คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยทั้งสามเป็นหุ้นส่วนกันในการซื้อขายที่ดินพิพาทแม้จำเลยที่2และที่3มิได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาจะซื้อจะขายโดยมีจำเลยที่1เพียงผู้เดียวลงลายมือชื่อเป็นผู้จะขายและโจทก์ที่1เป็นผู้จะซื้อสัญญาดังกล่าวก็ผูกพันจำเลยที่2และที่3ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1050ส่วนโจทก์ที่2ถึงที่8นั้นไม่ปรากฏชื่อหรือได้ลงลายมือชื่อเป็นคู่สัญญาด้วยทั้งไม่มีหลักฐานอื่นใดมาสนับสนุนว่าเป็นหุ้นส่วนหรือตัวแทนตัวการกันสัญญาดังกล่าวใช้บังคับกันได้ระหว่างโจทก์ที่1กับจำเลยที่1ถึงที่3เท่านั้นโจทก์ที่2ถึงที่8จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1ถึงที่3

ย่อยาว

โจทก์ ทั้ง แปด ฟ้อง โจทก์ ทั้ง แปด ร่วม หุ้น กัน ซื้อ ที่ดิน จาก จำเลยทั้ง สาม ซึ่ง เป็น หุ้นส่วน กัน จำเลย ทั้ง สาม ผิดสัญญา จะซื้อจะขายที่ ทำ ไว้ กับ โจทก์ ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน หรือ แทน กัน ชดใช้เงิน ค่าเสียหาย เป็น เงิน จำนวน 500,000 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ยใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี จาก ต้นเงิน 500,000 บาท นับแต่ วันฟ้องเป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย ทั้ง สาม ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ ทั้ง แปด
จำเลย ทั้ง สาม ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ใช้ เงิน จำนวน 400,000บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี จาก ต้นเงิน ดังกล่าวนับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย ทั้ง สาม จะ ชำระหนี้ แก่ โจทก์ ทั้ง แปดเสร็จสิ้น
จำเลย ทั้ง สาม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัยตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 ข้อ แรก ว่า โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 8มีอำนาจ ฟ้อง จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 หรือไม่ เห็นว่า แม้ ในสัญญาจะซื้อจะขาย ตาม เอกสาร หมาย จ. 13 มี จำเลย ที่ 1 เท่านั้นลงลายมือชื่อ เป็น ผู้จะซื้อ แต่ ได้ความ จาก จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3ตอบ ทนายโจทก์ ถาม ค้าน ว่า จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 เป็น หุ้นส่วน กับจำเลย ที่ 1 ใน การ ซื้อ ที่ดิน จาก นาย เสน่ห์ ห่วงศรี และ นาง เผือด รุ่งเพียร นอกจาก นี้ จำเลย ที่ 2 ยัง เบิกความ ตอบ ทนายโจทก์ ถาม ค้าน ไว้ ด้วย ว่า ที่ดิน ที่ เข้าหุ้น ซื้อ กัน มา จำเลย ที่ 1 นำ ไป ขาย ได้ กำไรประมาณ 1,000,000 บาท จึง เจือสม กับ คำของ โจทก์ ที่ 1 ซึ่ง เบิกความยืนยัน ว่า จำเลย ทั้ง สาม เป็น หุ้นส่วน กัน โดย โจทก์ มี หนังสือ สัญญาการ เป็น หุ้นส่วน ระหว่าง จำเลย ทั้ง สาม ตาม เอกสาร หมาย จ. 21 ซึ่ง ระบุ ว่าจำเลย ทั้ง สาม กับพวก อีก 1 คน เป็น หุ้นส่วน กัน และ หุ้นส่วน คนใด คนหนึ่งมีอำนาจ นำ ที่ดิน ไป ขาย ได้ โดย ลำพัง มา แสดง จำเลย ทั้ง สาม ก็ มิได้ นำสืบโต้แย้ง ว่า เอกสาร หมาย จ. 21 ไม่ถูกต้อง ทั้ง ข้อเท็จจริง ปรากฏว่าจำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ก็ นำ ที่ดินพิพาท ไป ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย กับนาย ดุษฎี โดย จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ รู้เห็น ด้วย เช่นกัน พยานหลักฐาน ที่ โจทก์ นำสืบ มี น้ำหนัก กว่า พยานหลักฐาน จำเลย ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่าจำเลย ทั้ง สาม เป็น หุ้นส่วน กัน ใน การ ซื้อ ขาย ที่ดินพิพาท แม้ จำเลย ที่ 2และ ที่ 3 มิได้ เป็น คู่สัญญา ใน สัญญาจะซื้อจะขาย