คำสั่งคำร้องที่ 333/2537

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ความว่า จำเลยอุทธรณ์ พร้อมกับยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า อุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 ไม่รับอุทธรณ์ และสั่งคำร้องว่า ศาลมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยจึงมีคำสั่งไม่รับคำร้องขอทุเลาการบังคับของจำเลย
จำเลยเห็นว่า อุทธรณ์ข้อ 2.1 ที่ว่า ศาลแรงงานกลางยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นสำคัญแห่งคดีครบทุกข้อ คำพิพากษา ของศาลแรงงานกลางจึงขัดต่อกฎหมายและข้อ 2.2ที่ว่า กรณีพิพาทในคดีนี้มีการฟ้องเป็นคดีอาญาด้วย ศาลแรงงานกลางจะต้อง รอผลในคดีอาญาให้ถึงที่สดุ เสียก่อนจึงจะพิพากษาคดีได้ เป็นปัญหาข้อกฎหมาย โปรดมีคำสั่งรับอุทธรณ์และคำขอขอทุเลา การบังคับไว้พิจารณาต่อไป
หมายเหตุ โจทก์ยังไม่ได้รับสำเนาคำร้อง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าค่าเสียหาย ค่าล่วงเวลา และค่าชดเชย จากการที่จำเลย เลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ย
ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระสินจ้างแทนการบอกกล่าว ล่วงหน้าจำนวน 9,349 บาท ค่าชดเชยจำนวน 25,500 บาท ค่าล่วงเวลาจำนวน 1,080.12 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตรา ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงินทั้งหมดนับแต่วันฟ้อง(วันที่ 1 มิถุนายน 2536) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจำนวน 10,000 บาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษา (วันที่ 30 ธันวาคม 2536) เป็นต้นไปจนกว่า จะชำระเสร็จ คำขออย่างอื่นนอกจากนี้ให้ยกเสีย
จำเลยอุทธรณ์ พร้อมกับยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับศาลแรงงานกลางมีคำสั่งดังกล่าว (อันดับ 41,42)
จำเลยจึงยื่นคำร้องนี้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยมิได้วางเงินหรือหาประกันต่อศาล ให้รวบรวมถ้อยคำสำนวนส่งศาลฎีกา เพื่อพิจารณาสั่งต่อไป (อันดับ 43)
ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องขอวางหลักประกันการชำระหนี้ตาม คำพิพากษาในการยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่ารวมสำนวนส่งศาลฎีกา (อันดับ 46)

คำสั่ง
พิเคราะห์แล้ว ที่จำเลยอุทธรณ์ข้อแรกว่า ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่ว่า โจทก์ร่วมกับพวกลักทรัพย์ของจำเลยหรือไม่ แต่มิได้วินิจฉัยว่ามีการลักหรือทรัพย์ของจำเลยหายไปหรือไม่ เพราะถ้ามีก็ต้อง ถือว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ทำให้จำเลยเสียหายนั้น เห็นว่าแท้ที่จริงแล้วเป็นเรื่องที่จำเลยยกเอาข้อเท็จจริง ซึ่งรวมอยู่ในประเด็นที่ว่า โจทก์ร่วมกับพวกลักทรัพย์ของจำเลยหรือไม่มาอุทธรณ์ เพื่อให้ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์กระทำผิดประเด็นดังกล่าวศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยแล้วว่าโจทก์ มิได้กระทำผิด อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหา ข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 สำหรับอุทธรณ์ ข้อที่สองก็เป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ศาลแรงงานกลางไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองข้อชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง

Share