คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1078/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยเสพ แอมเฟตามีนซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2ขณะที่ขับรถยนต์เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันจึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา90 การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกันเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นกล่าวอ้างศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา195วรรคสองประกอบด้วยมาตรา225

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย กระทำ ความผิด ต่อ กฎหมาย หลายกรรม ต่างกันคือ จำเลย เสพ แอมเฟตามีน ซึ่ง เป็น วัตถุ ออกฤทธิ์ ใน ประเภท 2ไม่ทราบ จำนวน โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต และ ใน ขณะที่ เสพ แอมเฟตามีน ดังกล่าว จำเลย ขับ รถยนต์บรรทุก สิบล้อ ไป ตาม ทางสาธารณะ ขอให้ ลงโทษตาม พระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 4, 62 ตรี , 106 ตรี พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 43 ทวิ , 157 ทวิ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 และ พัก ใช้ใบขับขี่ ของ จำเลย มี กำหนด 6 เดือน จำเลย ให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตามพระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 4,62 ตรี , 106 ตรี พระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ ,157 ทวิ เรียง กระทง ลงโทษ ความผิด ฐาน เสพ วัตถุ ออกฤทธิ์ ใน ประเภท 2จำคุก 1 ปี และ ปรับ 20,000 บาท กระทง หนึ่ง ฐาน เสพ วัตถุ ออกฤทธิ์ใน ประเภท 2 ขณะที่ ขับ รถ จำคุก 4 เดือน และ ปรับ 10,000 บาทอีก กระทง หนึ่ง รวม จำคุก 1 ปี 4 เดือน และ ปรับ 30,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพ เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา มีเหตุ บรรเทา โทษลดโทษ ให้ กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คง จำคุก 8 เดือนและ ปรับ 15,000 บาท โทษ จำคุก ให้ รอการลงโทษ ไว้ มี กำหนด 2 ปีตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระ ค่าปรับ ให้ จัดการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ให้ พัก ใช้ ใบอนุญาต ขับขี่ ของ จำเลยมี กำหนด 6 เดือน โจทก์ อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ไป รายงาน ตัวต่อ จ่าศาล จังหวัด อุทัยธานี ทุก 1 เดือน ใน ระยะเวลา 6 เดือน แรกทุก 2 เดือน ใน ระยะเวลา 6 เดือน ต่อมา และ ทุก 3 เดือน ใน ระยะเวลาที่ เหลือ ห้าม จำเลย ยุ่ง เกี่ยวกับ วัตถุ ออกฤทธิ์ และ ยาเสพติดให้โทษทุก ประเภท นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น โจทก์ ฎีกา โดย อัยการ สูงสุด รับรอง ให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ตาม ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง วินิจฉัย ว่าการ กระทำของ จำเลย เป็น ความผิด หลายกรรม และ พิพากษา ลงโทษ จำเลย โดย เรียง กระทงลงโทษ มา นั้น ไม่ถูกต้อง เพราะ การ ที่ จำเลย เสพ แอมเฟตามีน ซึ่ง เป็นวัตถุ ออกฤทธิ์ ใน ประเภท 2 ขณะที่ ขับ รถยนต์ อันเป็น การ ต้องห้าม ตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง ,157 ทวิ วรรคหนึ่ง นั้น เป็น การกระทำ ที่ ต่อเนื่อง กัน จึง เป็น การกระทำอันเป็น กรรมเดียว เป็น ความผิด ต่อ กฎหมาย หลายบท ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 หาใช่ เป็น ความผิด หลายกรรม ต่างกัน ตาม มาตรา 91 ไม่ ปัญหาว่าการ กระทำ ของ จำเลย เป็น การกระทำ กรรมเดียว หรือ หลายกรรม ต่างกันเป็น ปัญหาข้อกฎหมาย ที่ เกี่ยวกับ ความสงบ เรียบร้อย แม้ ไม่มี คู่ความยกขึ้น กล่าวอ้าง ศาลฎีกา ก็ ยกขึ้น วินิจฉัย ให้ ถูกต้อง ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ ด้วยมาตรา 225 มี ปัญหา วินิจฉัย ต่อไป ว่า สมควร รอการลงโทษ จำคุก ให้ จำเลยหรือไม่ เห็นว่า ตาม พฤติการณ์ แห่ง คดี ไม่ ร้ายแรง นัก ที่ ศาลล่างทั้ง สอง ใช้ ดุลพินิจ รอการลงโทษ จำคุก ให้ จำเลย นั้น เหมาะสม แก่ รูปคดี แล้วศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ” พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ วัตถุ ที่ออกฤทธิ์ ต่อ จิต และ ประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 62 ตรี , 106 ตรีพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง ,157 ทวิ วรรคหนึ่ง อันเป็น กรรมเดียว เป็น ความผิด ต่อ กฎหมาย หลายบทให้ ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทซึ่ง เป็น กฎหมาย บทที่ มี โทษหนัก ที่สุด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90จำคุก 1 ปี และ ปรับ 20,000 บาท จำเลย ให้การรับสารภาพ เป็น ประโยชน์แก่ การ พิจารณา มีเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คง จำคุก 6 เดือน และ ปรับ 10,000 บาทนอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน

Share