คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1032/2481

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

จำเลยรับราชการเปนลูกจ้างรับค่าจ้างรายวันวันใดไม่มาทำงานก็ไม่ได้ค่าจ้างดังนี้ไม่เรียกว่า+ข้าราชการวิสามัญ+ทำการปลอมหนังสือราชการซึ่งอยู่ในหน้าที่ของ+ก็ไม่มีความผิดฐานเปนเจ้าพนักงานปลอมหนังสือตาม ม.229 คงมีผิดฐานปลอมหนังสือตาม ม.224 +บัญชีแล้วนำไปใช้แสดง+กรรมการที่มาตรวจ+ถือว่าเปนการเสียหายต่อราชการแล้วต้องผิดฐานปลอมหนังสือบังคับบัญชาเพียงแต่สั่งให้จำเลยตรวจดูบัญชี+เห็นว่าผิดก็ให้แก้เสียจำเลยตรวจดูเห็นว่าผิด+แก้ไป เมื่อบัญชีเดิม+ต้องแล้วจำเลยแก้ให้+จำเลยจึงต้องรับผิด+อ้างม. 52 มายกเว้นโทษ+ได้ ประมวลวิธีพิจารณาอาญา ม.218 +อาญาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาต้องกันให้ลงโทษจำเลย 2 กะทง กะทงหนึ่งจำคุก 5 ปี อีกกะทงหนึ่งจำคุก 3 ปีดังนี้จำเลยฎีกา+ข้อเท็จจริงมิได้ อ้างฎีกาที่ 364/2476 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามก.ม.อาญา ม.224 จำคุก 3 ปีลดกึ่งหนึ่งเหลือ 1 ปี 6 เดือน ศาลอุทธรณ์แก้ให้ลงโทษตาม ม.229 จำคุก 5 ปีลดกึ่งหนึ่งเหลือ 2 ปี 6 เดือนดังนี้เป็นแก้มากฎีกาในข้อเท็จจริง+อ้างฎีกาที่ 1684/2479

ย่อยาว

ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ ๑ สองกะทงคือตาม ม.๑๓๑ จำคุก ๕ ปี กับตาม ม.๒๒๔ จำคุก ๓ ปีรวม ๘ ปี จำเลยที่ ๒ มีความผิดฐานปลอมหนังสือตามมมาตรา ๒๒๔ กะทงเดียว จำคุก ๓ ปี ลดกี่งหนึ่งเหลือ ๑ ปี ๖ เดือน จำเลยที่ ๓ ไม่มีผิดให้ปล่อย
ศาลอุทธรณ์แก้ให้ลงโทษจำเลยที่ ๒ ตาม ม.๒๒๙ จำคุก ๕ ปีลดกึ่งหนึ่งเหลือ ๒ ปี ๖ เดือน นอกนั้นยืนตาม
จำเลยที่ ๑ , ๒ ฎีกา
ศาลฎีกาตัดสินว่าฎีกาจำเลยที่ ๑ เปนข้อเท็จจริงต้องห้ามเพราะโทษแต่ละฐานไม่เกิน ๕ ปีส่วนจำเลยที่ ๒ ฎีกาได้ทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเพราะศาลอุทธรณ์แก้ทั้งกำหนดโทษและกฎหมายโดยวินิจฉัยต่างกันในข้อสำคัญต้องถือว่าเปนแก้มากตามนัยฎีกาที่ ๑๖๘๔/๒๔๗๙ ฎีกาข้อ ๑ ของจำเลยที่ ๒ ที่ว่าบัญชีซึ่งจำเลยแก้ยังไม่ทันแล้วยังไม่เรียกว่าปลอมหนังสือนั้นปรากฎว่าบัญชีที่จำเลยแก้นั้นได้นำมาใช้แสดงต่อกรรมการที่มาตรวจจึงนับว่าได้แก้เสร็จแล้วเปนการเสียหายแก่ทางราชการฎีกาข้อนี้จึงตกไป ฎีกาข้อ ๒ ที่ว่าจำเลยแก้บัญชีตามคำสั่งของจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาโดยสุจริตนั้นปรากฎตามคำให้การของจำเลยเองว่า จำเลยที่ ๑ สั่งจำเลยให้ตรวจดูบัญชีถ้าเห็นว่าผิดก็ให้แก้เสียจำเลยตรวจดูเห็นว่าผิดจึงได้แก้ไปดังนี้ต้องเข้าใจว่าจำเลยเองเห็นว่าผิดจึงแก้ให้ถูกหาใช่กระทำตามคำสั่งของจำเลยที่ ๑ ไม่ ฉะนั้นเมื่อบัญชีเดิมถูกต้องแล้ว จำเลยแก้ให้ผิดจะอ้างมาตรา ๕๒ มายกเว้นโทษจำเลยไม่ได้ฎีกาข้อ ๓ เห็นว่าจำเลยที่ ๒ เป็นเพียงลูกจ้างได้รับเงินค่าจ้างเป็นรายวัน วันใดไม่มาทำงานก็ไม่ได้ค่าจ้างจะถือว่าเป็นข้าราชการวิสามัญตาม พ.ร.บ.บัญญัติข้าราชการพลเรือน ๒๔๗๙ มิได้การที่จำเลยได้รับหน้าที่สำคัญก็เพราะหัวหน้ามีความไว้ใจจำเลย หาพลอยทำให้จำเลยมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานไม่จำเลยจึงไม่มีผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปลอมหนังสือซึ่งอยู่ในหน้าที่ของตนตาม ม.๒๒๙ จึงพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉะเพาะจำเลยที่ ๒ ให้บังคับคดีตามศาลชั้นต้น นอกจากที่แก้นี้คงยืนตาม

Share