แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ความว่า โจทก์ยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งว่า พิเคราะห์แล้วเห็นว่าตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยื่นฎีกานั้น ฎีกาของโจทก์ ต้องห้ามไม่ให้ฎีกาเนื่องจากทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงไม่รับฎีกาโจทก์
โจทก์เห็นว่า ฎีกาของโจทก์ที่ว่า ตามข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติแล้ว จำเลยที่ 3 และที่ 5 จะอ้าง เอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 405 มาเพื่อปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่ฎีกาที่ว่า การกระทำของจำเลยที่ 6 และที่ 10 ตามข้อเท็จจริงที่รับฟังได้เป็นยุติแล้วนั้น เป็นละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ตามฟ้องโจทก์หรือไม่ และฎีกาที่ว่า การกระทำละเมิดของจำเลยทั้งหมดเป็น มูลละเมิดที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ เมื่อเกิดความเสียหาย จำเลย ทั้งสิบต้องรับผิดในความเสียหายทั้งหมดร่วมกันหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย แม้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทก็ไม่ต้องห้ามฎีกาแต่อย่างใด โปรดมีคำสั่งให้รับฎีกา ของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษาต่อไป
หมายเหตุ จำเลยทั้งสิบได้รับสำเนาคำร้องแล้ว(อันดับ 274,277)
จำเลยที่ 4 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1, ที่ 2, ที่ 4 ร่วมกันชำระเงินจำนวน 14,812 บาท และจำเลยที่ 7, ที่ 8, ที่ 9 และ ที่ 10 ร่วมกันชำระเงินจำนวน 134,173 บาท พร้อมดอกเบี้ย ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของยอดเงินแต่ละจำนวนนับแต่วันฟ้อง (29 พฤษภาคม 2529) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ยกฟ้องจำเลยที่ 3, ที่ 5, ที่ 6
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 10 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาดังกล่าว(อันดับ 261)
โจทก์จึงยื่นคำร้องนี้ (อันดับ 268)
คำสั่ง
พิเคราะห์แล้ว การที่โจทก์ฎีกาว่าการกระทำของจำเลยที่ 3 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 10 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1, ที่ 2, ที่ 4, ที่ 7, ที่ 8 และที่ 9 ด้วยนั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกา และฎีกาโจทก์ไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายตามคำร้อง คัดค้านคำสั่งไม่รับฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ นั้นชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง