คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1021/2506

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

จำเลยปลอมหนังสือในหน้าที่ตนมีความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 229 มีอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิด แต่เมื่อประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด จึงต้องใช้มาตรา 161 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเป็นบทลงโทษและในบทความผิดที่จะใช้แก่จำเลยนี้ไม่มีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำไว้ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็ลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องฟังพยานโจทก์.

ย่อยาว

คดีนี้ โจทก์ฟ้องจำเลยเป็น ๓ สำนวน ศาลรวมพิจารณา ได้ความว่า โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทุจริตต่อหน้าที่ ยักยอกทรัพย์ และปลอมหนังสือ ระหว่างตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๐ ถึง ปลาย พ.ศ.๒๔๙๙ ขอให้ลงโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา +,+,+
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะอาญา พงศ.๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒) มาตรา ๓ (ฉบับที่ ๕) มาตรา ๓ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๔๗,๑๖๑,๒๖๖ และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.๒๕๐๒ มาตรา ๓ ขอให้นับโทษต่อ และขอให้คืนหรือใช้เงิน ๕๐,๑๘๓.+๓ บาท
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง
คู่ความต่างแถลงไม่สืบพยาน
ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยทำผิดจริง พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง แต่ในวางโทษตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา +++,๒๒๕ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๖๑ ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยและให้ลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา ๑๓๑ ซึ่งเป็นกระทงหนักกระทงเดียว ลดรับสารภาพกึ่งหนึ่งตามมาตรา ๗๘ ให้นับโทษต่อและให้คืนหรือใช้เงิน
จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยฎีกาว่า ข้อหาตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา ๒๒๙ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะอาญา พ.ศ.๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๕) มาตรา ๓ มีกำหนดโทษคั่นต่ำตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไป เมื่อโจทก์ไม่สืบพยาน จะลงโทษจำเลยไม่ได้
ศาลฎีกาเห็นว่า ข้อหาปลอมหนังสือในหน้าที่ของตนตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา ๒๒๙ ที่จำเลยฎีกานั้นเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิด แตกต่างกันประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๖๑ ที่ใช้ในภายหลัง โดยมีอัตราโทษแตกต่างกัน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓ ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด ฉะนั้น ในความผิดนี้จึงต้องใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๖๑ เป็นบทลงโทษ ในบทความผิดที่จะใช้แก่จำเลยนี้ไม่มีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำไว้ ส่วนพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะอาญา+ที่จำเลยฎีกากำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้เพียง ๑ ปี เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลจึงลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องฟังพยานโจทก์.
พิพากษายืน.

Share