แหล่งที่มา : เนติบัณฑิตยสภา
ย่อสั้น
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามเช็คอ้างว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คจำนวน1,400,000บาทให้โจทก์เป็นการชำระหนี้บางส่วนตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทแต่โจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินตามเช็คแก่โจทก์คดีถึงที่สุดส่วนคดีแพ่งของศาลจังหวัดมีนบุรีที่ท.สามีจำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทขอให้ชำระมัดจำคืนจำนวน1,800,000บาทศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคู่กรณีต่างได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกันแล้วจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมพิพากษาให้โจทก์คืนมัดจำจำนวน1,800,000บาทแก่ท.ตามคำพิพากษาดังกล่าวมีความหมายว่าโจทก์คดีนี้จำต้องคืนเช็คให้แก่ท.ด้วยแต่เนื่องจากจำเลยคดีนี้ได้มีคำสั่งระงับการจ่ายเงินแล้วท.จึงมิได้มีคำขอคืนเงินเกี่ยวกับเช็คหรือให้คืนเช็คดังนี้ถือว่าคำพิพากษาคดีทั้งสองเรื่องเกิดจากมูลหนี้ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินฉบับเดียวกันต่างกล่าวถึงการปฏิบัติชำระหนี้อันแบ่งแยกจากกันไม่ได้ที่ศาลชั้นต้นคดีนี้พิพากษาให้จำเลยชำระเงินตามเช็คซึ่งเป็นการชำระราคาที่ดินพิพาทบางส่วนจึงขัดกับคำพิพากษาฎีกาในคดีดังกล่าวซึ่งวินิจฉัยว่าสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทอันเลิกกันแล้วและคู่สัญญาจะต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมจึงต้องถือตามคำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลที่สูงกว่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา146วรรคหนึ่งโจทก์จึงไม่อาจบังคับเอาแก่จำเลยตามคำพิพากษาคดีนี้ได้
ย่อยาว
ความ ว่า เนื่องจาก คดี นี้ มีมูล หนี้ ราย เดียว กับ คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 521/2534 ของ ศาลจังหวัด มีนบุรี ซึ่ง สามี จำเลย ได้ เป็น โจทก์ ฟ้องโจทก์ ใน คดี นี้ เป็น จำเลย ใน ฐาน ผิดสัญญา จะซื้อจะขาย ที่ดิน ซึ่ง เป็น มูลหนี้ เดียว กัน กับ คดี นี้ และ ศาลฎีกา ใน คดี ดังกล่าว ได้ วินิจฉัย ให้ คู่กรณี คือ สามี จำเลย และ โจทก์ ใน คดี นี้ ไม่มี มูลหนี้ ที่ จะ ต้อง ชำระ ต่อ กัน และ ให้ กลับคืน สู่ ฐานะ เดิม โดย ให้ สามี จำเลย รับ คืนเงิน ที่ วาง มัดจำ ไว้ ดังนี้ มีผล ทำให้ คดี ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ใน คดี นี้ เป็น อัน ยุติ ไป ด้วย เพราะ ใน การ ปฏิบัติการ ชำระหนี้ ของ ทั้ง สอง คดี ไม่สามารถ แยก จาก กัน ได้ แม้ ว่า คำพิพากษา ของ ศาลจังหวัด มีนบุรี จะ แตกต่าง กับ คำพิพากษา ใน คดี นี้ แต่ มูลหนี้ ทั้ง สอง คดี ก็ เป็น มูลหนี้ ราย เดียว กัน จำเลย จึง เห็นว่า ศาล ควร ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาลฎีกา ใน คดี ดังกล่าว เพื่อ เป็น ข้อ ยุติ ใน คดี นี้ ขอให้ ศาลฎีกา โปรด วินิจฉัย และ มี คำสั่ง กำหนด ใน กรณี คำพิพากษา ของ ทั้ง สอง ศาล ต่างกัน จะ ถือ ตาม คำพิพากษา ใด โปรด อนุญาต
