แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
จำเลยไปแจ้งความต่อร้อยตำรวจโท อ. ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ร้อยเวรและเวรสอบสวนว่าสุนัขของ ม. กัดหลานของจำเลย อ. มิได้สั่งให้ตำรวจลงบันทึกแจ้งความตามที่จำเลยมาแจ้ง โดยอ้างว่าอาจเป็นสุนัขกลางตลาดก็ได้ จะไปสืบหาเจ้าของสุนัขเสียก่อน จำเลยยืนยันว่าเป็นสุนัขของ ม. แต่อ. ไม่ยอมรับแจ้งความในทันที อ. และจำเลยจึงโต้เถียงกันในเรื่องไม่ลงบันทึกประจำวัน จำเลยได้กล่าวต่อ อ. ว่า ทำอย่างนี้ไม่ยุติธรรม ดังนี้ มีความหมายว่า อ. ปฏิบัติหน้าที่ไม่ยุติธรรม ซึ่งเป็นการดูถูกเหยียดหยามต่อ อ. เป็นถ้อยคำดูหมิ่น อ. จำเลยจึงมีความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 ไม่ใช่เป็นการต่อว่าที่แสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันส่วนได้เสียของจำเลยตามคลองธรรม
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบังอาจบุกรุกเข้าตัดฟันไม่ แผ้วถาง ก่นสร้าง เผาห่า ทำลายไม้เบญจพรรณ ซึ่งไม่อาจแยกชนิดและคำนวณปริมาตรได้ แล้วเข้ายึดถือครอบครองที่ดินอันเป็นป่าโครงการของรัฐ เนื้อที่ ๑๙๐ ไร่ ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๘๔ มาตรา ๑๑, ๕๔, ๕๕, ๗๒ ตรี, ๗๓, ๗๔ ; (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๔๙๔ มาตรา ๑๔, ๑๗ ; (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๐๓ มาตรา ๑๑, ๑๖, ๑๗ พระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. ๒๕๐๕ มาตรา ๔ ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา ๙, ๑๐๘, ๑๐๘ ทวิ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๙๖ พ.ศ. ๒๕๑๕ ข้อ ๑๑ และสั่งให้จำเลยออกจากป่าที่แผ้วถางยึดถือครอบครองนั้น
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๘๔ มาตรา ๗๒ ตรี ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ให้จำคุกจำเลย ๑ ปี และให้ออกจากป่าที่แผ้วถางครอบครองนั้นด้วย ให้ยกคำขอของโจทก์ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๘๔ มาตรา ๗๔
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ฟังว่า จำเลยไม่ได้จ้างนายดำกับพวกไปถางป่าในที่เกิดเหตุ พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ยกฟ้องโจทก์
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงต้องกันมาว่า ที่เกิดเหตุเป็นป่าโครงการ จำเลยมิได้โต้เถียงในข้อนี้ ฟังได้ว่าที่เกิดเหตุเป็นป่าโครงการของรัฐตามฟ้อง และฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยจ้างนายคำให้ไปทำงานในที่เกิดเหตุ แล้ววินิจฉัยว่า โดยเหตุที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นตัวการ เมื่อฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด ก็จะลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้ใช้ไม่ได้ ต้องลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด และเมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๘๔ มาตรา ๑๑ ก็จะลงโทษจำเลยตามมาตรานี้ตามคำขอท้ายฟ้องไม่ได้ด้วย
พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๘๔ มาตรา ๕๔, ๗๒ ตรี พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๔๙๔ มาตรา ๑๔ พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๐๓ มาตรา ๑๑, ๑๖ ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา ๙, ๑๐๘ ทวิ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๙๖ พ.ศ. ๒๕๑๕ ข้อ ๑๑ ให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๘๔ มาตรา ๗๒ ตรี ซึ่งเป็นบทที่โทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๐ ประกอบด้วยมาตรา ๘๖ ให้จำคุกจำเลย ๘ เดือน ปรับ ๔,๐๐๐ บาท แต่เห็นเป็นการสมควรให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยไว้ภายในระยะเวลาสามปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๖ ไม่ชำระค่าปรับจัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙, ๓๐ และให้จำเลยออกจากป่าที่แผ้วถางครอบครองด้วย นอกจากที่แก้นี้แล้วให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์