คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057/2481

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ความผิดฐานโฆษณาหมิ่นประมาทนั้นไม่จำเป็๋นที่จำเลยจะต้องยืนยันว่าข้อความนั้นเป็นความจริง เมื่อข้อความที่จำเลยโฆษนาเป็นการใส่ความเขาแล้วจำเลยก็ต้องมีผิดโฆษณาในหนังสือพิมพ์เป็นการหมิ่นประมาท ต้อง+ว่ามีเจตนาจงใจหมิ่นประมาทแล้ว เว้นแต่จะนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้ ข้อความที่โฆษณาทั้งหมดมีหน้ากระดาษ ถึงแม้จะ+ข้อความอันเป็นการใส่ความอยู่เพียง 2 บรรทัดนับได้ว่ามีการหมิ่นประมาทแล้ว

ย่อยาว

ได้ความว่าจำเลยเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์และผู้พิมพ์โฆษณาหนังสือพิมพ์ภาษาจีน ได้ลงโฆษนาน่า โจทก์เป็นคนกบฏทรยศต่อชาติจีน ถูกเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐบาลจีนจับได้ในสำนักของพวกทรยศต่อชาติ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานหมิ่นประมาท
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาต้องกันให้ลงโทษจำเลยตามกฎหมายอาญา ม.๒๘๒ วรรค ๒ และ พ.ร.บ.การพิมพ์ ๒๔๗๖ ม.๓๘ ศาลชั้นต้นปรับ ๑๐๐ บาท ศาลอุทธรณ์ปรับ ๔๐๐ บาท
จำเลยฎีกาว่าข้อความที่โจทก์ฟ้องถือไม่ได้ว่าเป็นการใส่ความเพราะไม่เป็นการยืนยันว่าความจริงได้เกิดขึ้น และโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยจงใจหมิ่นประมาทโจทก์ และว่าการวินิจฉัยข้อความที่โฆษณาจะเอาฉะเพาะคำและตอนมาฟ้องไม่ได้
ศาลฎีกาตัดสินว่าข้อต่อสู้เรื่องใส่ความนั้นฟังไม่ได้เพราะคำโฆษณานั้นพาดพิงถึงตัวโจทก์โดยชัดเจน และไม่จำเป็นที่จะต้องยืนยันว่าคำโฆษณานั้นเป็นความจริง การกระทำของจำเลยอยู่ในความมุ่งหมายแพ่งศัพท์ “ใส่ความ” ตาม ม.๒๘๒ แล้ว อนึ่งการจงใจย่อมเกิดขึ้นแล้วจากการที่จำเลยใส่ความหมิ่นประมาทโจทก์นั้นเอง โจทก์ไม่มีหน้าที่จะนำสืบในข้อนี้ ควรถือว่าการจงใจอยู่แล้ว เว้นไว้แต่จำเลยสามารถจะนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานได้ ส่วนข้อที่ว่าข้อความทั้งหมดมี ๕ หน้าแต่ที่พาดพิงถึงโจทก์มี ๒ บรรทัดเท่านั้น เป็นอันฟังไม่ได้เหมือนกัน เพราะเมื่อข้อความใน ๔ หน้ากระดาษนั้นมีข้อความที่เกี่ยวข้องกับโจทก์ และเป็นการใส่ความตายกฎหมายโดยประจักษแล้วก็ต้องมีความผิด พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ให้ยกฎีกาจำเลย

Share