หมายเหตุ โจทก์ ได้รับ สำเนา คำร้อง แล้ว ( สำนวน ที่ 2 อันดับ 12)
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน 1,400,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 4 มิถุนายน 2533 ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ คดีถึงที่สุด ต่อมา จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม คำพิพากษา โจทก์ จึง นำ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ยึด ที่ดิน โฉนด เลขที่ 10852 แขวง บาง ชัน เขต มีนบุรี ( เมือง ) กรุงเทพมหานคร ของ จำเลย เพื่อ บังคับ ชำระหนี้ ตาม คำพิพากษา
จำเลย ยื่น คำร้อง ว่า เนื่องจาก คดี นี้ มีมูล หนี้ เดียว กัน กับ คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 521/2534 ของ ศาลจังหวัด มีนบุรี ซึ่ง ใน คดี ดังกล่าว สามี จำเลย ได้ ฟ้องโจทก์ ใน คดี นี้ ใน เรื่อง ผิดสัญญา จะซื้อขาย ที่ดิน จำเลย และ สามี จึง แจ้ง ระงับ การ จ่ายเงิน ตามเช็ค ซึ่ง เป็น ส่วน หนึ่ง ของ มัดจำ เป็นเหตุ ให้ โจทก์ ใน คดี นี้ ยื่นฟ้อง จำเลย ใน ฐาน ตั๋วเงิน เป็น คดี นี้ ต่อมา ศาลฎีกา ใน คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 521/2534 ได้ มี คำพิพากษา ให้ สามี จำเลย กับ โจทก์ ใน คดี นี้ กลับคืน สู่ ฐานะ เดิม ให้ ถือว่า คู่กรณี ไม่มี มูลหนี้ ที่ จะ ต้อง ชำระ แก่ กัน โดย สามี จำเลย ได้รับ เงิน ที่ วาง มัดจำ ไว้ คืน ดังนั้น จึง มีผล ทำให้ การ บังคับคดี ใน ส่วน ของ คดี นี้ ยุติ ลง เพราะ ใน การ ปฏิบัติการ ชำระหนี้ ของ ทั้ง สอง คดี ไม่อาจ แยก จาก กัน ได้ และ ต้อง อิง คำพิพากษา ของ ศาลฎีกา เป็น หลัก ขอให้ งดการบังคับคดี ไว้ ก่อน ศาลชั้นต้น นัด ไต่สวน คำร้อง
ถึง วันนัด ไต่สวน คู่ความ แถลงรับ ข้อเท็จจริง ว่าคดี นี้ โจทก์ ฟ้อง จำเลย ให้ รับผิด ตาม ตั๋วเงิน โดย อ้างว่า สั่งจ่าย เช็ค จำนวน 1,400,000 บาท เป็น ค่า มัดจำ ใน การ ทำ สัญญาจะซื้อขาย ที่ดิน ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 1,400,000 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย ไม่มี คู่ความ อุทธรณ์ ฎีกา ส่วน คดี หมายเลขแดง ที่ 521/2534 ของ ศาลจังหวัด มีนบุรี นาย ทวี ศักดิ์ จันทรชิรัตน์ สามี จำเลย ใน คดี นี้ ได้ ฟ้องโจทก์ ใน คดี นี้ กับพวก อ้างว่า ผิดสัญญา จะซื้อขาย ใน ที่สุด ศาลฎีกา มี คำพิพากษา ให้ โจทก์ ใน คดี นี้ ชำระ เงิน คืน แก่ โจทก์ จำนวน 1,800,000 บาท โดย วินิจฉัย ว่า การ ชำระหนี้ ตกเป็น พ้นวิสัย ซึ่ง จะ โทษ ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง มิได้ จึง ต้อง กลับคืน สู่ ฐานะ เดิม ดังนั้น คำพิพากษา ของ ศาล ทั้ง สอง คดี จึง ขัด กัน ใน คดี นี้ จำเลย ขอ งด การ บังคับคดี โดย จะ ไป ยื่น คำร้อง ต่อ ศาลฎีกา เพื่อ ขอให้ วินิจฉัย กรณี คำพิพากษา ทั้ง สอง ศาล แตกต่าง กัน ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 คดี พอ วินิจฉัย ได้ แล้ว ศาลชั้นต้น จึง มี คำสั่ง ให้ งด ไต่สวน และ ให้ งดการบังคับคดี ใน คดี นี้ ไว้ ก่อน เพื่อ รอ ฟัง คำสั่ง ของ ศาลฎีกา ( สำนวน ตอน ที่ 2 อันดับ 9)
