คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเป็นความผิดต่อศาลซึ่งกฎหมายดังกล่าวให้ศาลมีอำนาจพิเศษในการสั่งลงโทษได้โดยไม่ต้องมีผู้ใดร้องขอหรือเป็นโจทก์ฟ้องแม้พนักงานอัยการจะได้ทำคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยก็ถือไม่ได้ว่าพนักงานอัยการเป็นโจทก์ส่วนความผิดคดีนี้เป็นเรื่องปลอมและใช้เอกสารปลอมโดยพนักงานอัยการเป็นโจทก์จึงเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกับคดีฐานละเมิดอำนาจศาลซึ่งถึงที่สุดแล้วสิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์คดีนี้ย่อมไม่ระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(4) หนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารธรรมดาซึ่งบุคคลหนึ่งมอบหมายให้บุคคลหนึ่งมีอำนาจจัดทำนิติกรรมแทนตนเท่านั้นไม่เป็นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งสิทธิจึงไม่ใช่เอกสารสิทธิตามความแห่งกฎหมาย

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ลงลายมือชื่อ ปลอม ของ นาง วรรณา เอี่ยมละม่อม ใน ใบ มอบฉันทะ อันเป็น เอกสารสิทธิ ของ นาง วรรณา เพื่อ ขอรับ เอกสาร ต่าง ๆ จาก ศาลจังหวัด ตรัง โดย ประการ ที่ น่า จะ เกิดความเสียหาย แก่ นาง วรรณา ผู้พิพากษา ศาลจังหวัด ตรัง และ กระทรวงยุติธรรม และ จำเลย ใช้ ใบ มอบฉันทะ อันเป็น เอกสารสิทธิที่ จำเลย ได้ ลงลายมือชื่อ ปลอม ดังกล่าว แสดง ต่อ ผู้พิพากษาศาลจังหวัด ตรัง เพื่อ ขอรับ เอกสาร ต่าง ๆ ที่นาง วรรณา ได้ ยื่น ไว้ ใน ประการ ที่ น่า จะ เกิด ความเสียหาย แก่ นาง วรรณา ผู้พิพากษา ศาลจังหวัด ตรัง และ กระทรวงยุติธรรม ขอให้ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264, 265, 268
จำเลย ให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265, 268 จำเลย เป็น ผู้ ปลอมเอกสาร สิทธิและ ใช้ เอกสารสิทธิ นั้นเอง จึง ลงโทษ ฐาน ใช้ เอกสารสิทธิ ปลอมแต่ กระทง เดียว ตาม มาตรา 268 วรรคสอง จำคุก 6 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพ มีเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คง จำคุก 3 เดือน
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “มี ปัญหา วินิจฉัย ตาม ฎีกา จำเลย เพียง ว่าเมื่อ การกระทำ ของ จำเลย ครั้งนี้ จำเลย ได้รับ โทษ ฐาน ละเมิดอำนาจศาล ใน คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 992/2536 ของ ศาลชั้นต้น ซึ่งถึงที่สุด แล้ว การ ที่ โจทก์ ฟ้อง จำเลย เป็น คดี นี้ อีก จึง เป็น การ ฟ้องซ้ำกับ คดี ดังกล่าว หรือไม่ เห็นว่า คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 992/2536ของ ศาลชั้นต้น ดังกล่าว เป็น คดี ที่ จำเลย กระทำการ ประพฤติ ตนไม่ เรียบร้อย ใน บริเวณ ศาล อันเป็น ความผิด ฐาน ละเมิด อำนาจศาลและ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 31(1), 33 ซึ่ง กฎหมาย ดังกล่าว ให้ ศาล มีอำนาจ พิเศษใน การ สั่ง ลงโทษ จำเลย ได้ โดย ไม่ต้อง มี ผู้ใด ร้องขอ หรือ เป็น โจทก์ ฟ้องแม้ จำเลย ได้ อุทธรณ์ คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น แล้ว พนักงานอัยการ ได้ทำ คำแก้อุทธรณ์ ของ จำเลย ก็ ตาม ก็ ถือไม่ได้ว่า พนักงานอัยการ เป็นโจทก์ ส่วน ความผิด ของ จำเลย คดี นี้ เป็น เรื่อง ปลอมเอกสาร และ ใช้เอกสารปลอม โดย พนักงานอัยการ เป็น โจทก์ จึง เป็น คน ละ เรื่องและ คน ละ ประเด็น กับ คดี ฐาน ละเมิด อำนาจศาล ดังนั้น แม้ ศาลชั้นต้นมี คำสั่ง ลงโทษ จำคุก จำเลย และ คดีถึงที่สุด แล้ว สิทธิ นำ คดี มา ฟ้องของ โจทก์ คดี นี้ ย่อม ไม่ระงับ ไป ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4) ดัง ที่ จำเลย ฎีกา โจทก์ จึง ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลยเป็น คดี นี้ ได้ ไม่เป็น การ ฟ้องซ้ำ ฎีกา จำเลย ฟังไม่ขึ้น แต่ ที่ศาลล่าง ทั้ง สอง ปรับ บทลงโทษ จำเลย ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 265 นั้น ยัง ไม่ถูกต้อง เพราะ หนังสือมอบอำนาจ เป็นเอกสาร ธรรมดา ซึ่ง บุคคล คนหนึ่ง มอบหมาย ให้ บุคคล อีก คนหนึ่งมีอำนาจ จัดการ ทำนิติกรรม แทน ตน เท่านั้น ไม่เป็น เอกสาร อันเป็นหลักฐาน แห่ง การ ก่อตั้ง สิทธิ อย่างใด ไม่ใช่ เอกสารสิทธิ ตาม ความแห่งกฎหมาย สมควร ปรับ บทลงโทษ จำเลย เสีย ใหม่ ให้ ถูกต้อง
พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย มี ความผิด ฐาน ปลอมเอกสาร และ ใช้เอกสารปลอม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264, 268 วรรคแรกประกอบ มาตรา 264 ให้ ลงโทษ ฐาน ใช้ เอกสารปลอม แต่ กระทง เดียวตาม มาตรา 268 วรรคสอง นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 3

Share