คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

เดิมจำเลยร่วมกู้ยืมเงินจากธนาคาร ก. แทนโจทก์ต่อมาจำเลยร่วมชำระหนี้ให้แก่ธนาคารแทนโจทก์แต่โจทก์ยังไม่ชำระหนี้ให้แก่จำเลยร่วมแล้วจำเลยร่วมได้โอนหนี้ดังกล่าวให้แก่จำเลยโจทก์ตกลงด้วยและจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันหนี้แก่จำเลยดังนี้เป็นการตกลงทำสัญญาจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยตรงโดยโจทก์ยินยอมให้เปลี่ยนตัวเจ้าหนี้จากจำเลยร่วมมาเป็นจำเลยก่อนแล้วการทำสัญญาจำนองจึงไม่ใช่การโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยร่วมกับจำเลยที่ต้องมีการทำเป็นหนังสือต่างหาก

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เดิม นาย จรัญ บิดา จำเลย กู้ยืม เงิน จาก ธนาคาร จำนวน 35,000 บาท โดย โจทก์ จดทะเบียน จำนอง ที่ดิน น.ส.3 ก.เลขที่ 672 เป็น ประกัน ต่อมา วันที่ 21 มกราคม 2536 โจทก์ ได้จดทะเบียน ไถ่ถอน จำนอง โดย นาย จรัญ ชำระหนี้ ให้ แก่ ธนาคาร แล้ว จำเลย หลอกลวง โจทก์ ให้ เซ็น ชื่อ จำนอง ที่ดิน ดังกล่าว กับ จำเลย ความจริง โจทก์ไม่ได้ รับ เงิน และ ไม่ได้ เป็น หนี้ จำเลย ตาม สัญญาจำนอง ขอให้ ศาล พิพากษาเพิกถอน นิติกรรม จำนอง
จำเลย ให้การ ว่า การ ที่นาย จรัญ กู้ยืม เงิน จาก ธนาคาร โดย โจทก์ จำนอง ที่ดิน เป็น ประกัน เป็น การกู้ยืมเงิน แทน โจทก์ นาย จรัญ ได้ ชำระหนี้ ให้ แก่ ธนาคาร แทน โจทก์ แล้ว แต่ โจทก์ ไม่สามารถ ชำระหนี้ให้ แก่ นาย จรัญ เมื่อ คำนวณ รวมกับ ดอกเบี้ย ที่ ค้างชำระ แล้ว โจทก์ เป็น หนี้ นาย จรัญ รวม 98,800 บาท นาย จรัญ ได้ ยก หนี้ ดังกล่าว ให้ แก่ จำเลย และ โจทก์ ตกลง จะ ชำระหนี้ ให้ แก่ จำเลย ภายใน กำหนด 2 ปีกับ จดทะเบียน จำนอง ที่ดินพิพาท ของ โจทก์ ให้ เป็น ประกัน แก่ จำเลยโดย ให้ ถือเอา หนังสือ สัญญาจำนอง เป็น หลักฐาน การกู้ยืมเงิน ขอให้ ยกฟ้อง
ระหว่าง พิจารณา โจทก์ ขอให้เรียก นาย จรัญ เข้า มา เป็น จำเลยร่วม ศาลชั้นต้น อนุญาต
จำเลยร่วม ให้การ ว่า จำเลยร่วม กู้ยืม เงิน จาก ธนาคาร แทน โจทก์เนื่องจาก โจทก์ ไม่สามารถ กู้ยืม เงิน จาก ธนาคาร เพราะ ยัง เป็น หนี้ ธนาคารต่อมา จำเลยร่วม ชำระหนี้ ให้ แก่ ธนาคาร แทน โจทก์ แต่ โจทก์ ยัง ไม่สามารถชำระหนี้ ให้ แก่ จำเลยร่วม เมื่อ คำนวณ รวมกับ ดอกเบี้ย แล้ว โจทก์เป็น หนี้ จำเลยร่วม รวม 98,800 บาท จำเลยร่วม ยก หนี้ ดังกล่าว ให้ แก่จำเลย ด้วย ความ ยินยอม ของ โจทก์ และ โจทก์ จดทะเบียน จำนอง ที่ดินพิพาทให้ เป็น ประกันหนี้ แก่ จำเลย โดย ให้ ถือเอา หนังสือ สัญญาจำนอง เป็นหลักฐาน แห่ง การกู้ยืมเงิน ฟ้องโจทก์ เคลือบคลุม ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ เพิกถอน นิติกรรม จำนอง ที่ดิน ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) เลขที่ 672 ตำบล ท่าฉนวน อำเภอ กงไกรลาศ จังหวัด สุโขทัย ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ มี ว่าการ ที่ จำเลยร่วม โอน หนี้ ที่ โจทก์ จะ ต้อง ชำระ แก่ จำเลยร่วม ให้ จำเลยเป็น การ แปลงหนี้ใหม่ โดย เปลี่ยน ตัว เจ้าหนี้ และ จะ ต้อง บังคับ ตามบทบัญญัติ ว่าด้วย การ โอนสิทธิ เรียกร้อง หรือไม่ ซึ่ง เป็น ปัญหาข้อกฎหมาย ใน การ วินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมาย ดังกล่าว ศาลฎีกา จำต้องถือ ตาม ข้อเท็จจริง ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 ได้ วินิจฉัย จาก พยานหลักฐานใน สำนวน ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ประกอบ ด้วยมาตรา 247 ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า เดิม จำเลยร่วมกู้ยืม เงิน จาก ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด สาขา สุโขทัย จำนวน 35,000 บาท แทน โจทก์ โดย โจทก์ จดทะเบียน จำนอง ที่ดินพิพาท เป็น ประกัน ต่อมาจำเลยร่วม ชำระหนี้ ให้ แก่ ธนาคาร แทน โจทก์ เป็น เงิน 98,800 บาทแต่ โจทก์ ยัง ไม่ชำระ หนี้ ให้ แก่ จำเลยร่วม จำเลยร่วม ได้ โอน หนี้ ดังกล่าวให้ แก่ จำเลย โจทก์ ตกลง ด้วย และ จดทะเบียน จำนอง ที่ดินพิพาท เป็นประกันหนี้ แก่ จำเลย แต่ การ โอน หนี้ ระหว่าง จำเลยร่วม กับ จำเลยไม่ได้ ทำ เป็น หนังสือ เห็นว่า เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า โจทก์ยัง ไม่ได้ชำระ หนี้ ให้ แก่ จำเลยร่วม จำเลยร่วม ได้ โอน หนี้ ที่ โจทก์ต้อง รับผิด ต่อ ตน นั้น ให้ แก่ จำเลย โจทก์ ตกลง ด้วย และ จดทะเบียน จำนองที่ดินพิพาท ให้ แก่ จำเลย โดย สมัครใจ เพื่อ ประกันหนี้ ที่ชอบ ด้วย กฎหมายเช่นนี้ เป็น การ ตกลง ทำ สัญญาจำนอง ผูก นิติสัมพันธ์ ระหว่าง โจทก์กับ จำเลย โดยตรง โดย โจทก์ ยินยอม ให้ เปลี่ยน ตัว เจ้าหนี้ จาก จำเลยร่วมมา เป็น จำเลย ก่อน แล้ว การ ทำ สัญญาจำนอง จึง ไม่ใช่ การ โอนสิทธิ เรียกร้องที่ ต้อง มี การ ทำ เป็น หนังสือ ต่างหาก ดัง ที่ โจทก์ ฎีกา ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2พิพากษา มา ชอบแล้ว ฎีกา ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share