คำสั่งคำร้องที่ 972/2539

แหล่งที่มา : เนติบัณฑิตยสภา

ย่อสั้น

คดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์จำนวน 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง จะนำ ดอกเบี้ยในอนาคตนับแต่วันฟ้องมารวมคำนวณเป็นทุนทรัพย์ ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาด้วยไม่ได้ คดีจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกัน ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษา ที่นั่งพิจารณาในศาลชั้นต้นหรือ ศาลอุทธรณ์รับรองและอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและผู้พิพากษาคนหนึ่งที่ได้นั่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้พิจารณาแล้วไม่อนุญาตให้ฎีกา ก็ต้องถือว่าตรงตาม ความประสงค์ตามที่ปรากฏในคำร้องแล้ว ไม่ต้องส่งคำร้องไปให้ผู้พิพากษาคนอื่นรับรองอีก

ย่อยาว

ความ ว่า จำเลย ที่ 1 ฎีกา และ ยื่น คำร้องขอ ให้ ผู้พิพากษา ที่นั่ง พิจารณา คดี นี้ ใน ศาลชั้นต้น หรือ ศาลอุทธรณ์ ลงชื่อ รับรอง ฎีกา ผู้พิพากษา ที่นั่ง พิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ใน คำร้อง ว่า พิเคราะห์ แล้ว ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ไม่มี เหตุอันควร ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง จึง ไม่รับรอง ให้ ฎีกา และ มี คำสั่ง ใน ฎีกา ว่า คดี นี้ ทุนทรัพย์ ที่พิพาท ไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้าม ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ฎีกา ของ จำเลย ข้อ 2.1 และ ข้อ 2.2 เป็น ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ส่วน ฎีกา ข้อ 2.3 และ ข้อ 2.4 แม้ เป็น ข้อกฎหมาย แต่ ก็ ไม่เป็น สาระ แก่ คดี จึง ไม่รับ ฎีกา
จำเลย ที่ 1 เห็นว่า การ ที่ ผู้พิพากษา ที่นั่ง พิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้น ท่าน หนึ่ง ได้ มี คำสั่ง ไม่รับรอง ให้ ฎีกา แล้ว ควร จะ ส่ง คำร้องขอ ให้ รับรอง ฎีกา พร้อม ด้วย สำนวน ความ ไป ยัง ผู้พิพากษา ที่นั่ง พิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้น หรือ ศาลอุทธรณ์ ท่าน อื่น ๆ เพื่อ พิจารณา รับรอง ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง ผู้พิพากษา ท่าน หนึ่ง ท่าน ใด อาจจะ รับรอง ให้ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ก็ ได้ ดังนั้น คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ดังกล่าว จึง น่า จะ ขัด ต่อ บทบัญญัติ ของ กฎหมาย และ ทุนทรัพย์ ใน ชั้นฎีกา เมื่อ รวม ดอกเบี้ย นับแต่ วันฟ้อง จน ถึง วันที่ จำเลย ที่ 1 ฎีกา แล้ว จำนวน ทุนทรัพย์ จะ เกินกว่า 200,000 บาท และ การ ที่ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ไม่รับ ฎีกา ข้อกฎหมาย โดย เห็นว่า ไม่เป็น สาระ แก่ คดี นั้น เป็น คำสั่ง ที่ ขัด ต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก โปรด มี คำสั่ง ให้ รับ ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ไว้ พิจารณา ต่อไป หรือไม่ ก็ ขอให้ มี คำสั่ง ให้ ส่ง คำร้องขอ ให้ รับรอง ฎีกา ไป ให้ ผู้พิพากษา ที่นั่ง พิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้น หรือ ศาลอุทธรณ์ พิจารณา รับรอง ฎีกา ด้วย
หมายเหตุ โจทก์ แถลง คัดค้าน ( อันดับ 106)
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ชดใช้ ค่าเสียหาย ให้ โจทก์ จำนวน 80,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่ วันฟ้อง (31 สิงหาคม 2533) จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ยกฟ้อง โจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 5
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน แก่ โจทก์ จำนวน 200,000 บาท นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ที่ 1 ฎีกา และ ยื่น คำร้องขอ ให้ ผู้พิพากษา ที่นั่ง พิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้น หรือ ศาลอุทธรณ์ รับรอง ฎีกา ผู้พิพากษา ที่นั่ง พิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ไม่รับรอง ให้ ฎีกา และ มี คำสั่ง ไม่รับ ฎีกา ( อันดับ 101, 99)
จำเลย ที่ 1 จึง ยื่น คำร้อง นี้ ( อันดับ 103)

คำสั่ง
ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ข้อ 2.2, 2.3 และ 2.4 เป็น ฎีกา โต้แย้ง ดุลพินิจ ใน การ รับฟัง พยานหลักฐาน ของ ศาลอุทธรณ์ ที่ ฟัง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้เช่า บ้าน พิพาท และ ความเสียหาย ของ โจทก์ ตาม ฟ้อง เกิดขึ้น ใน ขณะที่ อยู่ ใน ความ ครอบครอง รับผิด ของ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง ศาลอุทธรณ์ กำหนด ความเสียหาย ของ โจทก์ เป็น เงิน 200,000 บาท จึง เป็น ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง คดี นี้ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน แก่ โจทก์ จำนวน 200,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย นับแต่ วันฟ้อง ดังนี้ จะ นำ ดอกเบี้ย ใน อนาคต นับแต่ วันฟ้อง มา รวม คำนวณ เป็น ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกา ด้วย หาได้ไม่ คดี จึง มี ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกา ไม่เกิน สอง แสน บาท จำเลย ที่ 1 ยื่น คำร้องขอ ให้ ผู้พิพากษา ที่นั่ง พิจารณา ใน ศาลชั้นต้น หรือ ศาลอุทธรณ์ ลงชื่อ รับรอง และ อนุญาต ให้ ฎีกา ใน ปัญหาข้อเท็จจริง และ ผู้พิพากษา ที่ ได้ นั่งพิจารณา และ ลงชื่อ ใน คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ได้ พิจารณา แล้ว ไม่อนุญาต ให้ ฎีกา ก็ ต้อง ถือว่า ตรง ตาม ความ ประสงค์ ตาม ที่ ปรากฏ ใน คำร้องขอ แล้ว และ เมื่อ ไม่ได้ คำรับ รอง ว่า มีเหตุ ผล ควร จะ ฎีกา ได้ ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ใน ข้อ ดังกล่าว จึง ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ส่วน ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ข้อ 2.1 ที่ ว่า ฟ้องโจทก์ เคลือบคลุม เป็น ฎีกา ใน ปัญหาข้อกฎหมาย ที่ เป็น สาระ แก่ คดี ให้ รับ ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 ใน ข้อ นี้ ไว้ ให้ ศาลชั้นต้น ดำเนินการ ต่อไป

Share