คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1156/2477

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

การโฆษนากล่าวถึงการดำเนิรในโรงศาลต้องกระทำไปโดยสุจริตจึงจะได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายลักษณอาชญาตามมาตรา 283(4) ในคดีหมิ่นประมาทศาลจะต้องพิเคราะห์ข้อความที่กล่าวโฆษนานั้นทั้งหมดรวมกันจะดูฉะเพาะบางคำไม่ได้ แต่เมื่อลงโฆษนาข้อความพาดหัวไว้ตอนหนึ่งและแยกลงท้องเรื่องอีกตอนหนึ่งไม่ติดต่อกันแล้วศาลอาจจะพิเคราะห็ข้อความแยกจากกันได้ การโฆษนาหมิ่นประมาทนั้นจะต้องเกิดการเสียหายอาจทำให้คนทั้งหลายดูหมิ่นเกลียดชังผู้ถูกหมิ่นประมาทด้วย จึงจะเป็นการผิดกฎหมายบรรณาธิการและเจ้าของหนังสือพิมพ์ต้องรับผิดในทางอาชญาในการที่หนังสือพิมพ์ของตนลงข่าวโฆษนาหมิ่นประมาทผู้อื่น

ย่อยาว

ได้ความว่าจำเลยทั้ง ๒ เป็นเจ้าของและบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ซึ่งลงข่าวคำให้การในศาลในคดีที่เกี่ยวกับจำเลยและเจ้าทุกข์ในคดีนี้ มีคำพาดหัวว่า”หลวงสารา(ผู้ร้องทุกข์) เหยียบย่ำเกียรติทหาร” คำพาดหัวนั้นเป็นคำประพันธ์ของจำเลยเองซึ่งลงไว้ในน่า ๑ และเป็นคนละใจความหาตรงกับคำให้การซึ่งจำเลยนำลงนั้นไม่
ศาลฎีกาเห็นว่า เมื่อคำพาดหัวนั้นเป็นคำประพันธ์ของจำเลยและคำให้การในศาลที่ลงนั้นก็หามีข้อความอย่างใดที่แสดงว่าผู้ร้องทุกข์เป็นผู้เหยียบย่ำเกียรติทหารไม่ เช่นนี้เป็นข้อส่อให้เห็นเจตนาของจำเลยว่าตั้งใจโฆษนาใส่ความผู้ร้องทุกข์โดยไม่สุจริต จำเลยไม่ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายลักษณอาชญา ม.๒๘๓(๔) การที่จำเลยนำสืบอธิบานว่าวิธีเขียนคำพาดหัวเป็นอุบายของการค้าหนังสือพิมพ์อย่างหนึ่ง เพื่อชักชวนให้ประชาชนซื้อหนังสือพิมพ์มากมากนั้น ก็เป็นข้อส่งเสริมให้เห็นว่าจำเลยตั้งใจปั้นความขึ้นโดยหวังผลประโยชน์ในการค้า โดยวิธีปั้นข้อความใส่ร้ายผู้อื่นเพื่อให้คนทั้งหลายตื่นเต้นเป็นข้อประกอบให้เห็นเจตนาใส่ความเขายิ่งขึ้น อนึ่งแม้ในเรื่องหมิ่นประมาทจะต้องพิเคราะห์ข้อความทั้งหมดรวมกันจะดูฉะเพาะคำบางคำไม่ได้ก็ดี แต่ในคดีนี้จำเลยลงโฆษนาข้อความพาดหัวไว้ตอนหนึ่งแล้วแยกลงท้องเรื่องอีกตอนหนึ่ง ไม่ติดต่อกันดังนี้จึงชอบที่จะต้องพิเคราะห์ข้อความแยกจากกันและเมื่อข้อความพาดหัวกัวไม่ตรงกับท้องเรื่อง จำเลยก็ต้องรับผิดในคำพาดหัวซึ่งเป็นคำประพันธ์ของจำเลยโดยฉะเพาะและเห็นว่าคำประพันธ์ของจำเลยโดยฉะเพาะและเห็นว่าคำประพันธ์ของจำเลยนั้นเป็นคำหมิ่นประมาทอยู่ในตัวและเจ้าทุกข์ย่อมได้รับความเสียหาย เพราะอาจทำให้คนทั้งหลายดูหมิ่นและเกลียดชังได้ จึงตัดสินยืนตามศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณอาชญามาตรา ๒๘๒ ประกอบด้วย พ.ร.บ.สมุดเอกสารและหนังสือพิมพ์ พ.ศ.๒๔๗๐ ม.๓๓

Share