แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ความว่า จำเลยที่ 2 ฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งว่า ฎีกาของจำเลยที่ 2 อ่านแล้ว เป็นฎีกาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 จึงมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 2
จำเลยที่ 2 เห็นว่า ฎีกาของจำเลยที่ 2 เป็นประเด็นปัญหา ในเรื่องการกระทำเป็นประมาทหรือไม่ แม้เป็นคดีที่ต้องห้ามฎีกา ในข้อเท็จจริง แต่ได้มีฎีกาที่ 860/2512 ได้วินิจฉัยไว้ว่า ปัญหาที่ว่าการกระทำเป็นประมาทหรือไม่ แม้เป็นคดีที่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงศาลฎีกาก็รับไว้วินิจฉัยได้โปรดมี คำสั่งให้รับฎีกาของจำเลยที่ 2 ไว้พิจารณาต่อไป
หมายเหตุ โจทก์ได้รับสำเนาคำร้องแล้ว (อันดับ 67)
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 จำเลยที่ 2 ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 และจำเลยทั้งสองผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พุทธศักราช 2522 มาตรา 43,157เป็นความผิดกรรมเดียว ลงโทษจำเลยที่ 1 จำคุก 15 วัน ปรับ1,000 บาท จำเลยที่ 2 จำคุก 1 เดือน ปรับ 3,000 บาท โทษจำคุกรอไว้ 1 ปี ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 29,30
จำเลยที่ 2 ฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าว (อันดับ 66)
จำเลยที่ 2 จึงยื่นคำร้องนี้ (อันดับ 67)
คำสั่ง
พิเคราะห์แล้ว ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ลงโทษจำเลยที่ 2 จำคุก 1 เดือน และปรับ 3,000 บาท โทษจำคุก รอไว้ 1 ปี จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์เลี้ยวขวาโดย ได้สัญญาณไฟเขียว ไม่ได้ขับรถโดยประมาท แต่จำเลยที่ 1 ขับ รถจักรยานยนต์โดยประมาท เป็นการเถียงดุลพินิจใน การรับฟังพยานหลักฐานของศาล จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรกศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 2ชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง