คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1038/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

แม้ การได้มาซึ่งที่ดินของคนต่างด้าวโดยฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายที่ดินฯมาตรา86วรรคหนึ่งจะเป็น โมฆะ แต่มาตรา94ก็ให้ คนต่างด้าว จำหน่ายที่ดินดังกล่าวภายในเวลาที่ อธิบดีกรมที่ดินกำหนดมิฉะนั้นก็ให้ อธิบดี กรมที่ดินมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้นได้จำเลยที่1ซึ่งลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนโจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวจึงไม่มีอำนาจจำหน่ายโดยพลการการที่จำเลยที่1ขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่2โดยพลการถือว่าเป็นการ โต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์จึงมี อำนาจฟ้องให้เพิกถอนการโอนขายได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ซื้อ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 31283 พร้อม บ้านโดย จำเลย ที่ 1 ลงชื่อ ถือ กรรมสิทธิ์ แทน เนื่องจาก โจทก์ เป็น คนต่างด้าวต่อมา จำเลย ทั้ง สอง สมคบ กัน ทำ สัญญาจะซื้อขาย และ จำเลย ที่ 2 ฟ้องจำเลย ที่ 1 เพื่อ บังคับ ตาม สัญญาจะซื้อขาย แล้ว จำเลย ที่ 1 ทำสัญญา ประนีประนอม ยอมความ ยอม โอน ที่ดิน พร้อม บ้าน ให้ แก่ จำเลย ที่ 2ศาลชั้นต้น พิพากษา ตามยอม ต่อมา จำเลย ที่ 2 นำ คำพิพากษา ไป จดทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน พร้อม บ้าน มา เป็น ของ จำเลย ที่ 2 แล้ว จำเลย ที่ 2นำ ที่ดิน พร้อม บ้าน จดทะเบียน จำนอง ต่อ ธนาคาร ขอให้ เพิกถอน สัญญาประนีประนอม ยอมความ ใน คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 1469/2532 ของ ศาลชั้นต้นให้ จำเลย ที่ 2 ไถ่ถอน จำนอง ที่ดิน พร้อม บ้าน แล้ว นำ ออก ขายทอดตลาดเพื่อ นำ เงิน คืน แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดินพร้อม บ้าน พิพาท จำเลย ที่ 1 ไม่เคย เป็น ตัวแทน ถือ กรรมสิทธิ์ ที่ดินพร้อม บ้าน พิพาท แทน โจทก์ ที่ โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ ที่ดิน พร้อม บ้าน พิพาท แทน โจทก์ ซึ่ง เป็น คนต่างด้าวจำเลย ที่ 1 จึง มีสิทธิ และ หน้าที่ ตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 96ต้อง จำหน่าย ที่ดิน ให้ แก่ บุคคลอื่น ซึ่ง มี สัญชาติ ไทย โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ เพิกถอน นิติกรรม การ โอน ที่ดิน โฉนดเลขที่ 31283 ตำบล หนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัด ชลบุรี ตาม คำพิพากษา ตามยอม ใน คดี หมายเลขแดง ที่ 1469/2532 ของ ศาลชั้นต้นให้ จำเลย ที่ 2 ไถ่ถอน จำนอง แล้ว นำ ที่ดิน ออก ขายทอดตลาด นำ เงิน ชำระแก่ โจทก์ หาก จำเลย ที่ 2 ไม่ยอม ไถ่ถอน จำนอง ก็ ให้ ยึด ที่ดิน ออกขายทอดตลาด โดย ติด จำนอง
