองหมาย ขอให้ศาลสั่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ไปให้จำเลยอีกครั้งหนึ่ง
ศาลแพ่งสั่งว่า “ในคำสั่งรับอุทธรณ์มิได้กำหนดเวลาให้จัดการส่งอุทธรณ์ไว้ ให้โจทก์จัดการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยในกำหนด ๑๕ วัน”
จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำสั่งศาลแพ่ง ให้ยกคำร้องโจทก์เสีย โดยถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องแล้ว
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า เมื่อศาลแพ่งได้สั่งรับอุทธรณ์โจทก์แล้ว กระบวนพิจารณาต่อจากนั้น ย่อมถือได้ว่าเป็นกระบวนพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โดยศาลแพ่งเป็นผู้ดำเนินแทนเท่ากับศาลอุทธรณ์เป็นผู้ดำเนินไปแล้ว จะมีอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ เองได้อย่างไร ทางที่ถูกเมื่อจำเลยไม่พอใจคำสั่งของศาลแพ่งที่สั่งคำร้องของโจทก์ดังกล่าว จำเลยก็ชอบที่จะรอาจนกว่าศาลแพ่งจะได้ส่งสำเนาขึ้นไปยังศาลอุทธรณ์ แล้วไม่ร้องต่อศาลอุทธรณ์ เพราะการที่จะวินิจฉัยว่า โจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์หรือไม่ตลอดจนการที่จะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่นั้น เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ ถ้าศาลอุทธรณ์ไม่พอใจในคำสั่งของศาลแพ่งดังกล่าวแล้ว ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะสั่งใหม่ได้ตามอำนาจของศาลอุทธรณ์แต่มิใช่พิจารณาให้ตามฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยดังเช่นในคดีนี้ จึงพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสีย

Share