ตาม เอกสาร หมาย จ. 13สัญญาจะซื้อจะขาย ดังกล่าว ก็ ผูกพัน จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ใน ฐานะเป็น หุ้นส่วน ของ จำเลย ที่ 1 ด้วย ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1050 ดังนั้น โจทก์ ที่ 1 จึง มีอำนาจ ฟ้อง จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3ได้ ส่วน ปัญหา ระหว่าง โจทก์ ที่ 2 ถึง ที่ 8 กับ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3นั้น เห็นว่า ใน หนังสือ สัญญาจะซื้อจะขาย ตาม เอกสาร หมาย จ. 13ไม่ปรากฏ ชื่อ โจทก์ ที่ 2 ถึง ที่ 8 เป็น คู่สัญญา ด้วย คง มี ชื่อ ของโจทก์ ที่ 1 และ คำ ว่า กับพวก เป็น ฝ่าย ผู้จะซื้อ โดย โจทก์ ที่ 2 ถึง ที่ 8มิได้ ลงลายมือชื่อ ไว้ ท้าย สัญญา ดังกล่าว ดังนั้น คำ ว่า กับพวกจึง ไม่อาจ สันนิษฐาน ได้ว่า รวม ถึง โจทก์ ที่ 2 ถึง ที่ 8 ด้วย การ ที่โจทก์ ที่ 1 เบิกความ ลอย ๆ ว่า โจทก์ ที่ 1 ทำการ แทน โจทก์ ที่ 2ถึง ที่ 8 และ เป็น หุ้นส่วน กัน โดย ไม่มี หลักฐาน อื่น ใด มา สนับสนุนและ โจทก์ ที่ 2 ถึง ที่ 8 ก็ มิได้ มา เบิกความ ยืนยัน ถึง การ ที่ โจทก์ ที่ 1เป็น ตัวแทน ของ โจทก์ ที่ 2 ถึง ที่ 8 หรือ เป็น หุ้นส่วน กัน ใน การ ซื้อที่ดิน หนังสือ สัญญาจะซื้อจะขาย เอกสาร หมาย จ. 13 จึง เป็น สัญญา ที่ ใช้บังคับ กัน ได้ ระหว่าง โจทก์ ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 เท่านั้นการ ที่ โจทก์ ที่ 2 ถึง ที่ 8 มี ชื่อ รับโอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ปรากฏ ตามเอกสาร หมาย จ. 14 ซึ่ง มิใช่ เป็น การ รับโอน จาก จำเลย ที่ 1 แต่ เป็น การรับโอน จาก บุคคลภายนอก ก็ มิได้ หมายความ ว่า โจทก์ ที่ 2 ถึง ที่ 8เป็น หุ้นส่วน กับ โจทก์ ที่ 1 ใน การ ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย ตาม เอกสาร หมายจ. 13 ด้วย เมื่อ โจทก์ ที่ 2 ถึง ที่ 8 ไม่ได้ เป็น หุ้นส่วน กับโจทก์ ที่ 1 ทั้ง มิใช่ คู่สัญญา ใน เอกสาร หมาย จ. 13 โจทก์ ที่ 2ถึง ที่ 8 จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3
ปัญหา ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 ข้อ ต่อไป มี ว่า โจทก์ ที่ 1รับโอน ที่ดินพิพาท ตาม สัญญาจะซื้อจะขาย เอกสาร หมาย จ. 13 ไป โดยถูก รอนสิทธิ อัน ทำให้ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 จะ ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ ที่ 1ตาม ข้อความ ใน สัญญาจะซื้อจะขาย ดังกล่าว ใน กรณี แห่ง การ รอนสิทธิและ ผิดนัด ผิดสัญญา หรือไม่ โจทก์ นำสืบ ว่า นาย สมชาย ผู้เช่า ยัง คง อยู่ ใน ที่ดินพิพาท และ อายัด ที่ดินพิพาท กับ ยื่น หนังสือ ต่อ คณะกรรมการเช่า ที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม ตำบล ราษฎร์นิยม ขอ ซื้อ ที่ดินพิพาท คืน จาก โจทก์ ที่ 1 เป็น การ รอนสิทธิ โจทก์ ต้อง ไป กู้เงิน ผู้อื่น มา ซื้อที่ดินพิพาท ต้อง เสีย ดอกเบี้ย แต่ ไม่สามารถ เข้า จัดการ ที่ดินพิพาท ได้ทำให้ เกิด ความเสียหาย ทั้ง ต้อง เสีย เงิน จ้าง ผู้อื่น เฝ้า ที่ดินพิพาทอีก ด้วย เห็นว่า จำเลย ที่ 1 นำ นาย เสน่ห์ ห่วงศรี เจ้าของ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 5857 ซึ่ง เป็น ที่ดินพิพาท แปลง หนึ่ง ตาม สัญญาจะซื้อจะขายเอกสาร หมาย จ. 13 มา เบิกความ เป็น พยาน จำเลย ว่า นาย เสน่ห์ ขาย ที่ดิน แปลง ดังกล่าว ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 และ จำเลย ที่ 1 ขาย ต่อ แก่ โจทก์ ที่ 1การ โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน นั้น นาย เสน่ห์ โอน ให้ โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 8ที่ดิน แปลง ดังกล่าว เดิม นาย สมชาย เช่า ทำนา อยู่ ก่อน ขาย ที่ดิน