คำสั่งคำร้องที่ 975/2539

แหล่งที่มา : เนติบัณฑิตยสภา

ย่อสั้น

จำเลยยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 2 อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง พร้อมกับยื่นฎีกาภายในกำหนดอายุฎีกาโดยมิได้เจาะจงให้ผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งสั่งโดยเฉพาะแม้ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนจะมีคำสั่งไม่อนุญาต ให้จำเลยฎีกาก็ตามก็ยังต้องส่งคำร้องดังกล่าวไปให้ ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาสั่งด้วย ส่วนกรณีที่จำเลยต้องการให้อัยการสูงสุด ลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาด้วยนั้นเป็นเรื่องที่จำเลย จะต้องไปร้องขอด้วยตนเอง ศาลไม่มีหน้าที่ดำเนินการให้

ย่อยาว

ความ ว่า จำเลย ฎีกา ว่า ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่า ฎีกา ของ จำเลย เป็น ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้าม ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 และ ผู้พิพากษา ใน ศาลชั้นต้น ซึ่ง พิจารณา คดี นี้ ก็ ไม่อนุญาต ให้ ฎีกา ตาม ที่ ขอ มา จึง ไม่รับ ฎีกา
จำเลย เห็นว่า จำเลย ยื่น คำร้องขอ ให้ พิพากษา ที่ พิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 หรือ อธิบดี กรมอัยการ รับรอง ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง การ ที่ ผู้พิพากษา ที่ พิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้น เพียง ท่าน เพียว ไม่อนุญาต ให้ ฎีกา โดย ที่ ท่าน อื่น ๆ ที่ จำเลย ขอให้ รับรอง ฎีกา ยัง ไม่ได้ รับทราบ คำร้อง ของ จำเลย คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ยัง คลาดเคลื่อน อยู่ โปรด มี คำสั่ง รับ ฎีกา ของ จำเลย ด้วย
หมายเหตุ โจทก์ ยัง ไม่ได้ รับ สำเนา คำร้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 จำเลย อายุ 16 ปี เศษ ลด มาตรา ส่วน โทษ ให้ กึ่งหนึ่ง ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75 จำคุก 1 ปี จำเลย ให้การรับสารภาพ เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา ลดโทษ ให้ กึ่งหนึ่ง คง จำคุก 6 เดือน ให้ นับ โทษ ต่อ จาก โทษ ของ จำเลย ใน คดี หมายเลขดำ ที่ 1365, 1367/2536 ของ ศาลชั้นต้น
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน ( นับ โทษ ต่อ จาก โทษ ของ จำเลย ใน คดีอาญา หมายเลขแดง ที่ 1353, 1355/2536 ของ ศาลชั้นต้น )
จำเลย ฎีกา พร้อม ยื่น คำร้องขอ ให้ ผู้พิพากษา ที่ พิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 หรือ อธิบดี กรมอัยการ รับรอง ฎีกา ศาลชั้นต้น สั่ง คำร้อง ว่า ตาม คำร้อง นี้ ไม่แจ้งชัด ว่า จะ ขอให้ ผู้พิพากษา หรือ อธิบดี กรมอัยการ ผู้หนึ่ง ผู้ใด เป็น ผู้อนุญาต หรือ ผู้รับรอง แต่ ใน ส่วน ของ ข้าพเจ้า พิเคราะห์ แล้ว ไม่อนุญาต ให้ ยื่นฎีกา ให้ยก คำร้อง และ มี คำสั่ง ไม่รับ ฎีกา ดังกล่าว ( อันดับ 41 แผ่น ที่ 2, ที่ 1)
จำเลย จึง ยื่น คำร้อง นี้ ( อันดับ 44)

คำสั่ง
พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า จำเลย ยื่น คำร้องขอ ให้ ผู้พิพากษา ซึ่ง พิจารณา และ ลงชื่อ ใน คำพิพากษา ใน ศาลชั้นต้น หรือ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 อนุญาต ให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง พร้อม กับ ยื่นฎีกา ภายใน กำหนด อายุ ฎีกา โดย มิได้ เจาะจง ให้ ผู้พิพากษา คนใด คนหนึ่ง สั่ง โดยเฉพาะ แม้ ผู้พิพากษา เจ้าของ สำนวน จะ มี คำสั่ง ไม่อนุญาต ให้ จำเลย ฎีกา ก็ ตาม ก็ ยัง ต้อง ส่ง คำร้อง ดังกล่าว ไป ให้ ผู้พิพากษา ซึ่ง ลงชื่อ ใน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิจารณา สั่ง ด้วย ดังนั้น การ ที่ ผู้พิพากษา เจ้าของ สำนวน มี คำสั่ง ไม่อนุญาต ให้ จำเลย ฎีกา และ สั่ง ไม่รับ ฎีกา ของ จำเลย โดย ที่ ยัง มิได้ ส่ง คำร้อง ดังกล่าว ให้ ผู้พิพากษา ซึ่ง ลงชื่อ ใน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิจารณา สั่ง เสีย ก่อน จึง เป็น การ ไม่ชอบ ส่วน กรณี ที่ จำเลย ต้องการ ให้ อัยการ สูงสุด ลง ลายมือ ชื่อ รับรอง ใน ฎีกา ด้วย นั้น เป็น เรื่อง ที่ จำเลย จะ ต้อง ไป ร้องขอ ด้วย ตนเอง ศาล ไม่มี หน้าที่ ดำเนินการ ให้
จึง ให้ เพิกถอน คำสั่งศาล ชั้นต้น ที่ ไม่รับ ฎีกา ของ จำเลย ให้ ศาลชั้นต้น ส่ง คำร้องขอ อนุญาต ให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ไป ให้ ผู้พิพากษา ซึ่ง ลงลายมือชื่อ ใน คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิจารณา สั่ง แล้ว ให้ ศาลชั้นต้น สั่ง ฎีกา ของ จำเลย ใหม่

Share