คำสั่งคำร้องที่ 1732/2529

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ความว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยโดยฟังข้อเท็จจริงจากพยานโจทก์ 3 ปากคือ นายพรเทพอรัญบาลนายประยุทธจันทร์ปลั่งและนายสงัด หมื่นยาซึ่งร้อยตำรวจตรีภาสกรคงคารัตน์ พนักงานสอบสวนคดีนี้เป็นผู้นำมาอ้างเป็นพยานว่าได้สอบถามพยานทั้ง 3 ปากในที่เกิดเหตุในวันเกิดเหตุตอนไปดูที่เกิดเหตุ พยานทั้ง 3 ปากได้อ้างว่าจำหมายเลขทะเบียนรถคันที่ชนผู้ตายได้ และได้แจ้งให้พนักงานสอบสวนทราบทันทีในวันที่ไปดูที่เกิดเหตุ บัดนี้ปรากฏข้อเท็จจริงตามบันทึกรายงานเบ็ดเสร็จประจำวัน ข้อที่ 7 ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2526 ว่า ในวันที่พนักงานสอบสวนไปดูที่เกิดเหตุทันทีนั้นได้สอบถามบุคคลที่อยู่ในที่เกิดเหตุ ปรากฏว่าไม่มีผู้ใดจดหมายเลขทะเบียนรถที่ชนผู้ตายได้ ปรากฏตามบันทึกดังกล่าวพร้อมหนังสือนำส่งที่เสนอมาท้ายคำร้องนี้ ซึ่งจากบันทึกดังกล่าวนี้ คำเบิกความของพยานโจทก์ทั้ง 3 ปากดังกล่าวจึงเป็นเท็จทั้งสิ้น และบันทึกดังกล่าวจึงเป็นพยานสำคัญในคดีนี้ ที่พิสูจน์ว่าคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้ง 3 ปากล้วนเป็นความเท็จทั้งสิ้น ไม่ควรรับฟังมาลงโทษจำเลยแต่บันทึกดังกล่าวนี้ มิได้ปรากฏต่อศาลเพราะพนักงานสอบสวนได้ปิดบังไว้ ทั้งทนายจำเลยก็ไม่ทราบว่ามีอยู่ เพิ่งทราบเมื่อศาลชั้นต้นได้พิพากษาไปแล้วคดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จำเลยจึงขออ้างเอกสารบันทึกดังกล่าวนี้พร้อมหนังสือนำส่งต่อศาลฎีกา โปรดมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมในชั้นฎีกาและรับเป็นพยานเอกสารคดีนี้ในชั้นฎีกาด้วย
หมายเหตุ โจทก์และโจทก์ร่วมยังไม่ได้รับสำเนาคำร้อง
ระหว่างพิจารณา นายสุรพงษ์หิรัญชัยพฤกษ์ บุตรของผู้ตายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นอนุญาต
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 35,43,157 ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ซึ่งเป็นบทหนักจำคุก 6 ปี กระทงหนึ่งกับมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 78,160 วรรคสอง จำคุก 3 เดือน รวมจำคุก6 ปี 3 เดือน จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน ลดโทษให้หนึ่งในสามคงจำคุก 4 ปี 2 เดือน ฯลฯ
จำเลยฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา (อันดับ 99)
จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง (อันดับ 101)
จำเลยยื่นคำร้องดังกล่าว (อันดับ 97)

คำสั่ง
พิเคราะห์แล้ว เห็นว่าศาลฎีกาได้มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ขอให้ศาลฎีการับฎีกาของจำเลยไว้พิจารณาแล้วจึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะอ้างพยานหลักฐานเพิ่มเติมในชั้นฎีกาได้ให้ยกคำร้อง

Share