แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ความว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 ฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งว่า คดีนี้ จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึง ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นข้อเท็จจริงทั้งสิ้น จึงไม่รับฎีกา
จำเลยที่ 2 ที่ 3 เห็นว่า ทุนทรัพย์ที่จะถือเป็นหลักในการ ฎีกาได้หรือไม่นั้นให้ถือทุนทรัพย์ที่โจทก์เรียกร้องมา ในศาลชั้นต้นเป็นเกณฑ์ ซึ่งคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกร้องมาสำนวนละ สี่แสนบาทเศษ จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงฎีกาข้อเท็จจริงได้และฎีกา ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายด้วย โปรดมีคำสั่ง ให้รับฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไว้พิจารณาต่อไป
หมายเหตุ โจทก์ทั้งสี่ยังไม่ได้รับสำเนาคำร้อง
คดีทั้งสองสำนวนนี้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษารวมกันโดยให้เรียกโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ในสำนวนแรกว่า โจทก์ที่ 1 ที่ 2เรียกโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ในสำนวนหลังว่า โจทก์ที่ 3 ที่ 4
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินจำนวน 190,000 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 พร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ(ฟ้องวันที่ 28 กันยายน 2532) ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินจำนวน 190,000 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 3 ที่ 4 พร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ(ฟ้องวันที่ 28 กันยายน 2532)
จำเลยที่ 2 ที่ 3 ฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าว(อันดับ 182)
จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงยื่นคำร้องนี้ โดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล ศาลชั้นต้นให้ส่งศาลฎีกาสั่ง (อันดับ 185 และ 203)
คำสั่ง
เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ยื่นคำร้อง อุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกา โดยมิได้นำค่าฤชา ธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาล และนำเงินมาชำระตามคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา จึงเป็นการ ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 ประกอบด้วยมาตรา 247 ให้ยกคำร้อง