คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

เมื่อจำเลยได้ทำถนนขึ้นมาใหม่เพื่อใช้เป็นทางสัญจรเข้าออกทางสาธารณะของประชาชนในหมู่บ้านเชื่อมต่อระหว่างถนนสาธารณะเดิมกับที่ดินของโจทก์แล้วยกให้แก่เทศบาลทำให้ที่ดินของโจทก์ซึ่งเคยเป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินของจำเลยและเดิมไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะกลับมีทางออกสู่สาธารณะโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาที่ดินของจำเลยเพื่อใช้เป็นทางผ่านออกไปสู่ทางสาธารณะได้อีก

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย รื้อถอน รั้ว และ เปิด ทาง ยอม ให้ โจทก์และ บริวาร ผ่าน ที่ดิน ของ จำเลย ทาง ด้าน ทิศใต้ กว้าง 4 เมตร ยาว ตลอด แนวที่ดิน ออก ไป สู่ ทางสาธารณะ พร้อม ทั้ง ยอม ให้ โจทก์ จัด สาธารณูปโภค ต่าง ๆผ่าน ที่ดิน ของ จำเลย เข้า มา ยัง ที่ดิน ของ โจทก์ ให้ จำเลย จดทะเบียนทาง จำเป็น ต่อ เจ้าพนักงาน เจ้าหน้าที่ หาก ไม่ปฏิบัติ ตาม ขอให้ ถือเอาคำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย
จำเลย ให้การ ว่า บริเวณ ใกล้เคียง ที่ดิน ของ จำเลย และ โจทก์มี ทางเดิน เข้า ออก สู่ ทางสาธารณะ อยู่ ก่อน แล้ว หลาย ทาง และ ปัจจุบันก็ ยัง ใช้ ได้ อยู่ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟังได้ เป็น ยุติตาม ที่ คู่ความ รับ และ ไม่ โต้เถียง กัน ว่า เดิม ที่ดิน โฉนด เลขที่ 30123ตำบล เวียง อำเภอ เมือง เชียงราย จังหวัด เชียงราย เนื้อที่ 3 งาน 48 8/10 ตารางวา เป็น กรรมสิทธิ์ ของ นาย ดวงจันทร์ หมูชินะ ต่อมา นาย ดวงจันทร์ ขาย ส่วน หนึ่ง ของ ที่ดิน แปลง นี้ เนื้อที่ 2 งาน ให้ แก่ โจทก์ โดย ชั้น แรก ยอม ให้ โจทก์ ถือ กรรมสิทธิ์รวม ภายหลัง ได้ แบ่งแยกกรรมสิทธิ์ ที่ดิน ดังกล่าว ให้ แก่ โจทก์ เป็น โฉนด เลขที่ 33320 และ ขายที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ เนื้อที่ 1 งาน 48 8/10 ตารางวา ให้ แก่ จำเลยตาม โฉนด ที่ดิน เอกสาร หมาย จ. 1 และ จ. 2 คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกาของ โจทก์ ว่า โจทก์ มีสิทธิ เรียกร้อง เอา ที่ดิน ของ จำเลย เพื่อ ใช้ เป็นทางผ่าน ออก ไป สู่ ทางสาธารณะ หรือไม่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1349 วรรคแรก บัญญัติ ว่า “ที่ดิน แปลง ใด มี ที่ดิน อื่น ล้อม อยู่จน ไม่มี ทาง ออก ถึง ทางสาธารณะ ได้ ไซร้ ท่าน ว่า เจ้าของ ที่ดิน แปลง นั้นจะ ผ่าน ที่ดิน ซึ่ง ล้อม อยู่ ไป สู่ ทางสาธารณะ ได้ ”
มาตรา 1350 บัญญัติ ว่า “ถ้า ที่ดิน แบ่งแยก หรือ แบ่ง โอน กันเป็นเหตุ ให้ แปลง หนึ่ง ไม่มี ทาง ออก ไป สู่ ทางสาธารณะ ไซร้ ท่าน ว่าเจ้าของ ที่ดิน แปลง นั้น มีสิทธิ เรียกร้อง เอา ทางเดิน ตาม มาตรา ก่อนได้ เฉพาะ บน ที่ดิน แปลง ที่ ได้ แบ่งแยก หรือ แบ่ง โอน กัน และ ไม่ต้องเสีย ค่าทดแทน ”
