แหล่งที่มา : เนติบัณฑิตยสภา
ย่อสั้น
โจทก์ยื่นคำร้องถึงส.ซึ่งเป็นผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนในศาลชั้นต้นขอให้รับรองฎีกาและส.ไม่รับรองฎีกาให้โจทก์ โดยโจทก์ไม่ได้ระบุขอให้ผู้พิพากษาอื่นให้รับรองด้วย ถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิที่จะขอให้ผู้พิพากษาอื่นรับรอง ศาลชั้นต้นไม่จำต้องแจ้งถึงการไม่รับรองให้โจทก์ทราบก่อน มีคำสั่งไม่รับฎีกา
ย่อยาว
ความ ว่า โจทก์ ฎีกา พร้อม กับ ยื่น คำร้องขอ ให้ ผู้พิพากษา ที่ พิจารณา ใน ศาลชั้นต้น รับรอง ฎีกา ผู้พิพากษา ที่ ได้ นั่งพิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้น สั่ง คำร้อง ว่า ศาลอุทธรณ์ มิได้ วินิจฉัย ปัญหา ตาม อุทธรณ์ ของ โจทก์ จึง ไม่มี เหตุสมควร ที่ จะ รับรอง ให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ได้ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ใน ฎีกา ว่า ผู้พิพากษา เจ้าของ สำนวน ใน ศาลชั้นต้น ไม่รับรอง ฎีกา คดี นี้ เป็น คดีมีทุนทรัพย์ หรือ ราคา ทรัพย์สิน ที่พิพาท ไม่เกิน สอง แสน บาท ฎีกา ของ โจทก์ เป็น ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง และ เป็น ข้อ ที่ มิได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้วแต่ ศาลชั้นต้น ต้องห้าม อุทธรณ์ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248, 249 จึง ไม่รับ ฎีกา
โจทก์ เห็นว่า ฎีกา ของ โจทก์ ข้อ 3 ถึง ข้อ 7 และ ข้อ 9 ถึง ข้อ 12 เป็น ข้อกฎหมาย ที่ ได้ว่า กล่าว กัน มา แต่ ศาลชั้นต้น ทั้งสิ้น สมควร ที่ ศาลชั้นต้น จะ ต้อง สั่ง รับ ฎีกา ใน ข้อกฎหมาย ของ โจทก์ ไว้ ก่อน ส่วน ฎีกา ข้อ 8 ซึ่ง เป็น ข้อเท็จจริง นั้น โจทก์ ยัง มีสิทธิ ขอให้ ผู้พิพากษา ที่ ได้ นั่งพิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้น อีก ท่าน หนึ่ง และ องค์คณะ ผู้พิพากษา ที่ ได้ นั่งพิจารณา คดี ใน ศาลอุทธรณ์ กับ อธิบดี ผู้พิพากษา ศาลอุทธรณ์ รับรอง ได้ อีก เมื่อ ผู้พิพากษา ที่ พิจารณา คดี นี้ ใน ศาลชั้นต้น ท่าน หนึ่ง ไม่รับรอง ฎีกา ศาลชั้นต้น จะ ต้อง แจ้ง ให้ โจทก์ ทราบ เพื่อ ให้ โจทก์ แถลงว่า ยัง ติดใจ ผู้พิพากษา ท่าน ใด รับรอง ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง หรือไม่ เสีย ก่อน การ ที่ ศาลชั้นต้น สั่ง ไม่รับ ฎีกา ของ โจทก์ ใน ทันที และ ไม่ สั่ง รับ ฎีกา ข้อกฎหมาย ของ โจทก์ จึง เป็น การ ไม่ชอบ ขอ ศาลฎีกา โปรด มี คำสั่ง กลับ คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น โดย สั่ง ให้ โจทก์ แถลงว่า ยัง ติดใจ ให้ ผู้พิพากษา ท่าน ใด รับรอง ฎีกา อีก หรือไม่ และ โปรด มี คำสั่ง รับ ฎีกา ใน ปัญหาข้อกฎหมาย ดังกล่าว ด้วย
หมายเหตุ ไม่ปรากฏ ว่า จำเลย ทั้ง สอง ได้รับ สำเนา คำร้อง แล้ว หรือไม่