โจทก์ และ จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า หาก จำเลย ที่ 2 ไม่ยอม ไถ่ถอนจำนอง ก็ ให้ ยึด ที่ดินพิพาท ออก ขายทอดตลาด โดย ติด จำนอง และ ให้ จำเลย ที่ 2ชดใช้ ราคา ที่ดิน พร้อม บ้าน พิพาท ตาม จำนวนเงิน ซึ่ง จำเลย ที่ 2จำนอง ต่อ ธนาคาร พร้อม ดอกเบี้ย อีก ส่วน หนึ่ง นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็นไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง เบื้องต้นฟังได้ ว่า โจทก์ เป็น ชาว เนเธอร์แลนด์ เดิม จำเลย ที่ 1 เป็น เมีย เช่า ของ โจทก์ ที่ดิน พร้อม บ้าน พิพาท มี ชื่อ จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ใน โฉนด ที่ดิน เมื่อ วันที่ 12 เมษายน 2532 จำเลย ที่ 1ได้ ทำ สัญญาจะขาย ที่ดิน พร้อม บ้าน พิพาท ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 แต่ ไม่สามารถโอน กรรมสิทธิ์ ให้ จำเลย ที่ 2 ได้ เพราะ จำเลย ที่ 1 ไม่มี โฉนด ที่ดินพิพาท วันที่ 12 ตุลาคม 2532 จำเลย ที่ 2 ฟ้อง จำเลย ที่ 1 ต่อศาลชั้นต้น ขอให้ บังคับ จำเลย ที่ 1 โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน พร้อม บ้าน พิพาทให้ แก่ จำเลย ที่ 2 วันที่ 16 ตุลาคม 2532 จำเลย ทั้ง สอง ได้ ทำสัญญา ประนีประนอม ยอมความ กัน โดย จำเลย ที่ 1 ยอม โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดินพร้อม บ้าน พิพาท ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ เป็น ไป ตามสัญญา ประนีประนอม ยอมความ ตาม คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 1469/2532วันที่ 26 มกราคม 2533 จำเลย ที่ 2 ได้ นำ คำพิพากษา ตาม สัญญาประนีประนอม ยอมความ ดังกล่าว ไป จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน พร้อมบ้าน พิพาท มา เป็น ของ จำเลย ที่ 2 วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2533 จำเลย ที่ 2นำ ที่ดิน พร้อม บ้าน พิพาท ไป จดทะเบียน จำนอง ต่อ ธนาคาร ทหารไทย จำกัด เป็น ประกันหนี้ ของ จำเลย ที่ 2 ใน วงเงิน 500,000 บาท
ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ประการ แรก มี ว่า โจทก์ มีอำนาจ ฟ้อง หรือไม่ปัญหา นี้ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ว่า โจทก์ เป็น คนต่างด้าว ไม่อาจ ได้ มา ซึ่งกรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน ได้ แม้ จะ ฟัง ว่า ที่ดิน พร้อม บ้าน พิพาท เป็น ของ โจทก์และ โจทก์ ให้ จำเลย ที่ 1 ลงชื่อ ถือ กรรมสิทธิ์ แทน โจทก์ ไม่อาจ ยึดถือได้ อีก ต่อไป จำเลย ที่ 1 จึง มีสิทธิ ขาย ที่ดิน พร้อม บ้าน พิพาท ได้โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง นั้น เห็นว่า แม้ คนต่างด้าว จะ ได้ ที่ดิน มา โดยฝ่าฝืน ต่อ ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 วรรคหนึ่ง อันเป็น โมฆะ ก็ ตามแต่ ตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 94 บัญญัติ ให้ คนต่างด้าว จัดการจำหน่าย ที่ดิน ที่ ได้ มา โดย ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ ได้รับ อนุญาต เสียภายใน เวลา ที่ อธิบดี กรมที่ดิน กำหนด ถ้า ไม่ จำหน่าย ภายใน เวลา ที่อธิบดี กรมที่ดิน กำหนด ก็ ให้ อธิบดี กรมที่ดิน มีอำนาจ จำหน่าย ที่ดินนั้น ได้ ดังนั้น จำเลย ที่ 1 จึง ไม่มี อำนาจ จำหน่าย ที่ดิน ของ โจทก์ได้ โดย พลการ การ ที่ จำเลย ที่ 1 นำ เอา ที่ดิน พร้อม บ้าน พิพาท ของ โจทก์ไป ขาย ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 โดย พลการ ถือว่า เป็น การ โต้แย้ง สิทธิ ของ โจทก์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์ จึง มีอำนาจ ฟ้องคดี นี้ ”
พิพากษายืน

Share