ดังกล่าว นาย เสน่ห์ แจ้ง ให้ นาย สมชาย ทราบ แล้ว นาย สมชาย ยินยอม ให้ ขาย ได้ โดย เรียก เอา ค่าตอบแทน 20,000 บาท ซึ่ง นาย เสน่ห์ ได้ จ่ายเงิน จำนวน ดังกล่าว แก่ นาย สมชาย แล้ว ที่ บ้าน นาย บุญเยี่ยม ดำสุวรรณ กำนัน ตำบล ราษฎร์นิยม ซึ่ง ที่ดินพิพาท ตั้ง อยู่ โดย นาย บุญเยี่ยม เป็น ผู้ทำ บันทึก เกี่ยวกับ การ รับ เงิน ดังกล่าว ปรากฏ ตาม เอกสาร หมาย ล. 5 ความ ข้อ นี้ นาย บุญเยี่ยม ก็ เบิกความ รับรอง และ นาย เสน่ห์ นำ เอกสาร หมาย ล. 5 มอบ แก่ โจทก์ ที่ 1ก่อน ที่นาย เสน่ห์ จะ จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน แก่ โจทก์ ที่ 1เมื่อ นาย เสน่ห์ มี บันทึก หลักฐาน การ เลิก เช่า นา ก็ ไม่มี เหตุผล อะไร ที่นาย เสน่ห์ จะ ไม่แสดง ต่อ โจทก์ ที่ 1 เพื่อ ให้ เห็น เสีย ก่อน มี การ โอน กรรมสิทธิ์ ว่า ที่ดิน ปลอด จาก ภาระ ผูกพัน ใด ๆ นอกจาก นี้โจทก์ ที่ 1 ยัง รู้ ดี ว่า รับโอน ที่ดินพิพาท ไป โดยชอบ ซึ่ง จะ เห็น ได้ จากเมื่อ คณะกรรมการ เช่า ที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม ตำบล วินิจฉัย ให้ นาย สมชาย มีสิทธิ ขอ ซื้อ ที่พิพาท คืน จาก โจทก์ ที่ 1 แล้ว โจทก์ ที่ 1 ก็ ได้ ยื่นอุทธรณ์ ต่อ คณะกรรมการ เช่า ที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม จังหวัด ยืนยัน ว่ารับโอน ที่ดินพิพาท โดยชอบ ผู้เช่า นา ทราบ ถึง การ ที่ เจ้าของ ที่นาขาย ที่นา แล้ว ผู้เช่า นา ไม่ประสงค์ จะซื้อ โดย ขอรับ เงิน ตอบแทน จากเจ้าของ ที่นา เป็น เงิน 20,000 บาท ผู้เช่า นา จึง ไม่มี สิทธิ ซื้อที่นา คืน ต่อมา คณะกรรมการ เช่า ที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม จังหวัด ได้ มีมติ ว่า โจทก์ ที่ 1 เป็น เจ้าของ ที่ดิน ให้ นาย สมชาย ออกจาก ที่ดิน ดังกล่าว ปรากฏ ตาม เอกสาร หมาย จ. 28 นอกจาก นี้ โจทก์ ที่ 1 ยัง นำสืบรับ ว่า จำเลย ที่ 1 พา ไป ดู ที่ดินพิพาท ขณะ ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย กันพบ ว่า ที่ดินพิพาท ทั้ง สอง แปลง ไม่มี การ ทำนา เป็น การ เจือสม กับ ข้อ นำสืบของ จำเลย ที่ 1 ที่ ว่า นาย เสน่ห์ ดำเนินการ ให้ นาย สมชาย ออก ไป จาก ที่ดินพิพาท ก่อน มี การ โอน กรรมสิทธิ์ กัน แล้ว การ ที่นาย สมชาย ยื่น หนังสือ อายัด การ ขาย ที่ดินพิพาท ต่อ นาย บุญเยี่ยม ซึ่ง โจทก์ ที่ 1อ้างว่า ได้รับ หนังสือ ดังกล่าว ของ นาย สมชาย ภายหลัง จาก การ ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ตาม เอกสาร หมาย จ. 22 แสดง ว่า หลังจากวันที่ 23 พฤศจิกายน 2531 ซึ่ง เป็น วัน ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความอันเป็น เวลา หลังจาก โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 8 จดทะเบียน รับโอน ที่ดินพิพาทตาม เอกสาร หมาย จ. 14 แล้ว นาน 1 ปี เศษ จึง เกิด กรณี นาย สมชาย ก่อเหตุ ละเมิด ต่อ โจทก์ ที่ 1 คือ เข้า ไป ทำนา ใน ที่ดินพิพาท ใหม่ หลังจากออก ไป แล้ว พยานหลักฐาน จำเลย ทั้ง สาม มี น้ำหนัก กว่า พยานโจทก์ ทั้ง แปดข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 มิได้ เป็น ผู้ ผิดสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาท ตาม เอกสาร หมาย จ. 13 จึง ไม่จำต้องรับผิดชอบ ใน ความเสียหาย ใด ๆ อัน เกิด แก่ โจทก์ ที่ 1 ไม่จำต้องวินิจฉัย ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ข้อ อื่น อีก ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษายืนตาม กัน มา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ชดใช้ เบี้ยปรับ พร้อม ดอกเบี้ย แก่ โจทก์ ทั้ง แปดนั้น ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา จำเลย ทั้ง สาม ฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 8

Share