แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ความว่า จำเลยที่ 1 ฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งว่า ฎีกาของจำเลยที่ 1 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 จึงไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เห็นว่า จำเลยที่ 1 ได้ฎีกาว่า คำว่า “ของ”ตามข้อความในจดหมายของจำเลยที่ 1 นั้น จะหมายถึงเฮโรอีนตามที่ ศาลอุทธรณ์ตีความไว้หรือไม่ และฎีกาอีกว่าคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานเป็นตัวการ แต่การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดนั้น จะเป็นการพิพากษาเกินคำขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรก หรือไม่ฎีกาของจำเลยที่ 1 เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายโปรดมีคำสั่งให้รับฎีกาของจำเลยที่ 1 ไว้พิจารณาด้วย หมายเหตุ โจทก์ยังไม่ได้รับสำเนาคำร้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 3 มีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 67 จำคุก 4 ปี จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 มีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 67 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 จำคุกคนละ 2 ปี 8 เดือน เพิ่มโทษจำเลยทั้งสามคนละหนึ่งในสาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เป็นจำคุกจำเลยที่ 3 ไว้ 5 ปี 4 เดือน และจำคุกจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 คนละ 3 ปี 6 เดือน 20 วัน โดยนับโทษจำเลยที่ 3 ต่อจากโทษในคดีหมายเลขแดง ที่ 9018/2530 ของศาลนี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยที่ 1 ฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาดังกล่าว(อันดับ 131) จำเลยที่ 1 จึงยื่นคำร้องนี้ (อันดับ 130)
คำสั่ง พิเคราะห์แล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่า ศาลอุทธรณ์ ตีความคำว่า “ของ” ตามข้อความในจดหมายของจำเลยที่ 1 หมายถึงเฮโรอีนนั้นคงไม่ถูกต้อง เป็นการฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรกส่วนที่ฎีกาว่า ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ใน ความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิด อันเป็นการต่างจากคำฟ้อง ที่ขอให้ลงโทษฐานเป็นตัวการ ซึ่งถือว่าพิพากษาเกินคำขอนั้น เป็นฎีกาในข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการ วินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 1 ชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง