แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ความว่า จำเลยอุทธรณ์ ศาลแรงงานกลางสั่งว่า อุทธรณ์ ของจำเลยเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย ถือว่าเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ส่วนเรื่องค่าเสียหายก็เป็น ข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแต่ต้น จึงไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย
จำเลยเห็นว่า อุทธรณ์จำเลยในประเด็นที่ว่า สัญญาจ้างแรงงาน ระหว่างโจทก์ทั้งสี่และจำเลยยังไม่เกิดขึ้น เพราะจำเลย ยังไม่มีคำสนองรับไปยังโจทก์ทั้งสี่ และประเด็นเรื่องค่าจ้าง ที่ว่า โจทก์ที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 ไม่ควรจะได้รับค่าจ้างเกินกว่า ระยะเวลาที่ทำงานให้จำเลย อันเป็นการตีความตามเอกสารหมาย จ.2 ว่ามีผลเป็นการบอกเลิกจ้างหรือไม่นั้น ล้วนแต่เป็นปัญหา ข้อกฎหมายทั้งสิ้น โปรดมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้ พิจารณาต่อไป
หมายเหตุ โจทก์ทั้งสี่ได้รับสำเนาคำร้องแล้ว (อันดับ 40)
คดีทั้งสี่สำนวนนี้ จำเลยเป็นบุคคลเดียวกัน ศาลแรงงานกลาง พิจารณาพิพากษารวมกันโดยให้เรียกโจทก์ในสำนวนแรกถึงสำนวนที่สี่ ว่า โจทก์ที่ 1 ถึงโจทก์ที่ 4ตามลำดับ
ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระเงินให้โจทก์ที่ 1จำนวน 13,333 บาท ให้โจทก์ที่ 2 จำนวน 8,066 บาท ให้โจทก์ที่ 3 จำนวน 5,666.66 บาท และให้โจทก์ที่ 4 จำนวน13,333 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้อง (11 มีนาคม 2536) จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ทั้งสี่
จำเลยอุทธรณ์ ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ดังกล่าว (อันดับ 35)
จำเลยจึงยื่นคำร้องนี้ (อันดับ 38)
คำสั่ง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยตกลงรับโจทก์ทั้งสี่เข้าทำงาน สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์ทั้งสี่และจำเลยเกิดขึ้นแล้ว จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยยังไม่มีคำสนองรับไปยัง โจทก์ทั้งสี่ สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์ทั้งสี่และจำเลยยังไม่เกิดขึ้นจึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ส่วนอุทธรณ์ ที่ว่า โจทก์ที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ไม่ควรจะได้รับค่าจ้าง เกินกว่าระยะเวลาทำงานให้จำเลยนั้น ศาลแรงงานกลางไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วใน ศาลแรงงานกลาง ศาลแรงงานกลางสั่งไม่รับอุทธรณ์ชอบแล้ว ยกคำร้อง