ตาม บทบัญญัติ ดังกล่าว จะ เห็น ได้ว่า เจ้าของ ที่ดิน แปลง ที่ แบ่งแยกหรือ แบ่ง โอน จะ มีสิทธิ เรียกร้อง เอา ทางเดิน บน ที่ดิน แปลง ที่ ได้ แบ่งแยกหรือ แบ่ง โอน กัน ได้ ก็ ต่อเมื่อ ไม่มี ทาง ออก ไป สู่ ทางสาธารณะ
ข้อเท็จจริง ได้ความ ตาม คำร้องขอ ให้ คุ้มครอง ชั่วคราว ก่อน มีคำพิพากษา และ คำร้องขอ ไต่สวน ฉุกเฉิน ของ โจทก์ ลงวันที่ 20 มกราคม 2535ว่า จำเลย ได้ ขุด ขยาย ลำเหมือง สาธารณะ สำหรับ ใช้ เป็น ทางระบายน้ำซึ่ง อยู่ ติดกับ ที่ดิน โจทก์ ทาง ด้าน ทิศเหนือ และ วาง ท่อระบายน้ำ ตามลำเหมือง ดังกล่าว เพื่อ ทำ เป็น ถนน ขึ้น มา ใหม่ เชื่อม ต่อ ระหว่างถนน สาธารณะ เดิม กับ ที่ดิน ของ โจทก์ ด้าน ทิศ ดังกล่าว ยาว ประมาณ 15 เมตรตาม ภาพถ่าย ท้าย คำร้อง การกระทำ ของ จำเลย เป็น การ ใช้ สิทธิ สู้ คดีโดย ไม่สุจริต ทำให้ ที่ดิน ของ โจทก์ ซึ่ง ไม่มี ทาง ออก สู่ ทางสาธารณะกลับ มี ทาง ออก สู่ ทางสาธารณะ หาก ให้ จำเลย ดำเนินการ ก่อสร้าง ต่อไปจะ ทำให้ โจทก์ เสียเปรียบ ใน การ ต่อสู้ คดี จึง ขอให้ ศาล มี คำสั่ง ห้าม จำเลยและ บริวาร กระทำการ ดังกล่าว ไว้ ก่อน จนกว่า คดี จะ ถึงที่สุด ศาลชั้นต้นมี คำสั่ง ให้ยก คำร้อง กรณี จึง ต้อง ฟัง ว่า จำเลย ได้ ดำเนินการ ก่อสร้างต่อไป จน แล้ว เสร็จ อันเป็น การ สอดคล้อง กับ ข้อ นำสืบ ของ จำเลย ที่ ว่าหลังจาก โจทก์ ยื่นฟ้อง คดี นี้ และ โจทก์ ไม่ยอม ทำ ทาง เข้า ออก ถนน สาธารณะทาง ด้าน ทิศเหนือ ของ ที่ดิน โจทก์ ตาม ข้อเสนอ ของ จำเลย แล้ว จำเลย จึง ยื่นคำร้อง ต่อ เทศบาล เมือง เชียงราย ขออนุญาต วาง ท่อระบายน้ำ ใน ลำเหมืองสาธารณะ ทาง ด้าน ทิศเหนือ ของ ที่ดิน โจทก์ และ ถม เป็น ถนน เพื่อ ใช้ เป็น ทางสัญจร เข้า ออก ทางสาธารณะ ของ ประชาชน ใน หมู่บ้าน โดย จำเลย เป็นผู้ดำเนินการ เอง และ ยกให้ แก่ เทศบาล เมือง เชียงราย เทศบาล เมือง เชียงรายอนุญาต จำเลย ทำการ ก่อสร้าง เป็น ถนน กว้าง 4.70 เมตร ยาว 20 เมตรเสร็จ เรียบร้อย แล้ว ตาม คำร้อง เอกสาร หมาย ล. 6 และ ภาพถ่าย หมาย ล. 7ซึ่ง เมื่อ พิจารณา ตาม ภาพถ่าย ท้าย คำร้องขอ งโจทก์ ดังกล่าว ข้างต้นประกอบ กับ ภาพถ่าย หมาย ล. 7 จะ เห็น ได้ว่า จำเลย ทำการ ก่อสร้าง ถนนที่ ได้รับ อนุญาต จาก เทศบาล เมือง เชียงราย เสร็จ เรียบร้อย แล้ว จริงหาใช่ ยัง ทำการ ก่อสร้าง ไม่ เสร็จ ดัง ที่ โจทก์ กล่าวอ้าง มา ใน ฎีกา ไม่ฉะนั้น ข้อเท็จจริง จึง รับฟัง ได้ว่า ปัจจุบัน ที่ดิน ของ โจทก์ มี ทาง ออก ไปสู่ ทางสาธารณะ ได้ เมื่อ กรณี เป็น เช่นนี้ แม้ ที่ดิน ของ โจทก์โฉนด เลขที่ 33320 จะ ถูก แบ่งแยก มาจาก ที่ดิน โฉนด เลขที่ 30123ของ จำเลย โจทก์ ก็ ไม่มี สิทธิเรียกร้อง เอา ที่ดิน ของ จำเลย เพื่อ ใช้ เป็นทางผ่าน ออก ไป สู่ ทางสาธารณะ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1350 คดี ไม่จำต้อง วินิจฉัย ปัญหา ตาม ฎีกา ข้อ อื่น ของ โจทก์อีก ต่อไป ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา ต้อง กัน มา นั้น ชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้อง ด้วย ใน ผล ฎีกา ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share