แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ความว่า โจทก์อุทธรณ์ ศาลแรงงานกลางสั่งว่า อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธี พิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 จึงไม่รับ
โจทก์เห็นว่า โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาที่ว่า ศาลแรงงานกลางรับฟังพยานคู่ของจำเลยทั้งสองขัดต่อ กฎหมายว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐาน คำสั่งของจำเลยที่ 1 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่ได้กระทำผิดและไม่ได้ ขัดคำสั่งของจำเลยที่ 1การว่ากล่าวตักเตือนของจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ไม่ชอบด้วยระเบียบข้อบังคับการปฏิบัติงาน ของจำเลยที่ 1 และการตีความข้อตกลงแห่งระเบียบ ข้อบังคับการปฏิบัติงานพิพาทของศาลแรงงานกลางชอบหรือไม่ และศาลแรงงานกลางฟังพยานหลักฐานขัดต่อกฎหมายหรือไม่ ทั้งหมดนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมาย รวมทั้งการเลิกจ้างโดย ไม่บอกกล่าวล่วงหน้าเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ของประชาชน อันเป็นข้อยกเว้นที่โจทก์มีสิทธิ ยกขึ้นอ้างอิงในอุทธรณ์ได้โปรดมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ ของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษาต่อไปด้วย
หมายเหตุ จำเลยทั้งสองแถลงคัดค้าน (อันดับ 54)
ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินค่าชดเชยจำนวน 2,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้อง (วันที่ 23 มีนาคม 2537) จนกว่าจะจ่ายเงิน เสร็จแก่โจทก์ คำขอนอกจากนี้ให้ยก
โจทก์อุทธรณ์ ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าว (อันดับ 45)
โจทก์จึงยื่นคำร้องนี้ (อันดับ 47)
คำสั่ง
คดีนี้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงน่าเชื่อ ตามที่จำเลยนำสืบมาว่าโจทก์ไม่ออกไปดูแลควบคุมการทำงานของพนักงานในโรงงาน และดูแลให้พนักงานปฏิบัติ ตามระเบียบข้อบังคับในการทำงานของจำเลยตามหน้าที่ของโจทก์ และจำเลยได้ตักเตือนโจทก์หลายครั้งแล้วแต่โจทก์ก็เพิกเฉย การกระทำของโจทก์จึงเป็นการจงใจขัดคำสั่งของจำเลย อันชอบด้วยกฎหมาย และละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งของจำเลย เป็นอาจิน พฤติการณ์ของโจทก์ทำให้จำเลยขาดความไว้วางใจ ไม่เหมาะสมที่จะให้โจทก์ทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้จัดการโรงงานต่อไป การเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม โจทก์เรียกค่าเสียหายไม่ได้ ส่วนเงินสวัสดิการประจำตำแหน่ง จำเลยนำสืบได้ว่า จ่ายรวมเป็นเงินเดือนให้โจทก์ไปแล้ว โจทก์อุทธรณ์ว่า พยานจำเลยฟังไม่ได้ว่า โจทก์จงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย และละเลยไม่นำพา ต่อคำสั่งของจำเลยเป็นอาจิณ จำเลยไม่นำสืบถึงการตักเตือน ด้วยลายลักษณ์อักษร โจทก์ไม่ได้กระทำผิดร้ายแรงและไม่ได้รับคำตักเตือนจากจำเลยการเลิกจ้างของจำเลยจึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายส่วนเงินสวัสดิการประจำตำแหน่งแยกออกจากเงินเดือนประจำ โจทก์ควรได้รับเงินจำนวนนี้อีก เป็นการ โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 ที่ศาลแรงงานกลางสั่งไม่รับ อุทธรณ์ชอบแล้วให้ยกคำร้อง