จำเลย จึง ยื่น คำร้อง นี้ ( สำนวน ตอน ที่ 2 อันดับ 11)
คำสั่ง
พิเคราะห์ แล้ว คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง จำเลย ให้ รับผิด ตามเช็ค พิพาท อ้างว่า จำเลย สั่งจ่าย เช็คพิพาท จำนวน 1,400,000 บาท ให้ โจทก์ เป็น การ ชำระหนี้ บางส่วน ตาม สัญญาจะซื้อขาย ที่ดินพิพาท แต่ โจทก์ เรียกเก็บเงิน ตามเช็ค ไม่ได้ ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน ตามเช็ค พิพาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย คดีถึงที่สุด ส่วน คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 521/2534 ของ ศาลจังหวัด มีนบุรี นาย ทวี ศักดิ์ จันทรชิรัตน์ สามี จำเลย เป็น โจทก์ ฟ้องโจทก์ คดี นี้ กับพวก เป็น จำเลย อ้างว่า โจทก์ ผิดสัญญา จะซื้อขาย ที่ดินพิพาท ขอให้ ชำระ เงินมัดจำ คืน จำนวน 1,800,000 บาท ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ที่ดินพิพาท ยัง มี ข้อโต้เถียง กัน ว่า เป็น กรรมสิทธิ์ กัน ได้ การ ชำระหนี้ ตกเป็น พ้นวิสัย อัน จะ โทษ ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง มิได้ เมื่อ คู่กรณี ต่าง ได้ บอกเลิก สัญญาจะซื้อขาย ที่ดินพิพาท กัน แล้ว จึง ต้อง กลับคืน สู่ ฐานะ เดิม พิพากษา ให้ โจทก์ คืนเงิน มัดจำ จำนวน 1,800,000 บาท แก่ นาย ทวี ศักดิ์ เห็น ได้ว่า ตาม คำพิพากษา คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 521/2534 ดังกล่าว นั้น มี ความหมาย ว่า จำเลย ( โจทก์ คดี นี้ ) จำต้อง คืน เช็คพิพาท ให้ แก่ นาย ทวี ศักดิ์ ด้วย แต่ เนื่องจาก จำเลย คดี นี้ ได้ มี คำสั่ง ธนาคาร ระงับ การ จ่ายเงิน แล้ว นาย ทวี ศักดิ์ จึง มิได้ มี คำขอ คืนเงิน เกี่ยวกับ เช็คพิพาท หรือ ให้ คืน เช็คพิพาท ดังนั้น ถือว่า คำพิพากษา คดี ทั้ง สอง เรื่อง เกิดจาก มูลหนี้ ตาม สัญญาจะซื้อขาย ที่ดิน ฉบับ เดียว กัน ต่าง กล่าว ถึง การ ปฏิบัติ ชำระหนี้ อัน แบ่งแยก จาก กัน ไม่ได้ ที่ ศาลชั้นต้น คดี นี้ พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน ตามเช็ค พิพาท ซึ่ง เป็น การ ชำระ ราคา ที่ดินพิพาท บางส่วน จึง ขัด กับ คำพิพากษาฎีกา ใน คดี ดังกล่าว ซึ่ง วินิจฉัย ว่า สัญญาจะซื้อขาย ที่ดิน ฉบับพิพาท เป็น อัน เลิกกัน แล้ว และ คู่สัญญา จะ ต้อง กลับคืน สู่ ฐานะ เดิม จึง ต้อง ถือ ตาม คำพิพากษา ศาลฎีกา ซึ่ง เป็น ศาล ที่ สูง กว่า ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 วรรคหนึ่ง โจทก์ จึง ไม่อาจ บังคับคดี เอา แก่ จำเลย ตาม คำพิพากษา คดี นี้ ได้