คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1081/2534

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

การที่จำเลยยื่นอุทธรณ์ไม่ทันกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์เพราะความพลั้งเผลอของทนายความ ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยอันจะทำให้จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้เมื่อสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15.

ย่อยาว

คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 83, 289(4) ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4), 83ให้ลงโทษประหารชีวิตจำเลยทั้งสาม โดยอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่27 ตุลาคม 2532
จำเลยที่ 1 และที่ 3 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2532 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต
จำเลยที่ 1 และที่ 3 อุทธรณ์คำสั่ง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยที่ 3 ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่า การขอขยายหรือย่นระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 จะทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่าจำเลยที่ 3 ยื่นอุทธรณ์ไม่ทันกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์เพราะความพลั้งเผลอของทนายความนั้น เห็นว่า ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยอันจะทำให้จำเลยที่ 3 มีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้เมื่อสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
พิพากษายืน.

Share