แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
การใส่ความหมิ่นประมาทนั้นเมื่อมีลักษณะเป็รการโฆษณาด้วยลายลักษณอักษรแล้ว ก็เป็นผิดตามกฎหมาย อาญา ม. 282 วรรค 2 ในเรื่องโฆษณาหมิ่นประมาทด้วยหนังสือแล้วโจทก์ไม่จำต้องระบุในฟ้องว่า มีผู้รู้ข้อความนั้นกี่คน
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเขียนหนังสือไปปิดโฆษณาใส่ความด่าหมิ่นประมาทผู้เสียหาย ขอให้ลงโทษตามกฎหมายอาญามาตรา ๒๘๒
จำเลยให้การรับสารภาพโจทก์จำเลยไม่สืบพะยาน
ศาลชั้นต้นเห็นว่า ข้อความในหนังาสือนั้นเป็นข้อความหมิ่นประมาท แต่ โจทก์มิได้นำสืบว่า มีบุคคลไม่น้อยกว่า ๒ คนได้รู้เห็นทราบข้อความนั้น และฟ้องมิได้ระบุสาระสำคัญ ดังกล่าว จึงไม่เป็นฟ้องที่ชอมตาม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕๘ พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ เห็นว่า การใส่ความหมิ่นประมาทในจดหมาย เป็นของทนถาวรและมีหลักฐานที่จะพิสุจน์ได้แน่นอน ทั้งการโฆษณาก็เป็นการทำให้แพร่หลาย ตามมาตรา ๒๘๒ วรรถ ๒ จึงมิได้บัญญัติว่า ต้องให้ปรากฎแก่บุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป โจทก์จึงไม่ต้องกล่าวในฟ้องหรือนำสืบดังที่ศาลชั้นต้นยกขึ้นอ้าง คดีฟังลงโทษจำเลยได้แล้ว พิพากษา ลงโทษจำเลยตาม กฎหมายอาญามาตรา ๒๘๒ วรรค ๒
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่าตามกฎหมายลักษณอาญา มาตรา ๒๘๒ วรรค ๒ นั้น เมื่อการใส่ความีลักษณะเป็นการโฆษณาแล้ว ก็เป็นความผิดฉะนั้นโจทก์จึงไม่จำต้องระบุในฟ้องอีกว่ามีคนรู้เห็นหนังสือโฆษณานั้น ๆ กี่คน คดีนี้โจทก์ระบุในฟ้องแล้วว่า จำเลยปิดประกาศโฆษณาใส่ความเจ้าทุกข์ และจำเลยก็ให้การรับ คดีลงโทษ จำเลยได้ตาม ประมวล วิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๑๗๖ จึงพิพากษายืนตามคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์