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท โจทก์ นำ เจ้าพนักงาน รังวัด ออก โฉนด แต่ จำเลย ทั้ง สอง คัดค้าน เป็น การ ผิดสัญญา ประนีประนอม ยอมความ ขอให้ ขับไล่ จำเลย ที่ 2 และ ให้ จำเลย ที่ 2 รื้อถอน สิ่งปลูกสร้าง และ ขนย้าย ทรัพย์สิน และ บริวาร ออก ไป แล้ว ส่งมอบ ที่ดินพิพาท คืน โจทก์ ใน สภาพ เรียบร้อย ห้าม มิให้ จำเลย ทั้ง สอง เข้า ไป เกี่ยวข้อง กับ ที่ดินพิพาท อีก ต่อไป จำเลย ทั้ง สอง ยื่นคำให้การ และ ฟ้องแย้ง ขอให้ห้าม โจทก์ และ บริวาร เข้า เกี่ยวข้อง โต้แย้ง สิทธิ ของ จำเลย ที่ 1 ให้ ที่ จะ ออก โฉนด ใน ที่ดินพิพาท
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้องโจทก์ ห้าม โจทก์ และ บริวาร เข้า เกี่ยวข้อง โต้แย้ง สิทธิ ของ จำเลย ที่ 1 ที่ จะ ครอบครอง และ ออก โฉนด ที่พิพาท เนื้อที่ 50 ตารางวา ซึ่ง หมาย ด้วย เส้น สีแดง ใน แผนที่ พิพาท เอกสาร หมาย จ. 2
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายก อุทธรณ์ โจทก์
โจทก์ ฎีกา พร้อม ยื่น คำร้องขอ ให้ ผู้พิพากษา ที่ พิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้น รับรอง ฎีกา ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ดังกล่าว ( อันดับ 117, 116)
โจทก์ จึง ยื่น คำร้อง นี้ ( อันดับ 120)
คำสั่ง
พิเคราะห์ แล้ว ที่ โจทก์ ยื่น คำร้องอุทธรณ์ คำสั่ง ว่า ศาลชั้นต้น มี หน้าที่ ต้อง แจ้ง ให้ โจทก์ ทราบ ใน กรณี ที่ ผู้พิพากษา ไม่รับรอง ฎีกา ให้ เพื่อ โจทก์ จะ ได้ ดำเนินการ ขอให้ ผู้พิพากษา อื่น รับรอง ฎีกา ให้ อีก เสีย ก่อน การ ที่ ศาลชั้นต้น ไม่แจ้ง ให้ โจทก์ ทราบ ก่อน มี คำสั่ง ไม่รับ ฎีกา เป็น การ ไม่ชอบ นั้น เห็นว่า หาก คู่ความ ฝ่ายใด จะ ขอให้ ผู้พิพากษา ที่นั่ง พิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้น หรือ ศาลอุทธรณ์ รับรอง ว่า มีเหตุ สมควร ที่ จะ ฎีกา ได้ ก็ ต้อง ยื่น คำร้อง ถึง ผู้พิพากษา นั้น พร้อม กับ คำฟ้อง ฎีกา ต่อ ศาลชั้นต้น เพื่อ ให้ จัด ส่ง ไป ยัง ผู้พิพากษา คน ดังกล่าว พิจารณา รับรอง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสี่ เมื่อ โจทก์ ยื่น คำร้อง ถึง นาย สุรศักดิ์ วิมลรัตน์ ขอให้ รับรอง นาย สุรศักดิ์ ไม่รับรอง ฎีกา ให้ โจทก์ โดย โจทก์ ไม่ได้ ระบุ ขอให้ ผู้พิพากษา อื่น ให้ รับรอง ไว้ ด้วย ถือได้ว่า โจทก์ สละ สิทธิ ที่ จะ ขอให้ ผู้พิพากษา อื่น รับรอง ศาลชั้นต้น ไม่จำต้อง แจ้ง ให้ โจทก์ ทราบ ก่อน มี คำสั่ง ไม่รับ ฎีกา โจทก์ การ ที่ ศาลชั้นต้น สั่ง ไม่รับ ฎีกา โจทก์ ข้อ ที่ 7, 8 และ 11 ชอบแล้ว
ส่วน ปัญหา ตาม ฎีกา โจทก์ ข้อ 3-6, 9, 10 และ 12 ที่ สรุป ได้ว่า ศาลอุทธรณ์ ยกอุทธรณ์ โจทก์ เป็น การ ไม่ชอบ นั้น เป็น ข้อกฎหมาย ซึ่ง ไม่ต้องห้าม ฎีกา ให้ รับ ฎีกา โจทก์ ใน ปัญหา ดังกล่าว ให้ ศาลชั้นต้น ดำเนินการ ต่อไป