แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ความว่า โจทก์ที่ 1 ยื่นฎีกาฉบับลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2535ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ที่ 1 ยื่นฎีกา โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม จึงไม่รับ โจทก์ที่ 1 จึงนำ ค่าธรรมเนียมมาชำระและยื่นฎีกาฉบับลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2535 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ฎีกาของโจกท์ ที่ 1 ไม่มีข้อใดคัดค้าน คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เพียงแต่อ้างว่าศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัย ถึงคดีหมายเลขแดงที่ 1607/2531ซึ่งศาลมิได้สั่งรวมพิจารณา กับคดีนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ฎีกาของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ชอบ ไม่รับฎีกา
โจทก์ที่ 1 เห็นว่า เมื่อโจทก์ที่ 1 ได้ชำระค่าธรรมเนียมครบถ้วนแล้วศาลชั้นต้นควรจะสั่งรับฎีกาของโจทก์ที่ 1 และการที่ศาลอุทธรณ์ไม่พิจารณาพิพากษาคดีหมายเลข พ.1934/2532ของศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นต้นเรื่องของคดีที่ฟ้องขับไล่นี้ เป็นการไม่ชอบ อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย โปรดรับฎีกาของโจทก์ที่ 1 ไว้พิจารณาด้วย
หมายเหตุ จำเลยยังไม่ได้รับสำเนาคำร้อง (อันดับ 79)
คดีหมายเลขดำที่ 1564/2531 และคดีหมายเลขดำที่ 1565/2531 ศาลชั้นต้นรวมพิจารณาและพิพากษาเข้าด้วยกัน โดยให้เรียกโจทก์ ในคดีแรกว่า โจทก์ที่ 1 โจทก์ในคดีหลังว่าโจทก์ที่ 2 เรียก จำเลยทั้งสองสำนวนว่า จำเลย
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์และยื่นคำแถลงฉบับลงวันที่ 16มกราคม 2534 ขอให้ศาลอุทธรณ์นำคดีหมายเลขดำที่ พ.1934/2532ของศาลอุทธรณ์มาพิจารณาและพิพากษารวมกับคดีทั้งสองนี้(อันดับ 45,65)
ระหว่างอุทธรณ์ โจทก์ที่ 1 ยื่นคำร้องว่าจำเลยถึงแก่กรรมส่วนโจทก์ที่ 2 ยื่นคำร้องขอถอนอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จำหน่ายคดีของโจทก์ที่ 2 ส่วนโจทก์ที่ 1 ซึ่งฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนสิทธิอาศัย อันเป็นสิทธิเฉพาะตัวของจำเลยไม่อาจโอนกันได้แม้ทางมรดก เมื่อฟังว่าจำเลยตายคดีย่อมไม่มีประโยชน์ ที่จะวินิจฉัยอีกต่อไป จึงพิพากษาให้จำหน่ายคดีของโจทก์ที่ 1
โจทก์ที่ 1 ฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าว (อันดับ 74,77)
โจทก์ที่ 1 ยื่นคำร้องนี้ (อันดับ 79)
คดีหมายเลขดำที่ 881/2531 ของศาลชั้นต้น หรือคดีหมายเลขดำที่ พ.1934/2532 ของศาลอุทธรณ์ที่โจทก์อ้างถึงศาลอุทธรณ์ ไม่ได้มีคำสั่งให้รวมพิจารณาพิพากษาในสำนวนนี้
คำสั่ง
พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า การที่ศาลอุทธรณ์ไม่มีคำสั่งให้รวมการพิจารณาคดีทั้งสองสำนวนนี้เข้ากับคดีหมายเลขพ.1934/2532 ของศาลอุทธรณ์ตามที่โจทก์ที่ 1 ขอ แล้วพิพากษาหรือมีคำสั่งคดีทั้งสองสำนวนนี้เสร็จไปแล้ว แสดงว่าศาลอุทธรณ์ ใช้ดุลพินิจในการไม่สั่งให้รวมพิจารณา โจทก์ที่ 1จึงไม่มีเหตุ ที่จะฎีกาให้ศาลอุทธรณ์รวมพิจารณาคดีดังกล่าวด้วยกันอีก เพราะคดีทั้งสองสำนวนนี้ได้มีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งเสร็จไปแล้ว ที่ศาลชั้นต้นไม่รับฎีกาของโจทก์ที่ 1 นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ให้ยกคำร้อง